วิธีทำ Screen Mirror จาก Android ขึ้นมาแสดงบน PC (Ubuntu)

เนื่องจากเครื่อง Notebook ที่ใช้ ลง Ubuntu 17.04 Desktop จึงนำเสนอวิธีนี้ก่อน ใน Android ต้องเปิด Developer Options เปิด USB Debuging เสียบ Android กับ USB ที่เครื่อง Ubuntu Desktop ติดตั้งดังนี้ sudo apt install adb android-tools-adb ffmpeg ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อดูว่า มี Android มาต่อทาง USB หรือไม่ lsusb ผลที่ได้ ต่อไป ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อดูว่า ADB เห็น Android หรือไม่ adb shell screenrecord –output-format=h264 – | ffplay ผลที่ได้คือ หน้าจอ Android จะปรากฏบน PC (Ubuntu) Reference: https://askubuntu.com/questions/213874/how-to-configure-adb-access-for-android-devices

Read More »

App Analytics: เครื่องมือจัดเก็บวิเคราะห์สถิติและเฝ้าระวัง แอพลิเคชั่นบน iOS

นักพัฒนาหลายท่านโดยเฉพาะ นักพัฒนาเว็บ น่าจะคุ้นเคยกับบริการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ สกิติเว็บไซด์อย่างเช่น Google Analytic เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความจำเป็นมากที่นักพัฒนาต้องบอกได้ว่า ผู้ใช้ของเรามีจำนวนเท่าไหร่ เกิดข้อผิดพลาดมากน้อยเพียงใด และช่วงเวลาใดที่มีการใช้งานเยอะ เพื่อเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการให้บริการ รวมถึงการกำหนดเวลาปิดระบบเพื่อบำรุงรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของ แอพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ iOS เองก็มีเครื่องมือที่ชื่อว่า App Analytics ให้ใช้งาน โดยที่นักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่แอพพลิเคชั่นของท่านอยู่ในสถานะ พร้อมให้ใช้งาน (Ready For Sale) ก็สามารถเข้าใช้งาน App Analytics ได้ทันที โดยมีขั้นตอน และการแปลผลดังนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู App Analytics เมื่อเข้าไปยังหน้าแรกจะมีรายการแอพพลิเคชั่นของเราแสดงอยู่ พร้อมข้อมูลเบื้องต้น ในระยะเวลา 1 เดือนล่าสุด (สามารถเปลี่ยนช่วงเวลาได้) โดยข้อมูลที่แสดงอยู่ประกอบไปด้วย Impressions : จำนวนครั้งที่แอพพลิเคชั่นของเราปรากฏให้ผู้ใช้เห็นเช่น อยู่ในผลการค้นหา, แอพแนะนำ, Top Chart หรือเมื่อผู้ใช้เปิดดูหน้าข้อมูลแอพพลิเคชั่นของเรา เพื่อใช้ดูว่าจำนวนการดาวส์โหลด เมื่อเทียบกับจำนวน Impressions แล้ว ความสนใจในแอพของเรามีมากน้อยเพียงใด App Units: จำนวนเครื่องที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นของเราอยู่ Sales: จำนวนเงินรวม ที่ขายได้ Sessions: จำนวนการเปิดใช้งาน Crashes: จำนวนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เมื่อคลิกเลือกที่รายการ แอพลิเคชั่น จะแสดงข้อมูล Impressions, Product Page Views, App Units, In-App Purchases, Sales, Sessions, Active Devices, Crashes ในรูปแบบกราฟ อยู่ส่วนบนสุด ถัดมาจะเป็น Info graphic แยกตามประเทศ โดยสามารถเลือกได้ว่าเป็นข้อมูล App Units, Sessions, Active Devices เป็นต้น ล่างสุดจะเป็นกราฟวงกลม แยกตามอุปกรณ์ โดยสามารถเลือกได้ว่าเป็นข้อมูล App Units, Sessions, Active Devices ได้เช่นกัน หากต้องการดูข้อมูลในมุมมองอื่นๆ หรือกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อดูในรูปแบบกราฟเส้น สามารถเลือกเมนู Metrics และกำหนดค่าต่างๆได้ตามต้องการ จากหน้าจอกราฟแบบ Metrics สามารถ Export ออกเป็น Excel ได้โดยกดปุ่ม

Read More »

