Tag: spamtoday

  • Spam Alert – หลอกเป็นธนาคารส่งแจ้งเตือนเรื่องการลงชื่อเข้าใช้อุปกรณ์ใหม่

    มุขเดิม เปลี่ยนธนาคาร

    28 เมษายน 2563 08:18 พบอีเมล “หลอกลวง” ว่ามาจากธนาคาร ไทยพานิชย์ แจ้งเกี่ยวกับ อุปกรณ์ใหม่ลงชื่อเข้าใช้

    ลักษณะอีเมลเป็นดังภาพ หากผู้ใดได้รับ ลบทิ้งได้ทันที

    รายละเอียดวิธีการสังเกต อ่านได้จาก Spam Alert – หลอกเป็นธนาคารส่งแจ้งเตือนเรื่องการลงชื่อเข้าใช้อุปกรณ์ใหม่

    คราวนี้ ผมลองคลิกเข้าไปดู ว่าหน้าตา Phishing เป็นอย่างไร

    เหมือนหน้าตาของ SCB Easy เป๊ะ ใครหลงเชื่อ (โดนหลอกสำเร็จ) ก็อาจจะสูญเงินในบัญชีไปได้ เพราะ Hacker ได้ username/password ของธนาคารไปแล้ว

    แถม เดี๋ยวนี้ เข้ารหัส HTTPS มาด้วย

    ความไม่รู้ คือ ความเสี่ยง

    ขอให้โชคดี

  • Spam Alert – หลอกเป็นธนาคารส่งแจ้งเตือนเรื่องการลงชื่อเข้าใช้อุปกรณ์ใหม่

    2 เมษายน 2563 08:18 พบอีเมล “หลอกลวง” ว่ามาจากธนาคาร กรุงไทย แจ้งเกี่ยวกับ อุปกรณ์ใหม่ลงชื่อเข้าใช้

    ลักษณะอีเมลเป็นดังภาพ หากผู้ใดได้รับ ลบทิ้งได้ทันที

    เพิ่มเติม: ลักษณะการโจมตีเช่นนี้ มักจะใช้ “ข้อความแสดงลิงค์” เป็น URL ที่น่าเชื่อถือ แต่เมื่อเอาเมาส์ไปวาง ก็จะพบว่า เป็น Link ไปที่อื่น ในกรณีนี้ อ้างว่าเป็น https://www.ktbnetbank.com แต่จริง ๆ ส่งไปยัง https://www.onlinenewstrend.com/

    ทางระบบ PSU Email ได้ทำการตรวจสอบ และแจ้งเตือนผู้ใช้อยู่แล้ว กรุณาสังเกต

    Disarmed: อีเมลฉบับนี้ ปลด Script อันตรายออกให้แล้ว

    MailScanner has detected a possible fraud attempt: แจ้งแล้วว่า มีความพยายามหลอกลวง

    “www.onlinenewstrend.com” claiming to be https://www.ktbnetbank.com: เนี่ย อีกเว็บนึง เคลมว่าเป็นอีกเว็บนึง

    จากบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง ฉันโดนแฮ๊กหรือเปล่า !?!?! ลองทำตามขั้นตอนที่แนะนำดู จะพบว่า อีเมลนี้ มาจากอินเดีย

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • ฉันโดนแฮ๊กหรือเปล่า !?!?!

    หลายท่านอาจจะเคยได้รับ email หน้าตาประมาณนี้

    ข้อเท็จจริงคือ

    เราสามารถปลอมเป็นใคร ส่ง email ออกไปให้ใครก็ได้

    Truth …

    แล้ว จะรู้ได้อย่างไร !?!

    ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Header … โดยทำตามวิธีการต่อไปนี้

    1. คลิกที่ View Full Header

    จะได้ผลประมาณนี้

    จากภาพ จะเห็นว่า ส่งจาก (ดูจาก ล่าง ขึ้น บน)

    Received: from [154.117.164.59] (unknown [154.117.164.59])
         by mailscan.in.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id 69F2B150768
         for <kanakorn.h@psu.ac.th>; Thu, 5 Mar 2020 13:24:42 +0700 (ICT)

    แล้วจึงส่งเข้าระบบ PSU Email

    Received: from mailscan.in.psu.ac.th (unknown [192.168.107.12])
         by mail.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id A034D464FC7
         for <kanakorn.h@psu.ac.th>; Thu, 5 Mar 2020 13:24:46 +0700 (+07)

