วิธีติดตั้ง Window Manager แบบน้อยที่สุดบน Ubuntu Server

เนื่องจากต้องการสร้าง VirtualBox ขนาดเล็กสุดๆเพื่อใช้เตรียมทำ Workshop แต่จะไม่สะดวกสำหรับผู้อบรมที่ไม่คล่องเรื่องคำสั่งบน Linux มากนัก อยากให้ Copy-Paste ได้บ้าง จึงต้องหาวิธีลง Window Manager ให้พอใช้ได้ เริ่มต้นจากติดตั้ง ubuntu server version ที่ต้องการ จะใช้พื้นที่ประมาณ 890 MB คราวนี้เลือก Window Manager ที่เล็กที่สุดแต่ใช้งานง่าย นั่นคือ LXDE หรือ lubuntu-desktop ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าลงแบบ Default มันจะลากเอาสิ่งที่ไม่ต้องการมามากมาย ทำให้ขนาดที่ใช้ขยายจาก 890 MB ไปถึง 2.5 GB ซึ่งใหญ่เกินไป จึงไปค้นหาวิธีดูพบว่าให้ทำดังนี้ 1. sudo apt-get install –no-install-recommends lubuntu-desktop 2. เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้ reboot เครื่องหนึ่งรอบ ก็จะเข้าสู่ lubuntu แบบน้อยที่สุด ใช้พื้นที่ไปเพียง 1.3 GB 3. ปัญหาต่อมา หากใช้บน VirtualBox ก็จะติดปัญหาเรื่อง Screen Resolution ที่บีบบังคับไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ จึงต้อง ติดตั้ง Guest Additions ลงไป แต่ เนื่องจากเป็นการลงแบบเล็กที่สุด จึงไม่ติดตั้งพวก Build Tools มาด้วย จึงต้องใช้คำสั่งนี้ก่อน sudo apt-get install build-essential 4. จากนั้น จึงติดตั้ง Guest Additions ต่อไป แล้วปรับ Screen Resultion ได้ตามต้องการ

Read More »

ไปงานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12

งานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 จัดที่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี เป็นงานสัมมนาที่ดี วิทยากรที่มาบรรยายก็มีความรู้และทำงานอยู่ในภาคธุรกิจจริง สามารถถ่ายทอดได้เห็นภาพการนำโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ไปใช้งาน เนื้อหาสาระโดยสรุป กิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ – โซนงาน 1. โซนงานสัมมนา Conference/Seminar การสัมมนา/เสวนา ที่มีเรื่องราวโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ ตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป ระดับองค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการ ระดับภาคการศึกษา รวมถึงบริการออนไลน์ที่น่าสนใจ 2. โซนห้องอบรมย่อย Workshop 3. โซนห้องจัดแสดงนิทรรศการ/บูธประชาสัมพันธ์ Exhibition – มอบรางวัล Open Source Award ประจำปี 2014 ซึ่งในปีนี้ พระวิภัทร ปัาวุฑฺโฒ (วิภัทร ศรุติพรหม) ได้รับรางวัลซึ่งเป็น 1 ใน 3 รางวัลที่แจกในปีนี้ (ร่วมแสดงความยินดี) – keynote topic 2 เรื่องคือ 1. Digital Economy based on Open Data and Open Access Approach โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอแนวทางในการสนองตอบนโยบายประเทศในเรื่อง Digital Economy โดยวิทยากรนำเสนอว่า ในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน เต็มไปด้วยข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเช่น facebook เป็นต้น และเป็นแหล่งข้อมูลที่เปิดให้ทุกคนนำสิ่งต่างๆที่โพสต์กันอยู่ใน social network นำไป process เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นสถิติเพื่อใช้ในการทำธุรกิจได้ หรือสามารถรับทราบความเป็นไปในสังคมแบบเรียลไทม์ได้ 2. Open in the cloud from Microsoft Openness (Microsoft) โดยตัวแทนจากไมโครซอฟต์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอ Microsoft Azure ผลิตภัณฑ์ที่รองรับการทำงานแบบ cloud ทำให้ไม่ว่าผู้ใช้จะใช้ open source server หรือ software ก็สามารถรันบน cloud จากการใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้ แบบมีค่าใช้จ่ายที่คิดตามการเลือกใช้งานและเวลาที่ใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าต้องการทรัพยากรเท่าไร ติดตั้ง server ใหม่ได้ในเวลาอันสั้นโดยการเลือก template ที่ต้องการ – หัวข้อสัมมนาอื่นๆอีกมากมาย เช่น 1. OpenStack : คุณดำรงศักดิ์ รีตานนท์ แนะนำให้ความรู้เบื้องต้น 2. Social Media เพื่อการประชาสัมพันธ์ : คุณชีพธรรม ไตรคำวิเศษ เล่าให้ฟังขายไอเดียเรื่องคนไทยอ่อนประชาสัมพันธ์ และนำเสนอ Tweet deck (https://tweetdeck.twitter.com/) การใช้แอพ Tweetdeck สำหรับการใช้ Twitter แบบเหนือเมฆ 3. Open Source และเทคโนโลยีเบื้องหลังระบบขนาดใหญ่ : คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข เล่าเรื่อง facebook และ google ใช้ open source software ในเบื้องหลังการให้บริการ 4. Wireless & Web Application Security with KALI Linux : อ.ขจร สินอภิรมย์สราญ เล่าเรื่องเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Linux ที่ปรับแต่งเพิ่มเติมซอฟต์แวร์ในการเจาะระบบเพื่อใช้ในการเรียนรู้การรักษาความปลอดภัย ด้วยเวลาที่จำกัดจึงเล่าให้ฟังในส่วน Wireless LAN ถึงวิธีการและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเจาะ Symmetric and Asymmetric Encryption 5. Open Source Experience in DTAC : คุณทวิร พาณิชย์สมบัติ เล่าถึงประสบการณ์ในการนำโปรแกรมที่พัฒนาด้วย tools ต่างๆที่เป็น open source เข้าไปใช้งานทดแทนโปรแกรมเดิมที่มีค่าใช้จ่ายของ tools ที่ใช้ในการพัฒนา และเล่าให้ฟังถึงการปรับตัวของโปรแกรมเมอร์ในองค์กรที่ได้นำโปรแกรมใหม่นี้เข้าไปให้ใช้ ซึ่งต้องปรับตัวเองในการค้นคว้าหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ตแทนการรอคอย vender ให้ความช่วยเหลือ 6. Open

Read More »

เทคนิคการใช้ vi

1. เปิด 2 ไฟล์พร้อมกัน แยกแบบแนวตั้ง vi test.php  กด Esc : vsp function.inc.php จะได้ผลอย่างนี้ คำสั่งที่น่ารู้ Ctrl+w w สลับระหว่างหน้าจอ Ctrl+w q ปิดไฟล์ Ctrl+w v เปิดไฟล์เดียวกันที่ยาวมาก ต้องการด้านนึงดูหัวไฟล์ อีกด้านนึงดูท้ายไฟล์ 2. หากต้องการเลื่อน Code หลายๆบรรทัด ไปทางขวามือ 5 Space Ctrl + V แล้ว เลือกบรรทัดที่ต้องการ จากนั้น Shift + I แล้ว เคาะ Space Bar 5 ครั้ง จากนั้น แล้วกดปุ่ม Esc

Read More »

