ทดสอบการแสดงผลเว็บแอพพลิเคชันง่ายๆ บน Browser ต่างๆ ด้วยบริการของ Modern IE

ในปัจจุบันเว็บแอพพลิเคชันที่มีการพัฒนาจะต้องรองรับ Browser และอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งเป็นการยากที่เราจะทดสอบให้ครบได้ จะดีไหมถ้าเราสามารถดูการแสดงผลเว็บแอพพลิเคชันที่พัฒนาว่า หน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อแสดงผลบน Browser หรืออุปกรณ์อื่นๆ Microsoft ได้เปิดตัว Modern IE ขึ้น โดยมีบริการที่น่าสนใจที่เรียกว่า Browser screenshots !! ขั้นตอนที่ 1 ไปยัง URL : https://dev.modern.ie/tools/screenshots/ ขั้นตอนที่ 2 ใส่ URL ของเว็บแอพพลิเคชันของเราที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 3 กดปุ่ม Enter หรือรูปแว่นขยาย เครื่องมือจะแสดงผลดังภาพ จะเห็นว่าเจ้า Browser screenshots เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นหน้าจอเว็บแอพพลิเคชันของเราในเบื้องต้นได้ “หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อนักพัฒนาหรือนักทดสอบระบบทุกท่านนะค่ะ”

Read More »

สร้างโปรแกรมทดสอบเว็บแอพพลิเคชันอัตโนมัติด้วย Selenium WebDriver : ตอนที่ 1 การติดตั้ง Web Driver

“Selenium” คือ ชุดเครื่องมือที่ใช้สำหรับทดสอบเว็บแอพพลิเคชันอัตโนมัติ โดยประกอบด้วยเครื่องมือ 4 เครื่องมือ การใช้งานจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทดสอบในแต่ละองค์กร ได้แก่ Selenium Integrated Development Environment (Selenium IDE) Selenium Remote Control (RC) WebDriver Selenium Grid โดยในปัจจุบัน ในส่วนของ Selenium RC (Selenium 1.0) และ WebDriver ได้ร่วมเป็น Selenium ในเวอร์นที่ 2 ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอเรียกว่า Selenium Web Driver เพื่อไม่ให้สับสนกับ Selenium ค่ะ ต่อไปก็ขออธิบายลงไปที่ Selenium Web Driver ต่อไปเลยค่ะ  Selenium Web Driver เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถสร้างโปรแกรมในการทดสอบเว็บแอพพลิเคชันกับ Web browser ได้หลายตัว ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติเด่นที่ดีกว่า Selenium IDE ค่ะ (Selenium IDE จะใช้งานได้เฉพาะ firefox เท่านั้น) โดยจะมี Web Driver เป็นตัวกลางที่มีไลบารีที่ช่วยในเราติดต่อกับ Web browser ได้ดังรูปค่ะ โดยใช้การเขียนโปรแกรมในภาษาต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกัน ไม่ว่าจะเป็น JAVA, .Net (VB/C#), Ruby ติดต่อกับไลบารีของ WebDriver เพื่อเข้าถึงคอนโทรลที่แสดงผ่าน Web browser ได้ ทำให้เราสามารถสร้างโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลายมากขึ้น เช่น ดึงข้อมูลที่ใช้สำหรับกรอกข้อมูลบนฟอร์ม จากฐานข้อมูลได้ สามารถใช้ทดสอบหลายๆ กรณี ได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มเห็นประโยชน์กันบ้างยังค่ะ ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เราก็มาเริ่มการติดตั้งเลย โดยบทความนี้จะใช้ WebDriver ของ Firefox และภาษา C# ในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 1 : โหลด Selenium Client และ WebDriverไปยัง URL : http://www.seleniumhq.org/download/Selenium Client คือ ไลบาลีที่ใช้ติดต่อกับ WebDriver ซึ่งขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการพัฒนา (จากรูปด้านบน เลือกตามภาษาที่ใช้ในการพัฒนา) WebDriver คือ ไลบารีที่ใช้ติดต่อกับ Web brower ซึ่งในส่วนของ firefox จะติดมากับไลบารีของ Selenium Client อยู่แล้ว แต่ในส่วนของ IE , Chrome หรือ Safari ต้องโหลดแยกต่างหาก โดยในส่วนของเว็บ Selenium ก็มีให้โหลดเรียบร้อยแล้ว  (จากรูปบน เป็น Webdriver ของ Chrome เลือกตามระบบปฎิบัติการใช้งาน) (จากรูปบน เป็นไฟล์ Webdriver ของ Chrome โดยเราจะเรียกใช้โดยการอ้างอิงจากพาร์ธ) ขั้นตอนที่ 2 : การติดตั้งไลบารีกับ Visual Studio เมื่อดาวน์โหลดมาเรียบร้อย ทำการแตกไฟล์จะได้โฟลเดอร์ตามรูป โดยเลือกใช้งานตาม .Net Framework ที่ใช้ในการพัฒนา จากนั้นทำการสร้าง Project และทำการ Add Referrence ขั้นตอนที่ 3 : Hello World !! ขั้นตอนนี้ทำการเขียนโปรแกรม โดยการกดปุ่มจากฟอร์มและโปรแกรมทำการเปิดเว็บเพจ google ค้นหาคำว่า Hello World (จากรูปบน เป็นส่วนของการประกาศใช้งานไลบารีของ Selenium ซึ่งในกรณีนี้อยู่ที่ว่าจะใช้เรียกเว็บ browser อะไรก็เรียกใช้ไลบารีตัวดังกล่าว จากตัวอย่างผู้เขียนจะเรียกใช้ Firefox กับ Chrome) (จากรูปบน เป็นการสร้างตัวแปรคลาส driver ของ Firefox) (จากรูปบน เป็นการสร้างตัวแปรคลาส driver ของ Chrome โดยจะแตกต่างจากของ Firefox

