Information graphics การใช้ภาพหรือแผ่นภูมิแทนข้อมูลที่จะนำเสนอ

Information graphics หรือ Infographics เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือความรู้ต่างๆโดยการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก ซึ่งจะทำให้ผู้รับสื่อเข้าใจและมีความชัดเจนมากขึ้น    ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ ภาพกราฟิกต่างๆจะดึงดูดความสนใจและความจำได้ดีกว่าข้อความยาวๆหรือต้องอ่านข้อมูล ที่เห็นได้จัดเจนคือ การอ่านข้อความบอกเส้นทางกันการอ่านแผนที่จะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และแน่นอนยุคสมัยของโลก Social อย่าง Facebook Twitter และInstagram ถ้าใครโพสข้อความยาวๆเราก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไรแต่เมื่อโพสภาพสวยๆเมื่อไรจะดึงความสนใจเราได้เยอะมาก มาดูการใช้งาน Infographics เพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ข้อมูลสำคัญทีต้องการให้เป็นจุดสนใจเพียงข้อมูลเดียว ควรจะใช้ฟอนต์ที่ใหญ่หรือแปลกตากว่าฟอนต์ทั่วไปหรือมีการเน้นด้วยพื้นหลังที่แตกต่าง ร่วมถึงสามารถใช้ Pictographs หรือ Icon Charts แสดงร้อยละของสิ่งที่สนใจ ตัวอย่าง ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบ                   เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่สนใจ โดยมากจะใช้ Bar Chart หรือ Column Chart ตัวอย่าง ที่มาของภาพ ข้อมูลแบบต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน   โดยมากจะแสดงข้อมูลนี้ด้วย Line Chart ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ดูความเป็นไปของข้อมูลที่สนใจ เช่น ความถี่ของผลการประเมิน TOR โดยแยกตามช่วงอายุการทำงานของบุคลากร หรือความสูงของนักเรียนแยกตามช่วงอายุและแยกระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นต้น ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรหรือช่วงเวลา (Trends over Time) สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Column Chart และเน้นส่วนสนใจ เช่นแสดงร้อยละ หรือใช้รูปแทนข้อมูลช่วงเวลาต่างๆ ที่มาของภาพ ข้อมูลการกระจายของสิ่งที่สนใจ จะแสดงด้วย bubble chart เช่นความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอดกับความสามารถในการกลั่นหายใจของคนแล้วเอาข้อมูลความสัมพันธ์ของแต่ละคนไป วาดกราฟเพื่อดูความสัมพันธ์ ที่มาของภาพ

Read More »

Case Study: ภัยจากสำเนาบัตรประชาชน Social Network ไปจนถึงการตั้งรหัสผ่านของโลก IT

