Oracle Database 12CR1 monitoring with MRTG

OS: Oracle Enterprise Linux  7.2  (CentOS 7.2) วิธีติดตั้ง MRTG สามารถติดตั้งได้โดยสามารถดูคู่มือที่ ติดตั้ง mrtg บน ubuntu อาจไม่เหมือนกันแต่สามารถทำได้ทำนองเดียวกัน กราฟสำหรับ Idle CPU and Load average, CPU Time spent waiting for IO, Traffic Analysis for eth0, TCP Current Establish สามารถใช้ script เดียวกับลิงค์ในข้อ ๒ ได้เลย สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-memory.sh มีข้อความว่า #!/bin/bash FREE=$(free |grep “Mem:”|awk ‘{print $7}’) SWAP=$(free |grep “Swap:”|awk ‘{print $3}’) TIME=$(uptime) echo “${FREE}” echo “${SWAP}” echo “$TIME” hostname  สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-memory.cfg มีข้อความว่า WorkDir: /var/www/mrtg/myhost Target[myhost-mem]:`/etc/mrtg/get-memory.sh` MaxBytes[myhost-mem]: 20000000000 Title[myhost-mem]: Free Memory and Swap Used PageTop[myhost-mem]: <H1>Free Memory and Swap Used</H1> ShortLegend[myhost-mem]: bytes YLegend[myhost-mem]: bytes LegendI[myhost-mem]:  Free Memory: LegendO[myhost-mem]: Swap Used: Legend1[myhost-mem]: Free memory, in bytes Legend2[myhost-mem]: Swap Used, in bytes Options[myhost-mem]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง env LANG=C /usr/bin/mrtg/myhost-memory.cfgปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง indexmaker –column=2 –output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg โฟลเดอร์ที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ /u02/app/oracle/adump, /u02/app/oracle/diag/rdbms/regist/regist/alert, /u02/app/oracle/rdbms_trace ซึ่งเป็นโฟลเดอร์สำหรับเก็บ Log ไฟล์ต่างๆ ซึ่งอาจมีขนาดเพิ่มขึ้นจนระบบไม่สามารถให้บริการได้ และโฟลเดอร์ /u03 เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บ archive log (ในกรณีที่ฐานข้อมูลเปิด archive log mode) สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh มีข้อความว่า #!/bin/bash adump=$(du -sm /u02/app/oracle/adump|awk ‘{ print $1 }’) free=$(df -m /u02|grep u02|awk ‘{ print $4 }’) TEMP=$(uptime|grep -o “load average.*”|awk ‘{print $3}’|cut -d’,’ -f 1) LOAD=$(echo “${TEMP:-0} * 100″|bc|cut -d’.’ -f 1) TIME=$(uptime) echo “${adump}” echo “${free}” echo “$TIME” hostname สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg มีข้อความว่า WorkDir: /var/www/mrtg/myhost Target[myhost-misc1]:`/etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh` MaxBytes[myhost-misc1]: 20000000000 Title[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump PageTop[myhost-misc1]: Free disk space and

Read More »

ถ่ายไฟฉาย สีดำ สีเขียว อัลคาไลน์ มันต่างกันตรงไหน ???