    แล้วจึงเข้า Mailbox ของ PSU (ข้อมูล version ของ cyrus เอาออกไม่ได้จริง ๆ ครับ ไว้รอ Upgrade)

    Received: from mail.psu.ac.th ([unix socket])
         by mail (Cyrus v2.4.18-Debian-2.4.18-3) with LMTPA;
         Thu, 05 Mar 2020 13:24:46 +0700

    จะเห็นได้ว่า ต้นทางคือ IP Address : 154.117.164.59

    ตรวจสอบว่าอยู่ที่ไหนในโลก ด้วย

    https://whatismyipaddress.com/ip/154.117.164.59

    ประมาณ South Africa

    สรุป ! ไม่ได้โดน Hack (ไม่ได้เข้ามาใช้ PSU Email ส่ง)

    ครับ

  • เตือนภัยอีเมลหลอกลวงว่าเป็นธนาคารกรุงไทย (Spam 2018-11-14)

    เช้านี้มีอีเมลหลอกลวงหลุดเข้ามา

    อ้างว่ามาจาก Krungthai Bank PCL ดังภาพ

    จะเห็นว่า From ก็หลอกว่ามาจาก info@ktb.co.th และในเนื้อหาก็มี Logo ของธนาคาร แถมมี Link  ที่วิ่งไป

    HTTPS://WWW.KTB.CO.TH/PERSONAL/DETAIL/VERIFY/172

    แต่ไม่ใช่ของจริง !!!

    เพราะ ถ้าท่านดูอีเมลฉบับนี้แบบ HTML จะเป็นการส่ง Link ไปที่ “เว็บไซต์หลอกลวง” หรือเรียกว่า Phishing Site 

    ไม่แนะนำให้คลิกตาม

    https://scrappse.tk/jssl/ktbnetbank/krungthai/index.html

    ซึ่งจะได้หน้าตาเหมือนกับของธนาคารจริง ๆ เพราะมันไปใช้ภาพจากเว็บไซต์จริง

    เว็บไซต์หลอกลวง !!!!

    และใช้ HTTPS และได้ “กุญแจ” ที่บอกว่า valid certificate อีกด้วย เพราะใช้ Let’s Encrypt

    ดังนั้นจึงแจ้งเตือนภัยมายังประชาคมให้รับทราบ ว่าปัจจุบันนี้

    • เห็น LINK ใน Email แล้วเป็น URL ชื่อของธนาคารจริง ก็ยังไม่พอ (กรณีนี้เป็นของ www.ktb.co.th)
    • คลิกไป เจอหน้าเว็บ หน้าตาน่าเชื่อถือ ก็ไม่พอ (ตามภาพ เลียนแบบเหมือนมาก)
    • ดูว่ามี “กุญแจ” ของ HTTPS ถูกต้องก็ไม่พอ (กรณีนี้ ได้กุญแจมาแล้ว แต่เป็นของเว็บไซต์หลอกลวง)
    • ดังนั้น ต้องดูด้วยว่า URL ที่ท่านเห็นด้านบน เป็นของธนาคารจริง ๆ หรือไม่ !!! (ในกรณีนี้ ไม่จริง เพราะเป็นของ https://scrappse.tk )

    ธนาคารกรุงไทย ได้แจ้งเตือนเรื่องนี้ไว้แล้วที่ 

    https://www.ktb.co.th/th/krungthai-update/announcement-detail/162

    ดังนั้น หากท่านได้รับ Email ในทำนองนี้ ให้ตรวจสอบกับธนาคาร หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะคนร้ายจะหลอกให้ท่านกรอก Username/Password เพื่อเข้าสู่บัญชีธนาคารของท่านได้

  • จดหมายลอกลวง 23/4/61

    ช่วง ศุกร์ที่ 20 ถึง เช้าวันนี้ จันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 พบว่า มีผู้ใช้หลายท่านได้รับ email ลักษณะประมาณนี้

    แล้วมีคำถามว่า เป็นของมหาวิทยาลัยส่งจริงหรือไม่

    ตอบก่อนเลยว่า “ไม่ใช่อีเมลของทางมหาวิทยาลัย” เป็นจดหมายหลอกลวง

    ทางระบบของมหาวิทยาลัยจะไม่ส่ง email แจ้งเตือนใดๆอย่างนี้

    ข้อสังเกต

    1. ลิงค์ใน email ที่ให้คลิก จะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ psu.ac.th (ทราบไม๊ครับ ? ว่าโดเมนเนมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ psu.ac.th ???)

      ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ของมหาวิทยาลัย จะต้องปรากฏ รูปกุญแจเขียว และ โดเมนเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งใช้โดเมนเนม psu.ac.th ดังภาพ

    2. ผู้ส่ง (From) ในทางปฏิบัติ จะ “ตั้งค่า” ให้เป็นใครก็ได้ แต่ในที่นี้ เค้าจะไม่สามารถตั้งค่าเป็น @psu.ac.th ได้ เพราะเราได้ทำการจดทะเบียน DomainKeys Identified Mail (DKIM) และทำตามกระบวนการ Sender Policy Framework (SPF) แล้ว ซึ่งจะกำหนดว่า ต้องเป็น IP ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงจะบอกว่า ส่งจาก @psu.ac.th ได้เท่านั้น …. แม้จะส่งได้และเข้ามาใน Inbox ของท่าน แต่อาจจะเป็นบน gmail.com, hotmail.com, yahoo.com ก็ตาม ก็จะถูกระบุว่า ไม่สามารถเชื่อถือได้

      ในที่นี้ จึงเลี่ยงไปใช้ @itservice.psu.ac.th ซึ่ง ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน

     

    หากหลงเชื่อ คลิก Link แล้วกรอกข้อมูลไปแล้วควรทำอย่างไร?

    ให้ทำการตั้งรหัสผ่าน PSU Email ใหม่ที่ ตามวิธีการนี้เท่านั้น

    http://gafe.psu.ac.th/support/1/1

     

    และ เว็บไซต์ที่จะทำการ ตั้งรหัสผ่าน PSU Email ได้ ต้องเป็นเว็บไซต์นี้เท่านั้น ซึ่งต้องยืนยันตัวจริง ด้วย PSU Passport อีกชั้นหนึ่งด้วย

    https://webmail.psu.ac.th/src/resetpassword.html

     

    ลืม PSU Passport / ไม่แน่ใจว่า PSU Passport คืออะไร ทำอย่างไร ???

    1. บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ >>> ติดต่อการเจ้าหน้าที่ คณะ หน่วยงานของท่าน
    2. นักศึกษา >>> ติดต่อ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (email สอบถาม: passport@psu.ac.th)
    3. บุคลากรที่เกษียณ/ไม่ได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยแล้ว >>> มหาวิทยาลัยยังคง email ของท่านไว้เสมอ สามารถใช้ต่อไปได้ แม้ เกษียณ/ลาออก ก็ตาม แต่ในกรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน PSU Email แล้ว ไม่สามารถใช้งาน PSU Passport ได้แล้ว ให้มาติดต่อด้วยตนเองที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เท่านั้น
  • Facebook Spam ที่หลอกมาเป็น “ข่าวสด”

    วันนี้พบเพื่อนคนนึง มีโพสต์ประหลาดๆขึ้นบน Profile ดังภาพ

    แต่พอลองเอา Mouse Over ดูพบว่า Link ไป khaosod.me/XXXXXX

    ลองมั่วตามไปดู พบว่าไปเปิด Web หนึ่ง เลียบแบบ kapook.com

    คาดว่า เกิดจาก ก่อนหน้านี้ไปคลิก Facebook App บางอย่าง ทำให้เกิดการ ให้สิทธิ์ App เขียน Wall ได้

    วิธีแก้เคยเขียนไว้แล้วใน วิธีจัดการ Facebook Spam

  • TODO: สำหรับผู้ใช้ Microsoft Windows เพื่อป้องกัน Wana Decrypt0r Ransomware

    สิ่งที่ต้องทำ สำหรับ ผู้ใช้ Microsoft Windows

    และ สำหรับผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

    1. Backup หรือ สำรองข้อมูลสำคัญ ไว้ใน External Harddisk, USB Drive, Cloud Drive
    2. กรณี Windows Vista, Windows XP, Windows 8
      ให้ไปที่ Website นี้ เพื่อ Download ตัว Update ที่ตรงกับ Windows ของตน มาติดตั้ง (MS17-101 หรือ KB4012598)
      http://www.catalog.update.microsoft.com/Search.aspx?q=KB4012598
    3. กรณี Windows 7
      http://www.catalog.update.microsoft.com/search.aspx?q=4012212
    4. กรณี Windows 8.1
      http://catalog.update.microsoft.com/v7/site/search.aspx?q=4012213
    5. กรณี Windows 10
      Start > พิมพ์ Windows Update