ก่อนอื่นขอออกตัวว่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาความลับของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนาบัตรประชาชนของทุกท่าน อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องได้ อย่างที่เกิดขึ้นกับเพื่อนผมครับ เรื่องมีอยู่ว่า … นางสาว A อยู่มาวันหนึ่ง ก็ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ ว่ามีคนแจ้งความว่า ทำการส่ง SMS ไปด่าว่า นางสาว B จึงแจ้งความหมิ่นประมาท (A กับ B ไม่รู้จักกันเลย) ใช้ Facebook ที่มีชื่อจริง นามสกุลจริงของนางสาว A เข้าไปป่วน Facebook นางสาว B สร้างความเสื่อมเสียต่อการงานของนางสาว B นางสาว A จึงไปตามหมายเรียก พร้อมแสดงความบริสุทธิ์ใจ จากนั้น ได้เริ่มทำการสืบสวน พบว่า ที่นางสาว B แจ้งความนางสาว A เพราะว่า เอาเลขหมายโทรศัพท์ที่ส่ง SMS มานั้นไปตรวจสอบ พบว่าเป็นของ Operator รายหนึ่ง จึงให้ทราบเลขที่บัตรประชาชน และตำรวจเอาตรวจสอบในทะเบียนราษฏร์ พบเป็นชื่อ นามสกุล ของนางสาว A ทาง Operator ที่ให้บริการ SMS ที่อ้างว่ามาจากนางสาว A แจ้งให้ทราบว่า ได้มีการนำ “หมายเลขบัตรประชาชน” ของนางสาว A ไปเปิดบริการ “SIM เติมเงิน”  ผ่านบริการที่เรียกว่า “2 แชะ” โดยทางผู้รับลงทะเบียน ไม่ได้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เพียงแต่ระบุว่า เป็น “เพศชาย” และเป็นการลงทะเบียนจากคนละจังหวัดกับนางสาว A ด้วย (แล้วทำไมยังลงทะเบียนได้ งงจัง) Facebook ของ นางสาว A จริงๆนั้น แทบไม่ได้ใช้งาน มีไว้แค่ให้คนรู้จักติดต่อทักเข้ามาเล็กๆน้อยๆ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบประวัติการเข้าไป Comment ใน Facebook ของนางสาว B แต่ประการใด ปัญหาอยู่ที่ว่า จากการสอบถาม พบว่า นางสาว A ตั้งรหัสผ่านของ Facebook แบบง่ายมาก โดยใช้ “ชื่อภาษาอังกฤษ และวันเดือนปีเกิด” เป็นรหัสผ่าน เช่น somying01122520 อะไรทำนองนั้น ตรงนี้ไม่แน่ใจว่า ถ้าไปรู้ email address ของนางสาว A ที่ใช้เปิด Facebook ก็อาจจะนำไปใช้ทดสอบ Login ได้ก็เป็นไปได้ หรือเป็นไปได้ว่า ผู้ร้ายที่นำสำเนาบัตรประชาชนของนางสาว A ไปเปิดเบอร์ คงจะค้นหาใน Facebook ด้วยชื่อนามสกุลจริง ตามในบัตร แล้วพบ Profile แล้วเห็นข้อมูลที่เปิด Public จึง “อาจจะ” สร้าง Facebook อีกอันเลียนแบบขึ้นมา โดยใช้ชื่อและนามสกุลของนางสาว A แล้วเข้าไปใน Facebook ของ B เพื่อป่วนก็เป็นไปได้ และเป็นไปได้ว่า เคยเซ็นต์สำเนาบัตรประชาชน ไม่ได้ระบุ “จุดประสงค์” การใช้งาน กล่าวคือ เซ็นแค่ สำเนาถูกต้อง และเซ็นต์ชื่อ แล้วเกิดหลุดไป ทำให้เกิดการสวมสิทธิ์จดทะเบียน SIM ดังกล่าวได้ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เซ็นสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง อย่าลืมเขียนทับกำกับไปเลยว่า ใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร จะได้ไม่สามารถนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้ เลขที่บัตรประชาชนมีความสำคัญ เป็นการระบุตัวตนได้จริง ควรเก็บเป็นความลับ หากใครรู้ และระบบจดทะเบียนที่อาจจะไม่รัดกุมพอ อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ดังที่กล่าวมาได้ อย่าตั้งรหัสผ่านที่มีข้อมูลที่อยู่ในบัตรประชาชนเด็ดขาด อย่างกรณีดังกล่าว ใช้ชื่อ และ วันเดือนปีเกิด เสี่ยงมาก ข้อมูลส่วนตัวใน Social Media ควรปิดเป็นความลับ เปิดเผยเฉพาะ Friends หรือไม่ก็ไม่ควรเปิดเผยเลยยิ่งดี หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

ถ่ายไฟฉาย สีดำ สีเขียว อัลคาไลน์ มันต่างกันตรงไหน ???

