Data Visualization นำเสนอข้อมูลเป็นรูป/กราฟแบบไหนดี ? กับข้อมูลที่มีอยู่

การสือสารที่มีอรรถรสสำหรับการมอง/อ่าน ที่ข้อมูลครบถ้วนโดยมีมิติ มุมมองและการเปรียบเทียบ จบในหน้าเดียวหรือรูปเดียว คือนิยาม Data Visualization ของผมครับ เราก็มาดูกันครับ เอาข้อมูลแบบไหนมาชนกับ Data Visualization แบบไหนถึงจะตรงประเด่นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ต้องการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparison) กลุ่มนี้ก็จะมี Bar Chart Line Chart Bubble Chart Grouped Bar Table Pivot Table Bar Chart และ Grouped Bar ใช้เปรียบเทียบข้อมูลตามเงื่อนไขที่สนใจ ใช้เปรียบเทียบมิติจำนวนข้อมูลที่สนใจกับช่วงที่สนใจ เช่น เปรียบเทียบเป้าหมายที่ตั้งไว้กับข้อมูลที่ทำได้จริงในแต่ละเดือน, จำนวนนักศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา เป็นต้น Line Chart ใช้เปรียบเทียบเพื่อดูแนวโน้มของข้อมูล ใช้เปรียบเทียบมิติของข้อมูล ในเชิงต้องการดูเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ดูแนวโน้ม (Trends) โดยอาจจะเทียบกับมิติของเวลา (Time Series) และยังนำไปใช้ร่วมกับ machine learning เพื่อพยากรณ์ข้อมูลในอนาคตได้ด้วย เช่น ข้อมูลการถอนรายวิชาในแต่ละเดือนเปรีบเทียบ 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนใน มอ. แยกตามโครงการ 5 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น ตัวอย่างเป็นเปอร์เซ็นต์นักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง Bubble Chart ใช้แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันแบบ 3 มิติ ใช้เปรียบเทียบแบบ 3 มิติข้อมูล เช่น แกน X แสดง จำนวนอาจารย์แกน Y แสดง จำนวนเงินค่าลงทะเบียนขนาดและจำนวนแต่ละฟอง แทน คณะและจำนวนนักศึกษาถ้าเปรียบเทียบแบบนี้ก็จะเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้ง 3 ข้อมูลและสามารถตั้งเป้าหมาย หาค่ามากที่สุด น้อยที่สุดที่สนใจได้ Table ใช้เปรียบเทียบข้อมูลแบบแนวตั้ง เป็นการเปรียบเทียบพื้นฐานที่สุดเลย เป็นการเปรียบเทียบชุดข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน เช่น Pivot Table ใช้เปรียบเทียบข้อมูลแนวนอน เหมาะสำหรับการเปลี่ยนเทียบข้อมูลเพื่อหาความแตกต่างตามแนวนอน มักจะใช้กับเวลา เดือน ปี เป็นแนวนอนและรายการข้อมูลที่สนใจเป็นแนวตั้งที่สามารถ Filter ได้ เช่น จำนวนค่าลงทะเบียนในแต่ละปีแยกตามคณะ 5 ปีที่ผ่านมาเป็นแนวนอนและรายชื่อคณะเป็นแนวตั้งที่สามารถ Filter ได้ เป็นต้น ต้องการดูการกระจาย (Distribution) สามารถใช้เมื่อต้องการดูความถี่ของข้อมูลว่ามีลักษณะการกระจายตัวอย่างไร HistogramLine HistrogramScatter PlotBox Plot Histogram แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ดูการการจายความถี่ของข้อมูล Scatter Plot แสดงการกระจายของการจับคู่ข้อมูล เหมาะสำหรับแสดงการจับคู่ข้อมูลเพื่อดูการกระจายผลเช่น การวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน การวัดผลการทดลองสองกลุ่มทดลอง การวัดน้ำหนักสองครั้งจากคนเดียวกัน 100 คนในวิธีควบคุมอาหาร เป็นต้น จะเห็นอะไรจาก Scatter Plot -แนวโน้มของข้อมูลระหว่างตัวแปร-ความผิดปกติจากภาพรวม -กลุ่มก้อนภาพรวมของข้อมูล Box Plot เพื่อดูการกระจายของข้อมูลและมีค่าต่างๆประกอบอยู่ในกราฟคือ ค่ากลาง ค่าการการะจาย ค่ามากสุด น้อยที่สุดและข้อมูลห่างกลุ่มมาก (Outlier) Box Plot Chart จะมีข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ25% (Q1) คือข้อมูล 25% แรกจากค่าต่ำขึ้นมา50% (Q2) คือข้อมูลตัวที่มากกว่า 25% จนถึงตัวที่ 75% โดยแสดงออกมาในรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า75% (Q3) คือข้อมูล 50% ของข้อมูลอยู่ เขียนแทนด้วยเส้นตรงอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่านี้คือค่าค่ากลางของข้อมูลทั้งหมด (Median) และตรงค่า เฉลี่ย (Mean) จะแทนด้วย เครื่องหมายบวกสำหรับตัวอย่างที่น่าจะยกได้สำหรับการศึกษาอาจจะเป็นผลการเรียนของนุักศึกษา ดูการแบ่งสัดส่วน (Composition) ต้องการเห็นภาพรวมพร้อมกับส่วนต่างๆที่สนใจ TreemapDonut ChartStacked Area ChartStacked BarPie ChartWaterfall Chart Treemap เป็น Chart ตารางสี่เหลี่ยม โดยใช้สีแยกกลุ่มของข้อมูล และขนาดของสีสี่เหลี่ยมบอกถึงปริมาณของข้อมูลแต่ละกลุ่ม เป็นกราฟที่ดูง่ายเข้าใจในทันทีที่เห็น Pie Chart Pie Chart เป็น Chart ที่แสดงสัดส่วนของข้อมูลดังเดิมที่เข้าใจง่าย เห็นการแยกสัดส่วนตามสีของแต่ละส่วน (เหมือนพิสซ่ามากกว่าพาย) ดูความสัมพันธ์ (Relationship) ของข้อมูล HeatmapWorldmapColumn/Line

