How to use bitlocker?

หลังจาก Truecrypt ไม่ปลอดภัย ? คนความลับเยอะจะใช้อะไรเข้ารหัส HDD กันดี ทางเลือกหนึ่งคือใช้ bitlocker ที่มาพร้อมกับ Windows 7/8/8.1/10 (รุ่น Professional, Enterprise, Education, Enterprise LTSB เท่านั้น) และ Windows Server 2008/2008R2/2012/2012R2/(2016?) เพื่อความสะดวกจึงสร้าง Virtual Hard Disk ดังนี้ เปิด Disk Management (Start > RUN > diskmgmt.msc) จะได้ Disk Management คลิกที่เมนู Action เลือก Create VHD จะได้หน้าต่าง Create and Attach Virtual Hard Disk เลือกที่เก็บ ขนาดและชนิดได้ตามชอบใจ VHD และ VHDX ต่างกันตามคำอธิบายนะครับ ดังนั้นตามตัวอย่างนี้จะได้ดังรูป เลือกเรียบร้อยกด OK จะได้ HDD ลูกใหม่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในสถานะ Not Initialize เหมือนเราเอา HDD ลูกใหม่ที่เพิ่งซื้อ (สดๆ :p ) มาเสียบ คลิกขวาที่ HDD ลูกใหม่นี้เลือก Initialize Disk เลือกชนิดพาทิชั่นที่ต้องการว่าจะเป็น MBR หรือ GPT อันนี้ปล่อยตามค่าที่ถูกเลือกไว้แต่แรกเลยก็ได้ อย่าลืมอ่าน Note: ด้านล่างด้วยนะครับ (จะเป็น MBR หรือ GPT ขึ้นอยู่กับว่าลง Windows มาในโหมดไหน UEFI หรือ BIOS) สร้าง Partition ใหม่ ตัวอย่างนี้เลือกเป็น GPT Partition Table จะเรียกเป็น Simple Volume คลิกขวาที่พื้นที่ Unallocated เลือก New Simple Volume… เลือกขนาด Partiton ให้เป็นพื้นที่ทั้งหมดไปเลย แล้วกด Next ไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นตอน Format สามารถเลือกได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น FAT32 หรือ NTFS ตามตัวอย่างนี้เลือก NTFS กด Next แล้ว Finish จะได้ HDD ลูกใหม่ที่มี Partition ชื่อ Bitlocker เพิ่มขึ้นมาแล้ว (H:) เปิดดูด้วย Windows Explorer จะเห็น Drive H เพิ่มขึ้นมาแล้ว เป็นอันเสร็จสำหรับการสร้าง Virtual Hard Disk คลิกขวาที่ Drive H เลือก Turn on Bitlocker จะได้หน้าต่าง Bitlocker Drive Encryption (H:) (ชื่อ Drive อาจต่างไปจากนี้แล้วแต่เครื่องนะครับ) เลือก Use a password to unlock the drive แล้วตั้ง Password ตามต้องการ กด Next จะได้หน้าสำหรับ Backup recovery key เลือกได้เลยว่าจะเก็บไว้ในรูปแบบไหน (ในตัวอย่างเลือก Save to a file ไว้ก่อนเนื่องจากไม่ได้เข้าวินโดวส์ด้วย Microsoft account) เลือกเสร็จแล้วกด Next จะได้ TXT file ชื่อขึ้นต้นด้วย BitLocker Recovery Key*.txt ให้เก็บไว้ให้ดีเผื่อกรณีฉุกเฉิน (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ

Read More »

