การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ

นักพัฒนาเว็บหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการสร้าง web map ด้วย google map api กันนะคับ (เป็นที่นิยมเลยล่ะ) แต่ในยุคปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น near real time กันมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหลายหน่วยงานมีการเผยแพร่ Web Map Services กันเยอะมากยิ่งขึ้น และแย่งชิงความเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนที่สุด แต่ด้วยปัจจัยในการต้องติดตั้งโปรแกรมบน Web Map Server เพื่อให้สามารถใช้งาน web map ผ่าน server ได้ (เสียงบประมาณเพิ่ม) ***ใครมี ArcGIS Server จะลองทำ การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ดูได้นะคับ   วันนี้เลยจะขอนำเสนอโค้ดง่ายๆ ในการนำลิงค์ KML/KMZ จากเว็บที่ให้บริการฟรี! มาสร้างเป็นหน้าเว็บเพจของเราโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง map server กันคับ ^^ ที่สำคัญ ต้นทางข้อมูลอัพเดทข้อมูล หน้าเว็บเราก็อัพเดทไปด้วย อิอิ ขั้นตอนการสร้าง 1. เปิดหน้าเว็บที่ให้บริการลิงค์ ***ตัวอย่างเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th 2. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกขวา > copy link address 3. สร้างไฟล์ gmap.html แล้วเปิด edit ด้วยโปรแกรม notepad หรือ text editor 4. copy โค้ดนี้ไปวาง <!DOCTYPE html> <html> <head> <meta name=”viewport” content=”initial-scale=1.0″> <meta charset=”utf-8″> <title>การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ</title> <style> html, body { height: 100%; margin: 0; padding: 0; } #map { height: 100%; } </style> </head> <body> <div id=”map”></div> <script> function initMap() { var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), { zoom: 11, center: {lat: 100.756297, lng: 14.790059} }); var ctaLayer = new google.maps.KmlLayer({ url: ‘ที่อยู่ kml/kmz ลิงค์‘, map: map }); } </script> <script async defer src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=google map api key“> </script> </body> </html> 4. วางลิงค์ที่ copy มาจากเว็บตรงurl: ‘http://slb-gis.envi.psu.ac.th/home1/images/download/kmz/gcs_slbforu.kmz‘, และใส่ google map api key ***ถ้าไม่มีให้ไปที่ https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/get-api-key 5. ลองเปิดผ่าน http://localhost/gmap.html จะได้ตามรูป 6. หากคลิกที่ข้อมูล จะมี pop-up แสดงข้อมูลขึ้นมา 7. เว็บไซต์ของท่านก็จะมีหน้าเว็บแมพไว้ใช้งานได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องติดตั้ง web map server ^^   ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Read More »

ASP.NET MVC Part3: สร้าง Model ด้วย Entity Framework

จากบทความก่อนหน้า ซึ่งอาจจะนานมากพอสมควรที่ได้แนะนำ MVC ไปไว้แล้วในเบื้องต้น (ASP.NET MVC Part 1 : ทำความรู้จักกับ ASP.NET MVC และ ASP.NET MVC Part2: เริ่มต้นสร้างเว็บด้วย MVC with Bootstrap) บทความนี้จะมาแนะนำในส่วนของการสร้าง Model ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ในการ query และจัดการกับข้อมูล เพื่อส่งให้กับ Controller และ View เรียกใช้ในลำดับต่อไป Model คือ ส่วนหนึ่งในองค์ประกอบของการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันตามรูปแบบ MVC Framework (Model-View-Controller) โดยจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ Business Model หรือส่วนที่ติดต่อกับฐานข้อมูล โดยบทความนี้นำเสนอการนำเครื่องมือ Entity Framework มาใช้ในการสร้างและจัดการ Model ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล สำหรับการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันตามรูปแบบ MVC Framework Entity Framework Entity Framework คือ tools ที่ทำหน้าที่จัดการกับฐานข้อมูล โดยแนวคิดของ Entity Framework อยู่ในรูปแบบของ O/RM (Object/Relational Mapping) คือ Entity Framework จะสร้าง Layer ทำหน้าที่เป็น Database Model ขึ้นมาเป็น Class ใน Project ของเรา โดยจะทำหน้าที่ Mapping ตัว Class ที่จะสร้างขึ้น กับ Table , View และ Stored Procedure จากฐานข้อมูบ มาไว้บน Project ซึ่งทำให้เราเราสามารถเรียกใช้มันผ่าน Class ที่อยู่ใน Project เราได้เลย ส่วนการเขียน Query หรือจัดการกับข้อมูลผ่านตัว Entity Model จะใช้ Syntax ของ LINQ to Entities ซึ่งเป็น syntax ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายตามรูปแบบของภาษาเช่น VB.Net หรือ C#   วิธีการใช้งาน Entity Framework เบื้องต้น 1. เปิด solution ที่ต้องการใช้ขึ้นมา (ในบทความนี้เป็น project แบบ MVC Framework) 2. คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Model แล้วเลือก Add =>New Item 3. ที่ tab ด้านซ้ายมือ เลือก Data จากนั้นเลือก ADO.NET Entity Data Model และทำการตั้งชื่อ และกดปุ่ม Add   4. เมื่อเข้าสู่หน้าจอให้เลือก Model Content ให้เลือก EF Desiner from DataBase และกด Next จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป   5.ขั้นตอนถัดมาคือการเลือก Data Connection เป็นการเลือกการติดต่อกับฐานข้อมูลว่าจะให้ Entity ติดต่อกับฐานข้อมูลไหน โดยครั้งแรกหากยังไม่มี ฐานข้อมูลมาให้เลือกใน comboBox จะต้อง New Connection ขึ้นมาก่อน และทำตามขั้นตอนไปได้เลย แต่ถ้ามีแล้วให้เลือก Connection จาก ComboBox หลังจากนั้นให้กดเลือก Yes,include the sensitive data in connection string และเลือก Checkbox ให้ Save Connection string เข้าสู่ Web.Config และตั้งชื่อให้กับ Conection string โดย default ชื่อจะเป็น “Entities” และกดปุ่ม Next