Read More »

แจกฟรี Template สำหรับ Web Application แบบไทยๆ

แจกฟรี! Template สำหรับ Web Application หน้าตาเว็บแอพแบบไทยๆ เอาไปใช้กันแบบไม่มีเงื่อนไข หลังจากค้นหาดูจากหลายๆ ที่ก็ไม่โดนใจและการนำไปใช้งานไม่เหมาะสมเท่าที่ควร… เลยทำเองซะเลยจากประสบการณ์ คิดว่าหน้ากากแบบนี้เหมาะกับระบบสารสนเทศแบบไทยๆ (แบบทางราชการ) หลังจากการศึกษาและสำรวจรูปแบบมาจากหลากหลายที่ ส่วนของ source code ที่นำมาใช้และมีการปรับแต่ดังนี้ (จัดเต็ม..เวอร์ชั่นล่าสุด ณ 14/8/2558)

Read More »

Icon Font

บทความนี้จะพูดถึงคำ 2 คำ คือ Icon และ Font ที่ใช้งานบนเว็บ ซึ่งทุกคนคงจะรู้จัก Web Icon กันดีอยู่แล้วว่ามันคือรูปภาพขนาดเล็กที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ เช่น รูปแว่นขยายมีความหมายถึงการค้นหาข้อมูล รูปแผ่นดิสก์ใช้แทนความหมายของการบันทึกข้อมูล เป็นต้น รูปภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์นามสกุล .png ซึ่งสามารถทำเป็นรูปที่มีพื้นหลังโปร่งใสได้       ในส่วนของการใช้งาน Font บนเว็บไซต์นั้นสามารถอ่านได้จากบทความ @font-face ครับ กล่าวโดยสรุปแบบง่ายๆ คือ Font เป็นข้อความที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ครับ และการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น เมื่อมีการนำ Icon และ Font มารวมกัน คือการทำ Icon ให้เป็น Font หรือการสร้างตัวอักษรที่มีรูปร่างเป็น Icon เรียกใช้งานผ่าน CSS class แล้วแสดงผลเหมือนเป็นรูปภาพรูปหนึ่ง ข้อดีของการทำแบบนี้คือเราสามารถจัดการเรื่องขนาด และสีได้ด้วยการใส่ CSS อย่างง่ายได้ Icon Font ใน Bootstrap Framework Bootstrap Framework ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็ได้จัดเตรียมคอมโพเน้นต์ที่เป็น Icon Font ให้ใช้งานด้วยเหมือนกัน โดยจะใช้ชื่อว่า Gryphicons (http://getbootstrap.com/components/#glyphicons) ประกอบด้วย Icon ต่างๆ มากมายดังรูป วิธีการใช้งานก็ไม่ยาก แค่กำหนด CSS class ให้กับแท็ก <span> ดังตัวอย่างนี้ Font Awesome Font Awesome เป็นแหล่งรวม Icon Font ที่น่าสนใจมากอีกแหล่งหนึ่ง มี Icon สวยๆ ให้เลือกมากมาย วิธีการติดตั้งมี 2 วิธีเช่นเดียวกับการเรียกใช้งาน CSS ทั่วไป ดังนี้ ติดตั้งผ่าน MaxCDN Bootstrap ในแท็ก <head> ดังนี้ <link rel=”stylesheet” href=”//maxcdn.bootstrapcdn.com/font-awesome/4.3.0/css/font-awesome.min.css”> ดาวน์โหลดจากเว็บ http://fortawesome.github.io/Font-Awesome มาติดตั้งบนเว็บไซต์ของเราได้โดยตรง และติดตั้งในแท็ก <head> ดังนี้ <link rel=”stylesheet” href=”path/to/font-awesome/css/font-awesome.min.css”> วิธีการใช้งานให้ใช้ผ่านแท็ก <i> หรือ <span> เช่น <i class=”fa fa-camera-retro”></i> fa-camera-retro ก็จะทำให้ได้ Icon รูปกล้องถ่ายรูปดังรูป ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตัวอย่างในเว็บนี้ครับ http://fortawesome.github.io/Font-Awesome/examples

Read More »