    สำหรับคนที่ยังใช้ Windows XP ควรพิจารณา Upgrade มาเป็น Windows 10

    โดยติดตั้ง Microsoft Windows รุ่นล่าสุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    (ต้องมี PSU Passport)ได้ที่
    https://licensing.psu.ac.th/windows-10-education-version-1703-updated-march-2017-microsoft-imagine/

     

    ขอให้โชคดี

     

  • มีโปรแกรมไวรัส “เรียกค่าไถ่” ระบาดทั่วโลก (Wana Decrypt0r)

    หากท่านใช้ Windows และ ได้รับ Email ที่มีไฟล์แนบ โปรดระมัดระวังอย่างที่สุด

    สรุปความสั้นๆ:

    1. มีโปรแกรมเรียกค่าไถ่ระบาดทั่วโลก: หากติดไวรัส ไฟล์ในเครื่องเช่น Word, Excel หรือ งานวิจัยของท่านจะถูกเข้ารหัส ทำให้เปิดไม่ได้อีกเลย จนกว่าจะยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับ Hacker
    2. กระทบต่อผู้ใช้งาน Microsoft Windows โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องที่ใช้ Windows File Sharing (Drive I อะไรทำนองนั้น) ใช้ Windows เถื่อน โดนแน่ๆ เพราะจะไม่ได้รับการ Update จาก Microsoft ถ้าใช้ Windows ลิขสิทธิ์แต่ไม่เคย Update ก็น่าจะโดนได้ง่ายๆ ใช้ Windows XP น่ะเสี่ยงสุดๆ
    3. หากได้รับ Email และมี ไฟล์แนบ ให้ระมัดระวัง: ไม่ว่าจะมาจากคนที่รู้จักหรือไม่ก็ตาม ก่อนเปิดไฟล์ให้ดูดีๆ หากเปิดมาแล้วมันถามโน่นนี่เป็นภาษาที่ไม่เข้าใจ ให้ปรึกษานักคอมพิวเตอร์ใกล้ตัวท่าน
    4. หากโดนแล้ว ทำใจอย่างเดียว: อยากได้ไฟล์คืน จ่ายเงินสกุล BitCoin ซึ่งตอนนี้ แพงกว่าทองคำ และจ่ายไปแล้ว ก็ไม่รับประกันว่าจะได้ไฟล์คืน ดิ้นรนหาโปรแกรมแก้ ??? ระวังเจอไวรัสแฝง !!!
    5. AntiVirus ไม่ช่วยอะไร: เพราะไฟล์แนบไม่ใช่ Virus แต่ ถ้าเปิดโปรแกรมมา มันจะไป Download Virus จริงๆมาอีกที
    6. ป้องกันได้อย่างเดียวโดยการ Update Windows: ดังนั้น Windows เถื่อน, Windows โบราณ (XP เป็นต้น), Windows ขี้เกียจ (ไม่ยอม Update) เสี่ยงจะติดไวรัสนี้มากที่สุด

    [UPDATE] สิ่งที่ต้องทำสำหรับ Windows แต่ละรุ่น https://sysadmin.psu.ac.th/2017/05/15/todo-update-windows/

     

    รายละเอียดเชิงลึก

    https://www.techtalkthai.com/wana-decrypt0r-2-0-technical-note/

    ที่มาและภาพประกอบ:

    https://www.bleepingcomputer.com/news/security/wana-decryptor-wanacrypt0r-technical-nose-dive/

  • Spam 2017-04-04

    วันนี้ได้รับแจ้งว่า มี Email หลอกลวงแบบแนบเนียน หน้าตาดังนี้

    แหน่ะ แนะนำว่าอย่าให้ข้อมูล Username/Password กับใครอีกด้วย แต่มี Link ให้ไปกรอกรหัสผ่านซะงั้น

    ฝากกระจายข่าวด้วยครับ