Test Flight: อัพโหลดแอพลิเคชั่นขึ้นทดสอบบน App Store โดยผู้ใช้จริง

ไม่ว่าจะพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อพัฒนาเสร็จเรียบร้อย และผ่านการทดสอบจากผู้พัฒนาเองโดยการใช้ Simulator หรืออุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ เรียบร้อยแล้ว สำหรับแอพพลิชั่น ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และต้องรองรับกับความหลากหลายของอุปกรณ์ทั้งรุ่นของระบบปฏิบัติการ ขนาดหน้าจอ และฮาร์ดแวร์ จำเป็นต้องมีการทดสอบ โดยผู้ใช้จริงจำนวนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดข้อผิดพลาด เมื่อเปิดให้ใช้งานจริง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู My Apps จะเข้าสู่หน้าจอจัดการ หากยังไม่มี Application Record ต้องทำการสร้างก่อน โดยคลิกที่ปุ่ม จากนั้นจะได้หน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลแอพพลิเคชั่นของเรา กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นกรอกข้อมูลอื่นๆ อัพโหลดภาพตัวอย่างตามข้อกำหนดของ Apple ให้ครบถ้วน (รายละเอียดในส่วนนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมจาก https://developer.apple.com/app-store/review) เมื่อสร้าง Application Record เรียบร้อย เลือกที่ไอคอนแอพลิเคชั่นของเรา จะได้หน้าจอดังรูป เลือกเมนู TestFlight จะแสดงหน้าจอรายการ Build (ไฟล์ ipa ของแอพลิเคชั่น) ที่เราได้อัพโหลดไว้กรณีไม่ปรากฏดังตัวอย่าง แสดงว่าไม่มี Build ที่อยู่ในสถานะที่จะใช้งาน TestFlight ได้ให้ทำการอัพโหลดใหม่ เมื่ออัพโหลดไฟล์ IPA เรียบร้อยแล้ว จะปรากฏ Build ที่สามารถเปิดให้ทดสอบได้ ดังรูป จัดการข้อมูลผู้ทดสอบโดยเลือกเมนู All Testers ด้านซ้ายมือ ในส่วนนี้สามารถทำการลบรายการผู้ทดสอบได้ โดยการกดปุ่ม Edit เลือกรายการที่ต้องการลบ จะปรากฏเมนูปุ่ม Remove ให้สามารถลบได้ หากต้องการเพิ่มผู้ทดสอบจะต้องเลือกเมนู iTunes Connect Users (อีเมลที่ได้รับการเพิ่มเป็นสมาชิกของทีมใน Apple Developer Account) หรือ External Testers (อีเมลอื่นๆ) โดยสามารถกดปุ่ม จากนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะเพิ่มรายบุคคล หรือโหลดจากไฟล์ CSV เมื่อมีรายการผู้ทดสอบครบถ้วนแล้วให้กลับไปที่เมนู Build คลิกเลือก จะปรากฏหน้าจอสำหรับเลือกผู้ทดสอบที่ต้องการให้ทดสอบ Build นี้ โดยสามารถเพิ่มจากชื่อกลุ่ม หรือ รายบุคคลก็ได้ จากนั้นกรอกข้อมูลสำหรับทำ External Testing โดยคลิกที่เมนู Test Information กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เมื่อเสร็จกระบวนการข้างต้น ผู้ทดสอบที่เป็นสมาชิกภายใน (อีเมลที่ลงทะเบียนเป็น Member ของ Apple Developer Account) จะได้รับอีเมล Invite สามารถทดสอบได้ทันที ส่วนผู้ทดสอบภายนอกจะต้องรอให้ผ่านกระบวนการรีวิวจากทาง Apple  จากนั้นแจ้งให้ผู้ใช้ดาวส์โหลด TestFlight App เพียงเท่านี้ก็สามารถโหลดแอพของเรา และทดสอบการใช้งานแอพบนเครื่องที่ใช้งานจริงได้แล้วครับ    

Read More »