@FONT-FACE

การใช้ฟอนต์นำเสนอข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ หรือ Web Typography ในยุคแรก นั้น Browser จะเป็นตัวกำหนดว่าจะนำเสนอด้วยฟอนต์อะไร ทำให้การแสดงผลในแต่ละ Browser ไม่เหมือนกัน ต่อมาใน HTML2 ได้มีการเพิ่มแท็ก <font> เข้ามา และใน CSS2 ก็อนุญาตให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้เอง แต่ปัญหาที่เจอคือฟอนต์ที่เราเลือกใช้จะต้องถูกติดตั้งบนเครื่องฝั่งผู้ใช้ด้วย ดังตัวอย่างการกำหนดรูปแบบ font ด้วย CSS2 ดังนี้ body { font-family: Gill, Helvetica, sans-serif } เมื่อ Web Browser อ่านเจอ CSS ดังกล่าว อันดับแรกก็จะดูว่าฟอนต์ที่ชื่อ Gill ถูกติดตั้งไว้ในเครื่องแล้วหรือยัง ถ้าติดตั้งแล้วก็จะแสดงผลเว็บไซต์ด้วยฟอนต์ Gill แต่ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง Browser ก็จะมองหาฟอนต์ตัวถัดไปคือ Helvetica และ sans-serif ตามลำดับ จากข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีผลทำให้เราไม่สามารถใช้งานฟอนต์สวยๆ บนเว็บไซต์ได้ นักออกแบบเว็บไซต์จึงเลือกใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพแทน โปรแกรมกราฟิกที่ใช้กันก็อย่างเช่น Adobe Photoshop จะทำให้สามารถใส่ข้อความ และ effect ต่างได้อย่างสวยงาม แต่ปัญหาต่อมาที่เจอก็คือการแก้ไขข้อความในรูปภาพมีความยุ่งยากซับซ้อน อะไรๆ ก็ง่ายขึ้นด้วย @font-face ถือว่าเป็นข่าวดีของนักพัฒนาเว็บไซต์เป็นอย่างมาก เมื่อ CSS3 ได้กำหนด @font-face ไว้ใน specification ด้วย ทำให้การใช้ฟอนต์บนเว็บไซต์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น @font-face เป็นกลไกที่จะช่วยให้เราสามารถเรียกใช้ฟอนต์ที่ไม่ได้ถูกติดตั้งไว้บนเครื่องฝั่งผู้ใช้ได้ โดยให้ระบุแหล่งที่อยู่ (src) ของไฟล์ฟอนต์ไว้ใน Style Sheet ดังนี้ @font-face { font-family: myFirstFont; src: url(‘www.mydomain.com/sansation_light.woff’); } จากโค้ดเมื่อ Web Browser อ่านเจอก็จะไปโหลดฟอนต์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้มาใช้งาน ทำให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้ตามต้องการ ปัญหาต่อมาที่เจอคือแต่ละ Web Browser นั้นรองรับไฟล์ฟอนต์ในรูปแบบ (format) ที่แตกต่างกันออกไป ในโค้ดตัวอย่างใช้รูปแบบ Web Open Font Format (woff) รูปแบบอื่นที่มีการใช้งานกันได้แก่ EOT (Embedded OpenType), TrueType Font (ttf), Open Type Font (otf) และ Scalable Vector Graphics (SVG) เป็นต้น โดยแต่ละ Browser รองรับรูปแบบไฟล์ต่างกันดังรูป ที่มา : www.w3schools.com แล้วทีนี้เราจะเขียน CSS อย่างไรให้รองรับทุก Browser ล่ะ? คำตอบก็คือ ให้เราระบุแหล่งที่อยู่ของไฟล์ฟอนต์ (src) แต่ละรูปแบบต่อท้ายเข้าไปเลยดังนี้ @font-face { font-family: myFirstFont; src: url(‘sansation_light.woff’); src: url(‘sansation_light.woff’) format(‘woff’), url(‘sansation_light.eot) format(‘embeded-opentype’), url(‘sansation_light.ttf) format(‘truetype); } จากโค้ดในส่วนของ format จะเป็นตัวบอก Browser ว่าไฟล์ที่ระบุตรงกับรูปแบบที่รองรับหรือไม่ ถ้าตรงก็โหลดมาใช้งาน แต่ถ้าไม่ตรงก็จะไม่โหลดลงมาให้เปลือง Banwidth แล้วจะหาไฟล์ฟอนต์ได้จากไหน? อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะกังวลว่า แล้วจะหาไฟล์ woff, eot, ttf เหล่านี้ได้จากไหน? คำตอบคือให้ทำตามขั้นตอนดังนี้ ดาวน์โหลดฟอนต์ในรูปแบบ ttf ที่ต้องการก่อนครับ แนะนำเว็บไซต์ f0nt.com จะมีฟอนต์ภาษาไทยสวยๆ ให้เลือกมากมาย และที่สำคัญคือสามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ เข้าเว็บไซต์ http://www.font2com/ ให้อัพโหลดไฟล์ฟอนต์ที่เตรียมไว้ แล้วคลิกปุ่ม Convert & Download ได้เลยครับ จะได้เป็นไฟล์ zip มา ข้างในประกอบด้วยไฟล์ css, demo.html และไฟล์ฟอนต์ต่างๆ ให้เราเอาไปใช้งานได้เลยครับ  

Read More »