Read More »

การส่งภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือระบบ Android ไปยัง PC (Windows 10) โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

ในการนำเสนอข้อมูลจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง Projector บางครั้งอาจจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการส่งข้อมูลภาพ แต่มีอีกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้หากมี PC ที่ติดตั้ง Windows 10 นั่นคือ การส่งข้อมูลหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC จากนั้นจึงส่งภาพจากหน้าจอ PC ขึ้นไปยัง Projector อีกต่อหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้ผู้นำเสนอก็จะสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อมูลจากหน้าจอมือถือ และข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่บน PC ด้วย สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการดังกล่าว โดยจะเป็นการส่งภาพหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือระบบ Android ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มบนโทรศัพท์มือถือ หรือบน PC สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตั้งค่า เนื่องจากวิธีการนี้เป็นการส่งผ่านข้อมูลถึงกันผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi ดังนั้นทั้งอุปกรณ์ Android และ PC ควรเชื่อมต่อผ่าน WiFi บน Access Point ชื่อเดียวกัน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากการที่อุปกรณ์ทั้งสองหากันไม่เจอ ขั้นตอนการตั้งค่าบน Windows 10 บน PC ไปที่ Setting 2. เลือก System จะปรากฏเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นเลือก Projecting to this PC 3. การตั้งค่าลำดับแรก “Some Windows and Android devices can project this PC when you say it’s OK” จะมี 3 ตัวเลือก ให้ตั้งค่าเป็นตัวเลือก Available everywhere on secure networks หรือ Available everywhere ส่วนตัวเลือก Always Off เป็นการเลือกที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อเข้ามา 4. การตั้งค่า “Ask to project to this PC” เป็นการตั้งค่าให้มีข้อความแจ้งบน PC เมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามาจากโทรศัพท์มือถือ โดยบนฝั่ง PC จะเป็นการเลือกว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่ โดยเมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามายัง PC จะมีกล่องข้อความแจ้งเตือนดังรูป ส่วนตัวเลือกในการยอมรับการเชื่อมต่อจะมีสี่ตัวเลือกดังรูป ตัวเลือก First time only เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนครั้งแรกที่ขอเชื่อมต่อเข้ามาเท่านั้น หากมีการขอเชื่อมต่อหลังจากนี้ครั้งต่อไปจะสามารถทำการเชื่อมต่อได้เลย (ตอนยอมรับการเชื่อมต่อต้องเลือก Always allow ด้วย หลังจากนี้หากมีการขอเชื่อมต่ออีกก็จะไม่มีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาอีก) ตัวเลือก Every time a connection is requested เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้ง เมื่อมีการเชื่อมต่อ 5. การตั้งค่า Require PIN for pairing เป็นการกำหนดว่าเมื่อมีการเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการยืนยันรหัส PIN หรือไม่ โดยฝั่ง PC จะออกรหัส PIN ให้ และฝั่งโทรศัพท์มือถือต้องกรอกรหัส PIN นี้เพื่อยืนยัน ตัวเลือกการตั้งค่ามี 3 ตัวเลือก คือ ตัวเลือก Never เลือกตัวเลือกนี้หากไม่ต้องการใช้รหัส PIN ในการยืนยัน ตัวเลือก First Time ใช้สำหรับยืนยันรหัส PIN ครั้งแรกครั้งเดียว ตัวเลือก Always ต้องมีการยืนยันรหัส PIN ทุกครั้ง ตัวอย่างรหัส PIN 6. การตั้งค่า “This PC can be discovered for projection only when it’s plugged into a power source” ถ้าเลือกเป็น On สามารถเชื่อมต่อได้เฉพาะกรณีที่ PC ต่อเข้ากับสาย power adapter ที่ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเท่านั้น ส่งภาพจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง PC