TeamViewer QuickSupport

สำหรับการเขียน blog ในรอบนี้ คิดอยู่นานว่าจะเขียนอะไรดี แต่เนื่องด้วยภาระหน้าที่ในงานส่วนใหญ่ที่ทำ คือการ support ให้กับลูกค้า และ ณ ปัจจุบันนี้ กลุ่มของลูกค้าที่ทางผู้เขียนต้องติดต่อประสานงานด้วยนั้น ก็หลากหลายมากกกกก (กอ ไก่ หมื่นตัว – -“) และปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ การอธิบายปัญหาระหว่างลูกค้า และตัวเรานั้น “เข้าใจไม่ตรงกัน”   ดังนั้นวันนี้ทางผู้เขียนจึงอยากจะแนะนำ Application ที่จะช่วยให้การติดต่อ ระหว่างเครื่อง Notebook ของเรา กับเจ้า Tablet หรือ Smartphone ของลูกค้า ง่ายขึ้นไปอี๊กกกก ^__^   TeamViewer QuickSupport เป็น Application ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งบน iOS และ Android ละนะ สำหรับตัวอย่างหน้าตา App ก็คล้ายๆ ตัว TeamViewer ที่เราใช้บน PC หรือ Notebook นี่แหละ   ** แต่ต้องขอบอกก่อนว่า feature ที่ได้เนี่ยอาจจะไม่เหมือนกันนะ สำหรับ samsung ก็จะมี quicksupport for samsung เลย สำหรับรุ่นอื่นๆ ก็อาจจะต้องมีการลง add-on เพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถใช้งาน feature remote control ได้ และสำหรับเจ้า add-on เนี่ย ก็ไม่ได้มีทุกค่ายนะ ยังไงก็สามารถทดลองเล่นๆ กันดูได้ เริ่มแรกก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ Play Store ค้นหา App teamviewer quicksupport จากนั้นคลิก Install กันได้เลย เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็ Open โปรแกรมขึ้นมา *** สำหรับเครื่องไหนที่จะต้องดาวน์โหลด add-on เพิ่มเติม มันก็จะมี pop up แจ้งบอกเรานะ สำหรับ add-on ก็มีจะเยอะแยะหลายรุ่น ลองเลือกๆ กันดูได้เลย เปิด TeamViewer บน PC หรือ Notebook ขึ้นมา เพื่อเริ่มต้นการ Remote หน้าจอของผู้ใช้ นำ Your ID ของลูกค้ามากรอกในช่อง Partner ID จากนั้น คลิก connect to partner *** แต่ถ้าคอมพิวเตอร์เราไม่มีโปรแกมดังกล่าว ก็สามารถเข้าผ่าน https://start.teamviewer.com ได้เหมือนกันนะ เมื่อเริ่มต้น connect บนฝั่งของทาง smartphone ของลูกค้าก็จะมีการให้ยืนยันการเชื่อมต่อ ว่าจะ อนุญาต หรือปฏิเสธ ให้เลือกอนุญาต จากนั้นการเชื่อมต่อก็จะพร้อมใช้งานได้ทันที 🙂 เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเห็นหน้าจอของลูกค้า ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้จากระยะไกล หรือสามารถตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ ติดตั้ง App หรือจะตั้งค่าข้อมูลต่างๆ บน Smartphone หรือ Tablet ของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย จากนี้ต่อไป ไม่ว่าลูกค้าของเราจะอยู่ส่วนไหนของมุมโลก เพียงแค่มี Internet และ App เทพตัวนี้ Teamviewer quicksupport เราก็จะสามารถ Remote เพื่อเข้าไปดูหน้าจอจริงๆ ไปดูปัญหาที่ลูกค้าเจอจริงๆ ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว สรุปประโยชน์ของ App ตัวนี้ สามารถเชื่อมต่อ ระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ กับ อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อทำการช่วยเหลือ ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ ได้ทันที แม้จะอยู่กันคนละซีกโลก ! สามารถถ่ายโอนไฟล์ระหว่างกันได้ เช่น รูปภาพ PDF หรืออื่นๆ สามารถ แชท (ส่งข้อความ) ระหว่างกันได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องโทรติดต่อกันให้ยุ่งยาก สามารถตรวจสอบ ข้อมูลอุปกรณ์ รายละเอียดของอุปกรณ์ (Smartphone หรือ

Read More »

