วิธีใช้งาน PSU Email ด้วยโปรแกรม Mozilla Thunderbird

แสดงขั้นตอนการใช้ PSU Email ด้วยโปรแกรม Mozilla Thunderbird ทีละขั้นตอนตั้งแต่การดาวน์โหลดโปรแกรมรุ่นล่าสุดมาใช้ การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ การตั้งค่าการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ และการตั้งค่าภาษาไทยที่ถูกต้อง

Read More »

Dual Boot Ubuntu 14.04 & Windows 8.1 in UEFI

เหตุการณ์สมมติจึงใช้ VirtualBox ตั้งค่า VirtualBox ดังภาพ (ขอข้ามวิธีการสร้างเครื่องใหม่บน VirtualBox ไปเลยนะครับ คิดซะว่าชำนาญแล้ว โดยขนาด HDD ที่ต้องการ 100GB เป็นอย่างน้อย) โดยเลือก option ที่เขียนว่า Enable EFI (special OSes Only) และในช่อง  Boot Order: ให้เลื่อนเป็น Optical แล้วตามด้วย Hard Disk แล้วกด OK เมื่อเปิดเครื่องจะได้หน้าจอดังภาพ แสดงว่า BIOS ของเรากลายเป็น UEFI เรียบร้อยแล้ว เลือกแผ่น Ubuntu 14.04 ให้ต่อเข้ากับ Device reset เครื่อง เลือก *Try Ubuntu without installing รอจนได้ Windows Manager แล้วดับเบิ้ลคลิก Install Ubuntu 14.04.2 LTS บน Desktop เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Ubuntu ปกติทั่วไปสามารถใช้ Next Technology ได้เลยไปเรื่อยๆ จนถึงหน้า Installation type ให้เลือกหัวข้อ Something else แล้วกด Continue คลิก New Partition Table… คลิก Continue จะได้ดังภาพ คลิกคำว่า free space แล้วคลิกเครื่องหมายบวก (+) สร้าง Partition ขนาด 512MB มีชนิดเป็น EFI boot partition (ควรดูด้วยว่าพาทิชั่นที่ได้เมื่อสร้างเสร็จมีขนาด 512MB จริงๆ โดยใน VM ที่สร้างนี้ตอนสร้างใส่ไป 514MB) และกด + เพื่อสร้าง swap ในตัวอย่างกำหนดแรมไว้ 4GB สามารถสร้าง Swap เท่าแรมได้เลย และ / (root ขนาด 50GB) ตามลำดับโดยจะเหลือพื้นที่เปล่าไว้ด้วย ภาพแสดงพาทิชั่นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว คลิก Install Now และคลิก Continue ที่เหลือหลังจากนี้สามารถกลับสู่โหมด Next Technology ได้เลยจนจบ สิ้นสุดคลิก Restart Now เอาแผ่นออกแล้วกด Enter (ปกติจะเอาออกให้อัตโนมัติ) ลองบูตดูจนได้หน้า Log In เลือก Devices แล้ว Optical Drives แล้วเลือกแผ่น Windows 8.1 คลิกรูปเฟืองที่มุมบนขวา เลือก Shutdown แล้วคลิก Restart เมื่อ VM กำลัง Shutdown ให้สังเกตุดูว่า โลโก้ Ubuntu หายไปให้รีบ ESC ทันทีจะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่ Boot Manager แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่คำว่า EFI DVD/CDROM แล้วจะมีข้อความว่า Press any key to boot from CD or DVD…. เมื่อกดปุ่มใดๆ จะเข้าสู่วินโดวส์เพื่อเริ่มติดตั้ง เมื่อได้หน้าเลือกภาษาให้เลือกดังภาพ แล้วคลิก Next คลิก Install now คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ I accept the license terms คลิก Next เลือก Custom: Install

Read More »