รู้หมือไร่ ? จะไปซื้อถ่านไฟฉาย เอาว่าขนาด AA แล้วกัน เอ้อ มันมีสีดำ สีเขียว แล้วก็มีแบบอัลคาไลน์ด้วย ให้ไฟ 1.5V เหมือนกัน ขนาดก็เท่าๆกัน ไหงราคาต่างกัน มันต่างกันตรงไหน ??? สีดำ 4 ก้อน ราคา 32 บาท สีเขียว 4 ก้อน ราคา 24 บาท อัลคาไลน์ 4 ก้อน 75 ราคา   ถ้าลองอ่านดีๆ จะพบว่า สีเขียว จะเขียนว่า “Leak Proof” สีดำ จะเขียนว่า “Extra Long Life” อัลคาไลน์ มันจะเขียนว่า “Looooong Lasting + Anti-Leak” ถ้าอ่านฉลากสินค้า ก็จะเห็นตัวเลขอีกนิด สีเขียว = R6ST/4SL สีดำ = R6NT/4SL อัลคาไลน์ = LR6T/4B จากการไปตรวจสอบ จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Battery_nomenclature พบว่า จะเห็นว่า ขนาด AA จะเป็น R6 ทั้งสีดำและสีเขียว แต่ อัลคาไลน์จะเป็น LR6 ตรงนี้อธิบายได้ว่า ทั้งสีเขียวและสีดำ ใช้ Electrolyte เป็นแบบ Ammonium Chloride, Zinc Chloride ส่วนอัลคาไลน์ ใช้เป็นแบบ Alkali metal hydroxide แต่ทั้งหมดมีขนาดเดียวกันคือ R6 ครับ ที่จะต่างกันก็ตรง ST กับ NT และ T อันนี้ ยังไม่แน่ใจ TwT ส่วน /4 นั้น หมายถึง Pack ละ 4 ก้อน ไม่มีอะไร จากเว็บไซต์ของ Panasonic http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/manganese-battery/r6st.html บอกว่า สีดำและเขียวนั้นเป็นแบบ “Manganese Battery” ให้คำแนะนำว่า “Ideal for devices that require a small and continuous supply of power” น่าจะแปลว่า “เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟน้อยแต่ต้องการความต่อเนื่อง” ส่วน อัลคาไลน์ จากเว็บไซต์ http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/alkaline-battery/lr6t_4b.html บอกว่า “Can be used from low-drain devices to high energy consumtion” สรุป สีเขียว: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง คงจะป้องกันการ Leak คือลดการเสื่อมได้ สีดำ: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง แต่คงจะเก็บประจุได้มากกว่า อัลคาไลน์: ถ้าให้คุ้ม ซื้อใช้กับอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟมากๆ เช่น กล้องดิจิตอล เป็นต้น ผู้รู้ท่านอื่นๆโปรดชี้แนะด้วยครับ 😉  

Read More »

อย่าตกเป็นเหยื่อของ Clickbait (เว็บไซต์หลอกให้คลิก)

เดี๋ยวนี้จะเห็นบน Facebook มีการแชร์เนื้อหาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วโปรยหัวข้อข่าวให้แบบว่า น่าคลิกมาก อยากอ่านเนื้อหาต่อ จนทำให้คนต้องคลิกไปอ่าน พวกนี้เรียกว่า “Clickbait” — bait แปลว่า เหยื่อ และบางเว็บ ก็ช่างหน้าไม่อาย เอาเนื้อหาเก่ามานำเสนอ เพื่อให้คนคลิกไม่พอ ยังแอบอ้างว่า ผลงานการหาข่าวเป็นของตัวเองอีกต่างหาก เช่น http://www.bigza.com/news-175102   เนื้อหาบอกว่าเป็นการเขียนว่า ข่าววันที่ 9 ก.ค 58 แถม “ผู้สื่อข่าว” BigZa อีกต่างหาก (แล้วมาเลี่ยงภายหลังว่ารับข่าวจาก Social Media) โดยบอกว่า คนนี้เป็นต้นโพสต์ … ต้องการเลือด ?? ไม่ระบุว่า ที่ไหน ให้ใคร เมื่อไหร่ (บางแหล่งให้เบอร์โทรญาติ ซึ่งบางทีเขาได้รับเลือด ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว ยิ่งโทรไป ทำให้เขาเดือดร้อนรำคาญอีก)     พวกนี้ มันทำอย่างนี้ ทำไม ???? ตอบ เพราะทุกครั้งที่เรา “คลิก” อ่าน มันจะได้อันนี้ … โฆษณา …   เอาหล่ะ แล้วจะตรวจสอบอย่างไร ว่า เป็นข่าวจริงหรือไม่ บน Google Chrome สมัยนี้ สามารถคลิกขวาที่ภาพ แล้ว เลือก “Search Google for this image”     ผลที่ได้คือ ภาพข่าว และ รายละเอียดว่า เป็นข่าวที่เผยแพร่มาแล้ว เมื่อไหร่ เมื่อลองคลิกเข้าไปในสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ ก็พบว่า ข่าวดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ 25 เมษายน 58         เรียนมาเพื่อพิจารณา …

