รีวิวทดลองใช้ฟรี Google Cloud Platform สร้าง Web Server (LAMP)
1. ไปที่ https://cloud.google.com/ คลิกลงชื่อเข้าใช้และล๊อกอินด้วย gmail (หรือ @psu.ac.th ก็ได้)
1. ไปที่ https://cloud.google.com/ คลิกลงชื่อเข้าใช้และล๊อกอินด้วย gmail (หรือ @psu.ac.th ก็ได้)
จดหมายหลอกลวง สังเกตุ from และ to และการหลอกถามรหัสผ่านแบบ …. สิ้นคิด ส่วนอันนี้จากคุณสงกรานต์แจ้งมาครับ หลอกให้คลิกไฟล์แนบ ข้างใน Trojan ครับ คอยดักเก็บข้อมูลจากเครื่องของท่าน ใครเจอให้ลบทิ้งทันที ไม่ต้องลองเปิดนะครับ
Microsoft มี file checksum integrity verifier เป็น command line สามารถดาวน์โหลดมาใช้เพื่อตรวจสอบ file.iso ที่ดาวน์โหลดมาว่ามี md5sum ตรงกับที่หน้าเว็บไซต์แจ้งไว้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่หยิบเอา file.iso ที่อาจโดนใส่โปรแกรมไว้เนื่องจากเว็บไซต์ที่วางไฟล์ไว้อาจโดยแฮก ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/download และค้นด้วยคำว่า file checksum integrity verifier แตกไฟล์ออกมาไว้ใน Folder ที่ต้องการ เช่น Downloads นำมาใช้โดยเปิด Command Prompt และพิมพ์คำสั่ง fciv.exe file.iso ดังตัวอย่าง
จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop การสร้าง Services บน ArcGIS Server การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server โดยมีขั้นตอนดังนี้ เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/ คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address 3. เปิดโปรแกรม ArcGIS Desktop > เปิด Catalog > คลิก GIS Server > Add WMS Server 4. วางลิงค์ที่ได้จากเว็บ ที่ช่อง URL แล้วคลิกปุ่ม Get Layer http://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/wms/c6/?SERVICE=WMS&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetMap&LAYERS=fires24&width=1024&height=512&BBOX=-180,-90,180,90&&SRS=EPSG:4326 5. จะปรากฏชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม OK 6. Catalog จะแสดง WMS จากนั้นลากข้อมูลวางไว้ตรงพื้นที่งาน 7. แสดงจุดความร้อน โดยมีชั้นข้อมูลแบบ 24 ชม. และ 48 ชม. 8. เปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูล เพื่อเข้าใจง่ายต่อการแสดงผ่านเว็บ 9. เพิ่มข้อความในแผนที่เพื่อให้เครดิตเจ้าของข้อมูล โดยคลิกที่เมนู Insert > Text 10. พิมพ์ Power by Firms Group of NASA แล้วปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของข้อความ 11. จากนั้นทำการ Save ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd 12. ต่อไปเป็นขั้นตอนการสร้าง web map application โดยเปิด ArcGIS Server Manager 13. ทำการสร้าง Services โดยคลิกที่ Services > Manager Services > Publish a GIS Resource 14. แท็บ General ใส่ชื่อ service ตรงช่อง Name : ในที่นี้ใช้ชื่อ hotspot2016 15. แท็บ Parameters ตรง Map Document: ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ในโปรแกรม ArcGIS ในที่นี้ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd 16. แท็บ Capabilities กำหนดค่าตาม default 17. แท็บ Pooling ปรับตัวเลขให้เป็น 10 ตรงช่อง Maximum number of instances > คลิกปุ่ม Save and Restart 18. เมื่อได้สร้าง Services แล้ว ต่อไปทำการสร้างเว็บ ด้วยการคลิกที่ Applications > Create Web Application 19. ตั้งชื่อเว็บเป็น Fire ซึ่งจะเป็นชื่อเว็บสำหรับการเผยแพร่ 20. แท็บ Layer เพื่อเลือก Services ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ คือ hotspot2016 > คลิกปุ่ม Add 21. เพิ่ม Layer แผนที่ฐาน (Basemap)