รู้หมือไร่ ? จะไปซื้อถ่านไฟฉาย เอาว่าขนาด AA แล้วกัน เอ้อ มันมีสีดำ สีเขียว แล้วก็มีแบบอัลคาไลน์ด้วย ให้ไฟ 1.5V เหมือนกัน ขนาดก็เท่าๆกัน ไหงราคาต่างกัน มันต่างกันตรงไหน ??? สีดำ 4 ก้อน ราคา 32 บาท สีเขียว 4 ก้อน ราคา 24 บาท อัลคาไลน์ 4 ก้อน 75 ราคา   ถ้าลองอ่านดีๆ จะพบว่า สีเขียว จะเขียนว่า “Leak Proof” สีดำ จะเขียนว่า “Extra Long Life” อัลคาไลน์ มันจะเขียนว่า “Looooong Lasting + Anti-Leak” ถ้าอ่านฉลากสินค้า ก็จะเห็นตัวเลขอีกนิด สีเขียว = R6ST/4SL สีดำ = R6NT/4SL อัลคาไลน์ = LR6T/4B จากการไปตรวจสอบ จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Battery_nomenclature พบว่า จะเห็นว่า ขนาด AA จะเป็น R6 ทั้งสีดำและสีเขียว แต่ อัลคาไลน์จะเป็น LR6 ตรงนี้อธิบายได้ว่า ทั้งสีเขียวและสีดำ ใช้ Electrolyte เป็นแบบ Ammonium Chloride, Zinc Chloride ส่วนอัลคาไลน์ ใช้เป็นแบบ Alkali metal hydroxide แต่ทั้งหมดมีขนาดเดียวกันคือ R6 ครับ ที่จะต่างกันก็ตรง ST กับ NT และ T อันนี้ ยังไม่แน่ใจ TwT ส่วน /4 นั้น หมายถึง Pack ละ 4 ก้อน ไม่มีอะไร จากเว็บไซต์ของ Panasonic http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/manganese-battery/r6st.html บอกว่า สีดำและเขียวนั้นเป็นแบบ “Manganese Battery” ให้คำแนะนำว่า “Ideal for devices that require a small and continuous supply of power” น่าจะแปลว่า “เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟน้อยแต่ต้องการความต่อเนื่อง” ส่วน อัลคาไลน์ จากเว็บไซต์ http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/alkaline-battery/lr6t_4b.html บอกว่า “Can be used from low-drain devices to high energy consumtion” สรุป สีเขียว: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง คงจะป้องกันการ Leak คือลดการเสื่อมได้ สีดำ: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง แต่คงจะเก็บประจุได้มากกว่า อัลคาไลน์: ถ้าให้คุ้ม ซื้อใช้กับอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟมากๆ เช่น กล้องดิจิตอล เป็นต้น ผู้รู้ท่านอื่นๆโปรดชี้แนะด้วยครับ 😉  

Read More »

การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

ArcGIS for Desktop เป็นซอฟต์แวรด้าน GIS สำหรับการสร้าง แก้ไข วิเคราะห์ จัดเก็บ และแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ช่วยใช้ในการตัดสินใจ เพื่อประหยัดงบประมาณ เวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ในการติดตั้งนี้จะเป็นแบบ Trial version ซึ่งจะมีอายุการใช้งานได้ 60 วัน หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้ * สามารถติดตั้งได้ทั้งคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook * การสมัครเพื่อขอรับรหัส EVA จะได้เพียง 1 account ต่อ 1 email ต่อการใช้งาน 60 วัน ความต้องการของระบบขั้นต่ำ ระบบปฏิบัติการ windows 64 bit CPU Minimum: Hyperthreaded dual core* Recommended: Quad core* RAM Minimum: 4 GB Recommended: 8 GB Optimal: 16 GB VGA 24-bit color Minimum: DirectX 9 (OpenGL 2.0)—compatible card with 512 MB RAM** Recommended: DirectX 11 (OpenGL 3.2)—compatible card with 2 GB RAM** Optimal: DirectX 11 (OpenGL 4.4)—compatible card with 4 GB RAM** Visualization cache up to 32 GB of space Disk space Minimum: 4 GB Recommended: 6 GB or higher Software Microsoft .NET Framework 4.5.1 Internet Explorer 11 การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS เปิดหน้าเว็บไซต์ http://www.esri.com/software/arcgis/arcgis-for-desktop/free-trial กรอกข้อมูล > คลิกปุ่ม Start Trial เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม ระบบส่งอีเมล์ของผู้สมัคร ให้เช็คอีเมล์แล้วทำการ Active เพื่อ set password ในการเข้าสู่ระบบ ArcGIS Online เมื่อเช็คอีเมล์จะพบเมล์ใหม่ subject: Esri – Activate Your Free ArcGIS Trial ให้คลิกที่ลิงค์ เพื่อทำการ Active บัญชีผู้ใช้ เมื่อคลิก Active ลิงค์ในเมล์แล้ว จะเปิดหน้าต่างเว็บขึ้นมาเพื่อให้กรอกข้อมูลสำหรับการสร้างบัญชีผู้ใช้ คลิกปุ่ม บันทึกและดำเนินการต่อ เสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียน > คลิกปุ่ม ใช้แอพ เข้าสู่หน้าเว็บสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ให้คลิกดาวน์โหลด ArcMap และ ทำการ copy หมายเลขแสดงสิทธิ์การอนุญาตใช้งาน ArcMap เก็บไว้ รอการดาวน์โหลดไฟล์ ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ ArcGIS_Desktop_104_exe เพื่อติดตั้งโปรแกรม คลิกปุ่ม Next คลิกปุ่ม Close และทำเครื่องหมายเลือก Launch the setup program เพื่อเริ่มติดตั้ง คลิกปุ่ม Next เลือก I accept the license agreement แล้วคลิกปุ่ม