Read More »

ชีวิตสะดวกและปลอดภัยด้วยการ Sign In บน Google Chrome

เคยเจอปัญหาเหล่านี้เมื่อต้องไปใช้งานเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องตนเองหรือไม่ ? จะเข้าเว็บไซต์ที่เคย Bookmark เอาไว้ในเครื่องตนเอง ก็ทำไม่ได้ ทำไงดีรหัสผ่านมากมาย เคยให้เว็บจำไว้ให้ แล้วตอนนี้จะใช้งานยังไงหล่ะ สภาพแวดล้อมไม่คุ้นชินเมื่อไปใช้เครื่องอื่น ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อใช้ Google Chrome และ ทำการ Sign In เอาไว้ คำเตือน: ผู้ที่จะใช้วิธีการนี้ ควรทำระบบ 2-Step Verification ไว้ก่อน เพื่อป้องกันรหัสผ่านรั่วไหล และป้องกัน กรณีมี Keyboard Logger ฝังตัวเพื่อดักการพิมพ์รหัสผ่านจาก Keyboard ซึ่งแม้จะมีผู้ร้ายดักรหัสผ่านไปได้ ก็จะติดขั้นตอนการยืนยันตัวตนอีกชั้นของ 2-Step Verification กรณีผู้ใช้ Google Apps ขององค์กร (ทั้ง For Education และ For Business) ระบบจะทำการสร้าง Profile แยกให้ แต่ถ้าเป็น Google Account ของ Gmail นั้น จะต้องทำการ Create Profile เอง แล้วจึง Sign In เข้าไป มิฉะนั้นข้อมูลของเราจะไปปะปนกับของผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง วิธีการนี้ ผู้ใช้ต้อง “Remove This Person” ทุกครั้งเมื่อจบการใช้งาน (จะอธิบายต่อไป) วิธีการใช้งาน เปิด Google Chrome ขึ้นมา ด้านขวามือบน ใกล้ๆ Tools Box คลิกรูป “คน” ดังภาพ แล้วคลิก Sign in to Chrome ใส่ Google Account (Gmail Account)  หรือ Google Apps Account (Google Apps For Education/Business) และรหัสผ่าน จากนั้นคลิก Sign In สำหรับท่านที่ทำ 2-Step Verification จะพบหน้าต่างให้ใส่ Code ก็ให้ดำเนินการตามปรกติไป สำหรับบัญชี Google Apps ขององค์กร จะแสดงหน้าต่างให้เลือกว่า จะสร้าง Profile ใหม่หรือไม่ แนะนำให้คลิกปุ่ม Create a new profile ต่อไป คลิกปุ่ม “Ok, got it” ใช้เวลาไม่นาน ระบบจะ Sync ข้อมูล Apps, Autofill, Bookmark, Extensions, History, Password, Settings, Themes, Opentabs มาให้ (สามารถเลือกได้ว่าจะ Sync อะไรมาบ้างได้) และทำการเข้ารหัส รหัสผ่านไว้ด้วย (เลือกได้ว่าจะเข้ารหัสด้วย Google Credential หรือจะสร้าง Paraphrase แยกต่างหาก — ในที่นี้ เลือกเป็น Google Credential) คราวนี้ ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนนั่งอยู่ที่เครื่องตนเองอีกทั้งวิธีการนี้ จะสามารถใช้งานได้ทั้งบน Smartphone และ Tablet ได้ด้วย ทำให้เมื่อ Save Bookmark เอาไว้บนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถไปเปิดดูได้บน Tablet ได้ทันที เมื่อเลิกใช้งาน ให้ทำตามข้อ 2. แล้วคลิก Switch User แทน จากนั้น ที่รูป Profile ด้านมุมขวา คลิก Remove this person คลิก Remove this person อีกครั้งเพื่อยืนยัน เท่านี้ ข้อมูลก็จะปลอดภัยแล้ว 😉 หากต้องการปรับแต่งเรื่อง สิ่งที่ต้องการจะ Sync

Read More »