Dual Boot Ubuntu 14.04 & Windows 8.1 in UEFI

เหตุการณ์สมมติจึงใช้ VirtualBox ตั้งค่า VirtualBox ดังภาพ (ขอข้ามวิธีการสร้างเครื่องใหม่บน VirtualBox ไปเลยนะครับ คิดซะว่าชำนาญแล้ว โดยขนาด HDD ที่ต้องการ 100GB เป็นอย่างน้อย) โดยเลือก option ที่เขียนว่า Enable EFI (special OSes Only) และในช่อง  Boot Order: ให้เลื่อนเป็น Optical แล้วตามด้วย Hard Disk แล้วกด OK เมื่อเปิดเครื่องจะได้หน้าจอดังภาพ แสดงว่า BIOS ของเรากลายเป็น UEFI เรียบร้อยแล้ว เลือกแผ่น Ubuntu 14.04 ให้ต่อเข้ากับ Device reset เครื่อง เลือก *Try Ubuntu without installing รอจนได้ Windows Manager แล้วดับเบิ้ลคลิก Install Ubuntu 14.04.2 LTS บน Desktop เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Ubuntu ปกติทั่วไปสามารถใช้ Next Technology ได้เลยไปเรื่อยๆ จนถึงหน้า Installation type ให้เลือกหัวข้อ Something else แล้วกด Continue คลิก New Partition Table… คลิก Continue จะได้ดังภาพ คลิกคำว่า free space แล้วคลิกเครื่องหมายบวก (+) สร้าง Partition ขนาด 512MB มีชนิดเป็น EFI boot partition (ควรดูด้วยว่าพาทิชั่นที่ได้เมื่อสร้างเสร็จมีขนาด 512MB จริงๆ โดยใน VM ที่สร้างนี้ตอนสร้างใส่ไป 514MB) และกด + เพื่อสร้าง swap ในตัวอย่างกำหนดแรมไว้ 4GB สามารถสร้าง Swap เท่าแรมได้เลย และ / (root ขนาด 50GB) ตามลำดับโดยจะเหลือพื้นที่เปล่าไว้ด้วย ภาพแสดงพาทิชั่นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว คลิก Install Now และคลิก Continue ที่เหลือหลังจากนี้สามารถกลับสู่โหมด Next Technology ได้เลยจนจบ สิ้นสุดคลิก Restart Now เอาแผ่นออกแล้วกด Enter (ปกติจะเอาออกให้อัตโนมัติ) ลองบูตดูจนได้หน้า Log In เลือก Devices แล้ว Optical Drives แล้วเลือกแผ่น Windows 8.1 คลิกรูปเฟืองที่มุมบนขวา เลือก Shutdown แล้วคลิก Restart เมื่อ VM กำลัง Shutdown ให้สังเกตุดูว่า โลโก้ Ubuntu หายไปให้รีบ ESC ทันทีจะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่ Boot Manager แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่คำว่า EFI DVD/CDROM แล้วจะมีข้อความว่า Press any key to boot from CD or DVD…. เมื่อกดปุ่มใดๆ จะเข้าสู่วินโดวส์เพื่อเริ่มติดตั้ง เมื่อได้หน้าเลือกภาษาให้เลือกดังภาพ แล้วคลิก Next คลิก Install now คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ I accept the license terms คลิก Next เลือก Custom: Install

Read More »

วิดีโอแนะนำการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server โปรแกรมสำหรับการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ (cloning & control PC)

วิดีโอแนะนำการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server โปรแกรมสำหรับการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ (cloning & control PC) โดย  Wiboon Warasittichai on youtube 01 PSU12-sritrang install (ตอนที่ 1 วิธีติดตั้ง) https://youtu.be/GAhZhGCciY0 02 PSU12-sritrang cloning (ตอนที่ 2 วิธีโคลนนิ่งฮาร์ดดิสก์) https://youtu.be/CegdT_LtE4k 03 PSU12-sritrang features (ตอนที่ 3 คุณสมบัติของแต่ละเมนู) https://youtu.be/Dw_wAyMa3vA 04 PSU12-sritrang control (ตอนที่ 4 การควบคุมเครื่องวินโดวส์ send, restart, shutdown, wakeonlan) https://youtu.be/o801BZ9ye0Y 05 PSU12-sritrang prnews (ตอนที่ 5 ประชาสัมพันธ์ข่าวด้วยภาพ เมื่อ boot from network) https://youtu.be/FA2X182oKXo 06 PSU12-sritrang windows master (ตอนที่ 6 เตรียมวินโดวส์ต้นฉบับที่ติดตั้ง cygwin) https://youtu.be/9XkLQQ-niz4 07 PSU12-sritrang windows computer name (ตอนที่ 7 เปลี่ยนชื่อเครื่อง) https://youtu.be/TuW8_Z2U7V4 08 PSU12-sritrang windows pgina freeradius (ตอนที่ 8 ตั้ง login ใช้ RADIUS server) https://youtu.be/58Pw-dbxljw 09 PSU12-sritrang windows partitions (ตอนที่ 9 เตรียมฮาร์ดดิสก์ของวินโดวส์ต้นฉบับ) https://youtu.be/jP4oSqRNvCo 10 PSU12-sritrang linuxmint master (ตอนที่ 10 เตรียมลินุกซ์มินท์ต้นฉบับ) https://youtu.be/zpR0UQbTy_U 11 PSU12-sritrang control linuxmint (ตอนที่ 11 การควบคุมเครื่องลินุกซ์มินท์) https://youtu.be/bVtfc4x-kKU 12 PSU12-sritrang server backup (ตอนที่ 12 สำเนาไฟล์เก็บไว้) https://youtu.be/dA7-pWjy35I และมีเอกสารแนะนำอยู่ที่ http://opensource.psu.ac.th/PSU-Open-server

Read More »

iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน

มาแนะนำกันอีกสักรอบสำหรับ iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน เป็นซอฟต์แวร์ชนิดโอเพนซอร์สที่บางคนก็ได้ลองใช้ในเวอร์ชั่นแรก ๆ ไปบ้างแล้ว ผมลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ผู้สร้างโปรแกรมก็เห็นว่ายังคงอัปเดตปรับปรุงโปรแกรมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ก็เลยสนใจลองทดสอบดูครับ iTALC ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น ผู้สอนสามารถ Lock หน้าจอเครื่องผู้เรียน สามารถส่งภาพหน้าจอเครื่องผู้สอนไปยังหน้าจอเครื่องผู้เรียนได้ สามารถรีโมทคอนโทรลเข้าไปเครื่องผู้เรียนได้ สั่งปิดเครื่องทุกเครื่องได้ หรือ สั่งเปิดเครื่องได้หาก BIOS พร้อมใช้งาน ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://italc.sourceforge.net/ ติดตั้งเสร็จจะได้ไอคอนที่หน้า Desktop ดังรูป และไอคอนที่หน้า Apps ดังรูป โปรแกรม iTALC Management Console เครื่องผู้สอน จะเรียกว่า master computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้สอน ให้เลือก component iTALC service และ iTALC master และให้เลือก Create new access keys เครื่องผู้เรียน จะเรียกว่า client computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้เรียน ให้เลือก component iTALC service แต่ไม่เลือก iTALC master และให้เลือก Import public key วิธีที่จะทำให้เครื่องผู้สอนควบคุมเครื่องผู้เรียนได้ก็คือการ export public key ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ italc_public_key.key.txt ด้วยโปรแกรม iTALC Management Console นั้นเช่นกัน แล้วนำไปใส่เข้าในเครื่องผู้เรียนด้วยโปรแกรมเดียวกัน เมื่อทำขั้นตอนติดตั้งเสร็จแล้ว ก็เป็นการตั้ง classroom ว่าชื่ออะไร และมีคอมพิวเตอร์ใดบ้าง (IP) อยู่ใน classroom นี้ แล้วก็ใช้งานซึ่งการใช้งานง่ายมากเลย ผมเขียนวิธีการสำหรับ Windows 8.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน และวิธีการสำหรับ Linux Mint 17.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/ติดตั้ง_iTALC_บน_Linux_Mint คำถามยอดฮิตคือ แล้วมันใช้ควบคุมได้กี่เครื่อง อันนี้ผมยังไม่ได้ทดสอบครับ ฮ่า ฮ่า รอท่านทดสอบแล้วบอกผมด้วยนะครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดเอามาใช้ควบคุมเครื่องที่อยู่ในความดูแลไม่กี่เครื่องก็ใช้ได้นะ

Read More »