How to reset root password CentOS 7.1

เข้า Single user mode โดย reboot แล้วเมื่อได้เมนูของ Grub ให้เลื่อนแถบสีไปยัง Kernel ที่ต้องการบูต (โดยปกติจะถูกเลือกไว้อยู่แล้ว) ให้กด e จะได้หน้าจอดังนี้ สิ่งที่เราสนใจคือบรรทัดที่ขึ้นต้นว่า linux ซึ่งในบทความนี้คือ linux16 สำหรับ CentOS 7/7.1 x86_64 บนเมนบอร์ดที่ใช้ระบบ BIOS (อาจจะพบกับ linuxefi สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ระบบ UEFI) เมื่อหาเจอแล้วเลื่อน cursor ไปที่ ข้อความ ro เปลี่ยน ro เป็น rw init=/sysroot/bin/sh กดปุ่ม ctrl และปุ่ม x พร้อมกันเพื่อบูตระบบจะได้ดังภาพ พิมพ์คำสั่ง chroot  /sysroot พิมพ์ passwd เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับ root สร้างแฟ้ม autorelabel เพื่อปรับปรุงกฏของ selinux (ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งาน selinux ก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท) โดยคำสั่ง touch /.autorelabel พิมพ์ exit เพื่อยกเลิก chroot พิมพ์ reboot ระบบจะรีบูตสองรอบ อัตโนมัติเพื่อปรับปรุง selinux และไฟล์ autorelabel จะถูกลบอัตโนมัติ ล็อคอินเข้าระบบด้วยผู้ใช้ root และ password ที่เปลี่ยนไป ลบแฟ้ม /.bash_history ทิ้งด้วยคำสั่ง rm /.bash_history (ถูกสร้างตอนออกจากระบบ chroot) จบขอให้สนุกครับ อ้างอิงเพิ่มเติม https://access.redhat.com/documentation/en-US/Red_Hat_Enterprise_Linux/7/html/System_Administrators_Guide/sec-Terminal_Menu_Editing_During_Boot.html#sec-Recovering_Root_Password

Read More »

How to restore a system after accidentally removing all kernels?

เหตุการณ์สมมติ… ทำไงดี??? เผลอรันคำสั่ง sudo apt-get remove –purge linux-image-3.19.0-* ได้ผลดังรูป (ดันกด y แล้ว enter อีกนะ) งานงอก …ลอง ls /boot เผื่อว่ายังมี Kernel เหลืออยู่บ้าง คุณพระ ไปหมดแล้ว… ตกใจ!!! reboot สิ… (กรั่ก ๆ) (หากไม่ตกใจจน reboot ไปซะก่อนสามารถพิมพ์คำสั่ง sudo apt-get install linux-image-generic ได้เลย) เงิบ!!! เหลือแต่ Memory Test…. แก้ไขโดยหาแผ่น Ubuntu Desktop ควรเป็นรุ่นเดียวกับรุ่นที่ติดตั้ง 12.04, 14.04 เป็นต้น (แต่แนะนำ 14.04 ถึงแม้จะกู้เครื่องที่เป็น 12.04) เมื่อบูตให้เลือก Try Ubuntu รอจน Desktop ขึ้นมาเรียบร้อย เปิด Terminal ขึ้นมา (กด ctrl+alt+t) พิมพ์คำสั่ง sudo fdisk /dev/sda -l (กรณีนี้รู้แน่ๆ ว่าติดตั้งบน /dev/sda) จากรูปมีสอง patition ที่น่าจะติดตั้ง Ubuntu เอาไว้ คือ /dev/sda1 และ /dev/sda5 ถ้าใช้แผ่น 12.04 จะไม่สามารถ mount ส่วนของ /dev/sda5 ได้เพราะมองไม่เห็น patition ที่เป็น LVM ตั้งแต่แรก แต่แผ่น 14.04 มองเห็น เมื่อคลิกที่ 103 GB Volume สามารถมองเห็นไฟล์ทั้งหมด ลองเปิดไฟล์ใน etc/fstab ดูไฟล์ข้างในว่า partition อยู่อย่างไร พบว่า /dev/sda1 เป็น boot และ /dev/mapper/ubuntu–vg-root เป็น / และ /dev/mapper/ubuntu–vg-swap_1 เป็น swap เราสนใจแค่ boot และ / สั่ง mount patition ตามลำดับต่อไปนี้ sudo mount /dev/mapper/ubuntu–vg-root /mnt sudo mount /dev/sda1 /mnt/boot sudo mount –bind /dev /mnt/dev sudo mount –bind /sys /mnt/sys sudo mount –bind /proc /mnt/proc สั่งคำ chroot ไปยัง /mnt สังเกตว่าหลังจากสั่งคำสั่ง chroot แล้ว prompt จะเปลี่ยนเป็น root@ubuntu:/# sudo chroot /mnt ให้ตรวจสอบแฟ้ม /etc/apt/sources.list ว่าใช้ repository ไหนด้วย หากไม่ได้ใช้ th.archive.ubuntu.com หรือ mirror.psu.ac.th หรือ mirrors.psu.ac.th หรือ mirror1.ku.ac.th ให้เปลี่ยนเป็น th.archive.ubuntu.com จากนั้นทดสอบ nslookup th.archive.ubuntu.com สำหรับคนที่ resolve ได้ (เรายินดีด้วย) ข้ามข้อ ๑๐ ไปได้เลย แก้ไขแฟ้ม /etc/hosts สำหรับเครื่องที่อยู่นอกมหาวิทยาลัยเพิ่มข้อความว่า 192.100.77.186 th.archive.ubuntu.com สำหรับเครื่องที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มข้อความว่า 192.168.101.34 th.archive.ubuntu.com  สั่ง apt  install linux-image-generic รอจนเสร็จได้ข้อความสุดท้ายประมาณว่า  Setting up linux-image-generic