สร้าง DLNA Media Server ผ่าน Ubuntu ด้วยโปรแกรม MiniDLNA

อุปกรณ์ที่บ้านรองรับ DLNA (มือถือ, PC, Notebook, TV ฯลฯ) มี Notebook เก่า ๆ อยู่เครื่องไม่รู้เอามาทำอะไรดี จะทำ Stream Media Server ใช้ง่าย ๆ ได้ยังไง อยากรู้ DLNA คืออะไรเชิญอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.deviceacademy.com/forum/th/node/858 เกี่ยวกับ Project MiniDLNA http://sourceforge.net/projects/minidlna/ https://help.ubuntu.com/community/MiniDLNA ขั้นตอนการติดตั้ง DLNA Media Server ผ่าน Ubuntu ด้วยโปรแกรม MiniDLNA 1. วิธีการขั้นแรกก็ติดตั้ง Ubuntu 14.04 LTS จะ Desktop หรือ Server แล้วแต่ศรัทธา 2. ติดตั้ง MiniDLNA sudo apt-get install minidlna 3. สร้าง Folder สำหรับทำ Media Server ดังนี้ mkdir /home/[user]/music mkdir /home/[user]/picture mkdir /home/[user]/video sudo mkdir /var/cache/minidlna 4. แก้ไขไฟล์ดังนี้ sudo vim /etc/minidlna.conf 4.1) ตั้งค่าในส่วนของ folder ที่จะให้ DLNA Server ให้บริการโดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ A = Audio, V= Video, P = Picture # If you want to restrict a media_dir to a specific content type, you can # prepend the directory name with a letter representing the type (A, P or V), # followed by a comma, as so: # * “A” for audio (eg. media_dir=A,/var/lib/minidlna/music) # * “P” for pictures (eg. media_dir=P,/var/lib/minidlna/pictures) # * “V” for video (eg. media_dir=V,/var/lib/minidlna/videos) #media_dir=/var/lib/minidlna media_dir=A,/home/[user]/music media_dir=P,/home/[user]/picture media_dir=V,/home/[user]/video 4.2) ตั้งในส่วนของ network_interface โดยอุปกรณ์ที่จะใช้งานได้ต้องอยู่วงเดียวกับ DLNA Server # Network interface(s) to bind to (e.g. eth0), comma delimited. # This option can be specified more than once. network_interface=eth0 4.3) ตั้งค่าชื่อที่จะปรากฎที่อุปกรณ์เมื่อจะเข้าใช้งาน DLNA Server # Name that the DLNA server presents to clients. # Defaults to “hostname: username”. friendly_name=DLNA Media Server 4.4) ทำการตั้งค่า Folder ที่ไว้เก็บ

Read More »

ติดตั้ง Pykota บน Ubuntu Server 14.04.1 LTS

1. ติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นก่อน sudo apt-get install cups subversion postgresql postgresql-client postgresql-common libX11-dev libxt-dev libxext-dev python-dev python-jaxml python-reportlab python-reportlab-accel python-pygresql python-osd python-egenix-mxdatetime python-imaging python-pysnmp4 python-chardet python-pam python-pysqlite2 python-mysqldb python-ldap apparmor-utils 2. แก้ config ของ cups #sudo vi /etc/cups/cupsd.conf ที่ <Location /> เพิ่ม  allow all ที่ <Location /admin> เพิ่ม  allow ip_admin ที่ <Policy default> comment JobPrivateValues default เพิ่ม JobPrivateValues job-originating-host-name ที่ <Policy authenticated> comment JobPrivateValues default เพิ่ม JobPrivateValues job-originating-host-name 3. แก้ config ของ PostgreSQL #sudo pico /etc/postgresql/9.3/main/pg_hba.conf เติมข้อความนี้ต่อไปที่ท้ายสุดของแฟ้ม host all all 10.0.5.3/24 trust ***ให้เปลี่ยนเลข ip จาก 10.0.5.3 เป็นเลข ip ของ server ที่กำลังใช้ 4. ติดตั้งเครื่องพิมพ์ เปิด Browser ไปที่ url http://ip_server:631 คลิก tab Administration คลิก Add Printer เลือก Printer คลิก Continue ใส่รายละเอียด ของเครื่องพิมพ์ ติ๊ก เลือก Share This Printe คลิก Continue เลือก Driver ของเครื่องพิมพ์ คลิก Add Printer คลิก  Set Default Option ทดสอบการพิมพ์โดยเลือก Print Test Page 5. ติดตั้งเครื่องพิมพ์บนเครื่อง Client และทดสอบการพิมพ์ 6. ติดตั้งโปรแกรม Pykota #cd /usr/share #svn co http://svn.pykota.com/pykota/trunk pykota #cd pykota #python checkdeps.py #python setup.py install 7. สร้างผู้ใช้ pykota ด้วยคำสั่ง #sudo adduser –system –group –home /etc/pykota –gecos Pykota pykota #sudo adduser lp pykota 8. จัดการ postgresql ต่อดังนี้ #sudo su – postgres -c “psql -f /usr/share/pykota/initscripts/postgresql/pykota-postgresql.sql template1” 9. ทำให้ cups รู้จัก Pykota #cd /usr/lib/cups/backend #sudo ln -sf /usr/share/pykota/bin/cupspykota #sudo chmod -Rf 755 /usr/share/pykota/bin/* #sudo chmod -Rf 755 /usr/lib/cups/backend*

Read More »