Read More »

ขั้นตอนการขอใช้บริการ PSU Groupmail

กรุณาดำเนินการกรอกเอกสาร ตามขั้นตอนต่อไปนี้ครับDownload เอกสาร http://group.psu.ac.th/docs/F_SD13.pdf วิธีกรอก https://sysadmin.psu.ac.th/2017/01/05/acrobat-reader-dc-free-but-sufficient/ วิธีการใช้งานเบื้องต้น http://group.psu.ac.th/docs/MailingList-20090625.pdf แล้วส่งกลับมาทาง email ได้เลยครับ  () PSU Groupmail ตั้งต้นจะเป็น @group.psu.ac.th นะครับหากต้องการให้แปลงเป็น @psu.ac.th ช่วยแจ้งด้วยส่วนการส่ง Email ออกไปในนามหน่วยงาน ให้ทำตามนี้ วิธีส่ง email ออกไปในนามหน่วยงาน ด้วย PSU Webmailhttps://sysadmin.psu.ac.th/2020/03/27/psu-webmail-sent-email-on-behalf-of/ วิธีส่ง email ในนามหน่วยงาน ที่ออกจาก Gmail ให้เป็น @psu.ac.th หรือ @group.psu.ac.th https://sysadmin.psu.ac.th/2018/01/26/send-gmail-in-the-name-of-psu/

Read More »

วิธีส่ง email ออกไปในนามหน่วยงาน ด้วย PSU Webmail

เนื่องจาก ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน มีความต้องการใช้ “email ส่วนกลาง” ที่เป็น Mailbox แยกจากบุคคล กันมามากจึงขอเรียนให้ทราบถึงปัญหาที่หน่วยงานของท่านจะเจอ ก่อนจะตัดสินใช้วิธีการดังกล่าว ไม่รู้ใครอ่าน ไม่รู้ว่าใครส่งออกไป ไม่รู้ว่าใครลบ email สำคัญนั้น ไม่รู้ว่าใครเปลี่ยนพาสเวิร์ด วิธีที่ทำกันมาตลอด คือ การสร้าง Groupmail นั้น แต่ละกลุ่ม มีสมาชิกผู้รับได้หลายคน ทำให้ช่วยกันดูแลได้ การส่งออก สามารถตั้งได้ว่า ส่งออกไปในนามหน่วยงาน และสามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นคนส่ง สามารถสร้าง Archive ได้ หมายความว่า ย้อนกลับมาดูได้ว่า เรื่องเหล่านี้ พูดคุยกันไปว่าอย่างไรบ้าง สมาชิกบางคน ลบ email ไป แต่ การสนทนา ยังอยู่ หมดปัญหา 1 account แต่รู้รหัสผ่านกันหลายคน สำหรับวิธีการตั้งค่า ให้ แต่ละคนในกลุ่ม ส่งออกไปในนามหน่วยงานได้ บน PSU Webmail คลิกที่ เมนู Options 2. คลิก Personal Information 3. คลิก Edit Advanced Identities 4. จากนั้น กรอกข้อมูล Full Name, E-Mail Address และ Signature มีข้อที่ *** ต้องห้าม *** อยู่อย่างนึงคือ Fullname ต้องไม่มีเครื่องหมายพิเศษใด ๆ โดยเฉพาะ เครื่องหมาย “.” จากนั้น กดปุ่ม Save/Update 5. เมื่อต้องการส่ง Email แบบ Compose สามารถเลือกได้ว่า ต้องการให้ออกไปนามหน่วยงาน เมื่อผู้รับได้รับ ก็จะเห็นแบบนี้ ครับ