Read More »

iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน

มาแนะนำกันอีกสักรอบสำหรับ iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน เป็นซอฟต์แวร์ชนิดโอเพนซอร์สที่บางคนก็ได้ลองใช้ในเวอร์ชั่นแรก ๆ ไปบ้างแล้ว ผมลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ผู้สร้างโปรแกรมก็เห็นว่ายังคงอัปเดตปรับปรุงโปรแกรมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ก็เลยสนใจลองทดสอบดูครับ iTALC ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น ผู้สอนสามารถ Lock หน้าจอเครื่องผู้เรียน สามารถส่งภาพหน้าจอเครื่องผู้สอนไปยังหน้าจอเครื่องผู้เรียนได้ สามารถรีโมทคอนโทรลเข้าไปเครื่องผู้เรียนได้ สั่งปิดเครื่องทุกเครื่องได้ หรือ สั่งเปิดเครื่องได้หาก BIOS พร้อมใช้งาน ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://italc.sourceforge.net/ ติดตั้งเสร็จจะได้ไอคอนที่หน้า Desktop ดังรูป และไอคอนที่หน้า Apps ดังรูป โปรแกรม iTALC Management Console เครื่องผู้สอน จะเรียกว่า master computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้สอน ให้เลือก component iTALC service และ iTALC master และให้เลือก Create new access keys เครื่องผู้เรียน จะเรียกว่า client computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้เรียน ให้เลือก component iTALC service แต่ไม่เลือก iTALC master และให้เลือก Import public key วิธีที่จะทำให้เครื่องผู้สอนควบคุมเครื่องผู้เรียนได้ก็คือการ export public key ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ italc_public_key.key.txt ด้วยโปรแกรม iTALC Management Console นั้นเช่นกัน แล้วนำไปใส่เข้าในเครื่องผู้เรียนด้วยโปรแกรมเดียวกัน เมื่อทำขั้นตอนติดตั้งเสร็จแล้ว ก็เป็นการตั้ง classroom ว่าชื่ออะไร และมีคอมพิวเตอร์ใดบ้าง (IP) อยู่ใน classroom นี้ แล้วก็ใช้งานซึ่งการใช้งานง่ายมากเลย ผมเขียนวิธีการสำหรับ Windows 8.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน และวิธีการสำหรับ Linux Mint 17.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/ติดตั้ง_iTALC_บน_Linux_Mint คำถามยอดฮิตคือ แล้วมันใช้ควบคุมได้กี่เครื่อง อันนี้ผมยังไม่ได้ทดสอบครับ ฮ่า ฮ่า รอท่านทดสอบแล้วบอกผมด้วยนะครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดเอามาใช้ควบคุมเครื่องที่อยู่ในความดูแลไม่กี่เครื่องก็ใช้ได้นะ

Read More »