Read More »

การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ   WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)   ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS ระบบภูมิสารสนเทศสถิติ โดยสำนักภูมิสารสนเทศสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบบภูมิสารสนเทศสถิติ โดยศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ Fire Information for Resource Management System โดย Firms Group of NASA โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ***อันนี้เป็นระบบ UTM ซึ่งผู้พัฒนากำลังจะทำการแปลงเป็นระบบ Lat-Long เพิ่มอีก 1 ชุด   *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ *** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)   โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/ 2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address 3. เปิดโปรแกรม Google Earth 4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน 5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS 6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง 7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม -> 8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง 9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง 10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป *** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น ___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

Read More »

มาใช้งาน letsencrypt กันเถอะ

สำหรับใครก็ตามที่มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบัน ก็ดูเหมือนว่าจะหลีกไม่พ้นที่จะต้องรู้เรื่องของการเซ็ตอัพให้เซิร์ฟเวอร์ที่ต้อดูแล สามารถใช้งานผ่านโปรโตคอล https ได้ นอกเหนือไปจากการใช้งานผ่านโปรโตคอล http ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานดั้งเดิม สำหรับการให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เอาล่ะ ถ้าจะว่ากันตามตรงแล้ว งานที่ต้องเพิ่มขึ้นมาสำหรับการที่จะทำให้ เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถใช้ https ได้ ถ้าทำให้มันใช้ http ได้แล้ว โดยทั่วไปก็ไม่ได้ยุ่งยากมากขึ้นเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับเซอร์ติฟิเคท (certificate) ที่ใช้ด้วย แต่ว่ากันโดยทั่วไป ระบบที่มีผู้ใช้งานเยอะ ตัวติดตั้งซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการ ก็มักจะจัดเตรียมวิธีการตรงนี้ไว้ให้แล้ว เหลือแค่การเรียกใช้งานเพิ่มแค่ไม่กี่คำสั่ง ก็สามารถใช้งานได้เลย ขอยกตัวอย่างเลยก็แล้วกัน สำหรับระบบปฏิบัติการเดเบียนลินุกซ์ (Debian Linux) รุ่น เจสซี่ (jessie) และ ใช้งาน apache เวอร์ชัน 2 เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ วิธีการติดตั้งตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็คือ $ sudo apt-get install apache2 เพียงเท่านี้ เราก็สามารถใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ สำหรับให้บริการแบบสแตติกไฟล์ และสามารถใช้สคริปต์แบบ CGI ได้แล้ว แล้วถ้าต้องการให้มันรองรับแบบไดนามิก โดยใช้ภาษา php ได้ด้วยล่ะ? ก็ไม่ได้ยากอะไร ก็เพียงเพิ่มโมดูลของ php เข้าไป โดยใช้คำสั่ง $ sudo apt-get install libapache2-mod-php5 ตัวโปรแกรมสำหรับติดตั้ง (apt-get) ก็จะตรวจสอบ แพกเกจที่จำเป็นต้องใช้และยังไม่ได้ติิดตั้งเอาไว้ เช่น php5 แล้วก็ติดตั้งแพกเกจเหล่านั้นให้ด้วยเลยโดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นเราก็สามารถสร้าง index.php ในไดเรคตอรี่ /var/www/html/ แล้วก็เขียนโปรแกรมภาษา php ให้บริการบนเว็บได้เลย ทีนี้ถ้าต้องการให้บริการเว็บ โดยใช้ https โปรโตคอลล่ะ เพื่อให้มีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่าง ตัวเว็บเบราเซอร์ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ อันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งโมดูลเพิ่มเติม เพราะตัว apache ติดตั้งให้โดยปริยายตั้งแต่แรกแล้ว แต่ ไม่ได้เปิดให้ใช้งานโดยอัตโนมัติ ผู้ดูแลระบบจะต้องสั่งเพิ่มว่า ให้เปิดบริการแบบ https ด้วย โดยใช้คำสั่งดังนี้ $ sudo a2enmod ssl $ sudo a2ensite default-ssl และสั่ง restart ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยใช้คำสั่ง $ sudo systemctl restart apache2 เท่านี้ ก็จะสามารถใช้งาน https โปรโตคอลเพิ่มเติมขึ้นมาจากเดิม ที่ใช้งานได้เฉพาะ http โปรโตคอล แต่ … มันไม่ได้จบง่ายๆแค่นั้นน่ะสิ ถึงแม้ว่าการให้บริการจะโดยใช้ https โปรโตคอลจะมีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่างตัวเบราเซอร์กับตัวเซิร์ฟเวอร์ แต่ เซอร์ติฟิเคท (certificate) สำหรับกุญแจที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลนั้น จะเป็นแบบที่เรียกว่า self-signed certificate ซึ่งตัวเบราเซอร์โดยทั่วไปจะ ไม่เชื่อถือ (un trusted) ว่าเป็นเซอร์ติฟิเคท ที่ออกให้กับเว็บไซท์ ที่ระบุว่าเป็นโดเมนนั้นๆจริง ในการใช้งานเว็บไซท์ที่ตัวกุญแจเข้ารหัสใช้ self-signed certificate ตัวเบราเซอร์ก็จะ “เตือน”, และสร้างความยุ่งยากในการใช้งานให้กับ ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าใช้งานเว็บไซท์นั้นๆ นั่นอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อะไร สำหรับเว็บไซท์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการภายในหน่วยงานกันเอง ซึ่งผู้ใช้งานในหน่วยงาน อาจจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่นเดินไปถาม, โทรศัพท์ไปถาม, ส่ง e-mail ไปถาม … หรือในกรณีที่เป็นจริงส่วนใหญ่ ก็คือ ไม่ต้องถาม ก็แค่กดปุ่มยอมรับความเสี่ยง ให้ตัวเบราเซอร์จำเซอร์ติฟิเคทนั้นไว้ แล้วก็ใช้งานไปแค่นั้นเอง แต่นั่น อาจจะเป็นปัญหาในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ถ้าเว็บไซท์ดังกล่าว เปิดให้บริการให้กับบุคคลภายนอกหน่วยงานด้วย ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวหน่อยก็แล้วกัน ถ้าเว็บไซต์ของภาควิชาใดภาควิชาหนึ่ง ในหลายๆคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดให้บริการแบบ https ขึ้นมา และบุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลภายนอกนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น บุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย แม้กระทั่งบุคคลากรของมหาวิทยาลัย แต่อยู่ต่างคณะ หรือแม้ต่างภาควิชา การที่จะตรวจสอบว่า เว็บดังกล่าว เป็นเว็บของหน่วยงานนั้นจริงๆ ก็เริ่มเป็นเรื่องยุ่งยากขึ้นมาระดับนึงแล้ว ถ้าต้องให้บริการกับบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยด้วย การที่จะตรวจสอบว่าเป็นเว็บของหน่วยงานนั้นๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่ ยุ่งยากเกินเหตุ … แน่นอน ในทางปฏิบัติ ใครที่จำเป็นจะต้องเว็บไซท์เหล่านั้น ก็คงจะต้องใช้ต่อไป ก็เพราะจำเป็นที่จะต้องใช้

Read More »