Adaptive Layout สำหรับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS
สำหรับหัวข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับนักพัฒนาที่ใช้ Xcode และ Xamarin.iOS นะครับ แต่ภาพตัวอย่างที่ใช้ประกอบในบทความจะมาจาก Xamarin.iOS บน Visual Studio ครับ อุปกรณ์ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง และขนาดหน้าจอ ความละเอียดเท่าไหร่ คงเป็นคำถามแรกๆสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS ก่อนที่จะเริ่มออกแบบหน้าจอ ข้อมูลจาก http://iosres.com/ นี้คือคำตอบนั้นครับ ความหลากหลายของขนาดหน้าจอ จะเห็นได้ว่าเยอะไม่แพ้ Android เลยทีเดียวสำหรับปัจจุบัน เมื่อแอปพลิเคชันของเราจำเป็นต้องทำงานได้บนทุกอุปกรณ์ ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะสรุปสิ่งที่ต้องรู้และศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทำ Adaptive Layout หรือ รูปแบบการแสดงผลที่ปรับเปลี่ยนไปตามขนาดหน้าจอได้เอง Unified Storyboard เล่าวิวัฒนาการของวิธีการออกแบบ UI ของ iOS แอปพลิเคชันซักหน่อยนะครับ โดยแต่เริ่มนั้นเนื่องจากมีเพียงแค่ iPhone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS เครื่องมือของทาง Apple สำหรับใช้ออกแบบหน้าจอเรียกว่า Interface Builder ซึ่งปัจจุบันถูกผนวกรวมมากับ Xcode เรียบร้อยแล้ว ใช้ไฟล์ .xib ในการออกแบบ ลักษณะจะเป็น 1 หน้าจอ 1 ไฟล์ ใช้ไฟล์เพียงชุดเดียว แต่เมื่อมี iPad ซึ่งมีขนาดหน้าจอที่แตกต่างออกไป นักพัฒนาก็ต้องสร้างไฟล์สำหรับ iPad อีกชุด ต่อมาไฟล์สำหรับออกแบบ UI ที่ชื่อว่า Storyboard ก็ถูกนำมาใช้งาน เป็นการออกแบบในลักษณะที่ สามารถวางหน้าจอ หลายๆ หน้าจอ และกำหนดความเชื่อมโยง โดยใช้ segue เป็นตัวเชื่อมการแสดงผล แต่ก็ยังต้องมี ไฟล์ Storyboard สำหรับ iPhone และ iPad แยกกันอยู่ดี เมื่อมาถึง iOS 8.0 ความหลากหลายของขนาดหน้าจอมีมากขึ้นแม้แต่ iPhone เอง ก็มีหลายขนาด ตัว Unified Storyboard จึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ ทำให้ออกแบบ Storyboard เพียงไฟล์เดียวสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ทุกขนาดหน้าจอ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอีก 2 อย่างคือ Auto Layout และ Size Class วิธีการใช้งาน 1. เมื่อสร้างโปรเจ็คจะมีไฟล์ .storyboard เปิดไฟล์ จากนั้นในหน้าต่าง Property เลือกใช้งาน Use Auto Layout, Use Size Classes 2. ด้านบนของ Interface Builder จะปรากฏเมนูที่เกี่ยวกับการทำ Unified Storyboard ดังรูป 3. ทำการกำหนดค่าใน info.plist เพื่อใช้ไฟล์ Storybord ดังกล่าวเป็น Main interface ของทั้ง iPhone และ iPad 4. ตอนนี้ไฟล์ Storyboard ของเราก็พร้อมใช้งาน รองรับการออกแบบโดยมีความสามารถ Auto Layout และ Size Class ให้ใช้งานแล้วครับ Auto Layout แนวคิดหลักของ Auto Layout คือการตั้งเงื่อนไขเพื่อกำหนดตำแหน่งและขนาดของ Control ที่อยู่บนหน้าจอ เพื่อให้สามารถปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอที่เปลี่ยนไปได้ ซึ่งเรียกว่า Constraint มีหลายชนิดด้วยกันดังนี้ Size Constraints คือการกำหนดขนาด โดยระบุ ความกว้าง ความสูง โดยส่วนตัวผมคิดว่าแบบนี้ค่อนข้างได้ใช้น้อยครับ เพราะเหมือนกับเรากำหนด Property ความกว้าง ความสูง ปกติ เหมาะใช้กำหนดแค่ความกว้าง หรือ ความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งผสมกับ Constraints แบบอื่นๆ Center Constraints คือการกำหนดให้อยู่ในจุดกึ่งกลาง โดยอ้างอิงจากขนาดของ View ที่เปลี่ยนไป จะทำให้อยู่ในตำแหน่งกลางเสมอ อันนี้ก็ได้ใช้งานบ่อยครับ Combinational Constraints คือการอ้างอิงตำแหน่งของ Control