Adaptive Layout สำหรับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS

สำหรับหัวข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับนักพัฒนาที่ใช้ Xcode และ Xamarin.iOS นะครับ แต่ภาพตัวอย่างที่ใช้ประกอบในบทความจะมาจาก Xamarin.iOS บน Visual Studio ครับ อุปกรณ์ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง และขนาดหน้าจอ ความละเอียดเท่าไหร่  คงเป็นคำถามแรกๆสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS ก่อนที่จะเริ่มออกแบบหน้าจอ ข้อมูลจาก http://iosres.com/ นี้คือคำตอบนั้นครับ ความหลากหลายของขนาดหน้าจอ  จะเห็นได้ว่าเยอะไม่แพ้ Android เลยทีเดียวสำหรับปัจจุบัน เมื่อแอปพลิเคชันของเราจำเป็นต้องทำงานได้บนทุกอุปกรณ์  ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะสรุปสิ่งที่ต้องรู้และศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทำ Adaptive Layout หรือ รูปแบบการแสดงผลที่ปรับเปลี่ยนไปตามขนาดหน้าจอได้เอง   Unified Storyboard เล่าวิวัฒนาการของวิธีการออกแบบ UI ของ iOS แอปพลิเคชันซักหน่อยนะครับ โดยแต่เริ่มนั้นเนื่องจากมีเพียงแค่ iPhone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS เครื่องมือของทาง Apple สำหรับใช้ออกแบบหน้าจอเรียกว่า Interface Builder ซึ่งปัจจุบันถูกผนวกรวมมากับ Xcode เรียบร้อยแล้ว ใช้ไฟล์ .xib ในการออกแบบ ลักษณะจะเป็น 1 หน้าจอ 1 ไฟล์  ใช้ไฟล์เพียงชุดเดียว แต่เมื่อมี iPad ซึ่งมีขนาดหน้าจอที่แตกต่างออกไป นักพัฒนาก็ต้องสร้างไฟล์สำหรับ iPad อีกชุด ต่อมาไฟล์สำหรับออกแบบ UI ที่ชื่อว่า Storyboard  ก็ถูกนำมาใช้งาน เป็นการออกแบบในลักษณะที่ สามารถวางหน้าจอ หลายๆ หน้าจอ และกำหนดความเชื่อมโยง โดยใช้ segue เป็นตัวเชื่อมการแสดงผล แต่ก็ยังต้องมี ไฟล์ Storyboard สำหรับ iPhone และ iPad แยกกันอยู่ดี เมื่อมาถึง iOS 8.0 ความหลากหลายของขนาดหน้าจอมีมากขึ้นแม้แต่ iPhone เอง ก็มีหลายขนาด ตัว Unified Storyboard จึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ ทำให้ออกแบบ Storyboard เพียงไฟล์เดียวสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ทุกขนาดหน้าจอ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอีก 2 อย่างคือ Auto Layout และ Size Class วิธีการใช้งาน 1. เมื่อสร้างโปรเจ็คจะมีไฟล์ .storyboard เปิดไฟล์ จากนั้นในหน้าต่าง Property เลือกใช้งาน Use Auto Layout, Use Size Classes 2. ด้านบนของ Interface Builder จะปรากฏเมนูที่เกี่ยวกับการทำ Unified Storyboard ดังรูป 3. ทำการกำหนดค่าใน info.plist เพื่อใช้ไฟล์ Storybord ดังกล่าวเป็น Main interface ของทั้ง iPhone และ iPad 4. ตอนนี้ไฟล์ Storyboard ของเราก็พร้อมใช้งาน รองรับการออกแบบโดยมีความสามารถ Auto Layout และ Size Class ให้ใช้งานแล้วครับ   Auto Layout แนวคิดหลักของ Auto Layout คือการตั้งเงื่อนไขเพื่อกำหนดตำแหน่งและขนาดของ Control ที่อยู่บนหน้าจอ เพื่อให้สามารถปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอที่เปลี่ยนไปได้ ซึ่งเรียกว่า Constraint มีหลายชนิดด้วยกันดังนี้ Size Constraints คือการกำหนดขนาด โดยระบุ ความกว้าง ความสูง โดยส่วนตัวผมคิดว่าแบบนี้ค่อนข้างได้ใช้น้อยครับ เพราะเหมือนกับเรากำหนด Property ความกว้าง ความสูง ปกติ เหมาะใช้กำหนดแค่ความกว้าง หรือ ความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งผสมกับ Constraints แบบอื่นๆ Center Constraints คือการกำหนดให้อยู่ในจุดกึ่งกลาง โดยอ้างอิงจากขนาดของ View ที่เปลี่ยนไป จะทำให้อยู่ในตำแหน่งกลางเสมอ อันนี้ก็ได้ใช้งานบ่อยครับ Combinational Constraints คือการอ้างอิงตำแหน่งของ Control

Read More »