Read More »

[สภากาแฟ] ว่าด้วยเรื่องสายงานคนไอที 2020

อยากทดลองเขียนบทความแนวแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวแบบนั่งพูดคุยง่ายๆสบายๆ โดยไม่มีรูปแบบอะไรดูบ้าง ขอเริ่มจากเรื่องนี้ล่ะกันว่าด้วยเรื่องสายงานของคนไอทีที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หรือชัดมานานแล้วผมพึงเข้าใจมัน  ด้วยความที่เทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสายโปรแกรมเมอร์ จนเกิดอาการซ๊อคตามไม่ทันไม่รู้จะจับอะไรก่อนดี มันดูสับสนวุ่นวายไปหมด จนกระทั่ง 2-3 ปี มานี้เริ่มจับทางถูกพอทำให้ไม่ตกขบวนบ้าง ได้รับอีเมล์จากไมโครซอฟท์ หัวข้อ “Join our Apps & Infrastructure sessions at the Open Source Virtual Summit” ลองเข้าไปอ่านรายเอียดดูว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง พบว่าหัวข้อการอบรมแบ่ง 3 track ใหญ่ๆ ได้แก่ Apps & Infrastructure Developer Data & AI เห็นได้ชัดว่าสายงานคนไอที 2020 ถ้าแบ่งแบบหยาบน่าจะเป็น 3 ลู่วิ่งนี้… ลู่วื่งที่ 1. Apps & Infrastructure เป็นของสาย System Admin หรือ SysAdmin เกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ออกแบบ วางระบบ แน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับ Cloud ทำยังไงให้มีโครงสร้างระบบพื้นฐานที่ดีสามารถี่รันแอพที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ และต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ เช่น Docker Kubernetes ฯลฯ …สังเกตว่าสายไอที Network เพียวๆ ที่เป็นฮาร์แวร์จะถูกแยกลู่ออกไปเลย คงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านๆ นั้น ได้แก้ Data Center คอนฟิก Switch ซึ่งไม่มาแตะซอฟแวร์มากนัก   ลู่วื่งที่ 2 Developer อันนี้สายโปรแกรมเมอร์ล้วนๆ รักไม่มุ่งแต่มุ่งโฟกัสที่พัฒนาแอพอย่างเดียว โค้ดคือชีวิตอย่าไปให้เค้าแตะเรื่อง Infrastructure มากนัก เทรนก็เลยมาแนว Serverless แบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง เน้นการพัฒนาแอพให้ดี เรื่องวุ่นวายปล่อยให้ Cloud จัดการให้ ลู่วิ่งที่ 3 Data & AI ยุดสมัยนี้ของมันต้องมี… แยกมากันชัดๆโฟกัสไปเลยว่าจะเอาดีทางสายนี้ สำหรับผมความคิดเห็นที่จะพูดถึงลู่นี้ไม่มีเพราะไม่รู้ 555 เพราะไม่เคยแตะเลย แต่ใครมาเอาดีสายนี้รับรองว่าอนาคตสดใสแน่นอนครับ สุดท้ายฝากลิงค์งานสามารถเข้าคลิกดู agenda ได้ : https://info.microsoft.com/AP-AzureMig-WBNR-FY20-03Mar-18-OpenSourceVirtualSummit-4491_01Registration-ForminBody.html

Read More »