Read More »

การเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery (C#)

          ก่อนจะพูดถึงวิธีการเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery ผู้เขียนขอเกริ่นนำเกี่ยวกับที่มาที่ไปเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Ajax เพื่อให้ผู้อ่านบางท่านที่ยังอาจงงๆได้ทำความเข้าใจเสียก่อน ว่าโดยปกติแล้วนั้น ในการพัฒนาเว็บไซต์(Web application)ของ ASP.NET จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Client side และ Server side ซึ่งการทำงานในส่วนของ Client side จะหมายถึงส่วนของ browser หรือหน้าจอการทำงานของผู้ใช้ เช่น Google Chrome Firefox และ Internet explorer ส่วนในฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะมีการรับคำร้องขอ(request) จากฝั่ง Client ทำการประมวลผลและส่งค่าผลลัพธ์คืนกลับมายังฝั่ง Client อีกครั้งเพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลลัพธ์การตอบกลับนั้นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นการพัฒนาจะประกอบด้วยโค้ด 2 ส่วน คือ Server-side code ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการทำงานในการติดต่อไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และถูกนำมาใช้ในการพัฒนา Web application ซึ่งใน ASP.NET นั้นนับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะมีการใช้งานผ่านทาง .NET Framework ในรูปแบบของภาษา C# VB หรือภาษาอื่นๆที่มีใน .NET ในการประมวลผลเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆจากคำร้องขอในฝั่ง Client และทำการส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับมายังฝั่ง Client อีกครั้ง หลังจากมีการส่งผลลัพธ์ตอบกลับมาเรียบร้อยแล้วนั้น จะมีการ render หน้าจอดังกล่าวขึ้นอีกครั้งเพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เพจหรือหน้าจอที่ใช้งานมีการโหลดหรือ refresh เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียทำให้ผู้ใช้รู้สึกล่าช้าในการรอการตอบกลับการประมวลผลพร้อมทั้งการแสดงผลจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดยโค้ดในลักษณะนี้ผู้พัฒนาบางท่านอาจรู้จักกันในนามของ code behind นั่นเอง Client-side code อาจเรียกได้ว่าเป็น client-side script ที่ถูกฝังไว้ในฝั่ง client และมีการประมวลผลในส่วนของ Browser ของผู้ใช้ ซึ่งสคริปต์ที่นิยมใช้ในการพัฒนาโดยส่วนใหญ่จะเป็น JavaScript และโต้ตอบกลับมาโดยตรงด้วย element ที่มีใน HTML เช่น textbox ปุ่ม หรือตาราง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานของโค้ดภาษา HTML และ CSS(Cascading Style Sheets) ร่วมด้วย แต่การพัฒนาในส่วนนี้ต้องมีการคำนึงถึงภาษาและโค้ดที่รองรับในแต่ละ browser ของผู้ใช้ด้วย ซึ่งการพัฒนาด้วยโค้ดในส่วนนี้ จะทำให้การตอบโต้กับผู้ใช้งานเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้น เกิด overhead น้อย แต่ก็มีข้อเสียเกี่ยวกับการเลือกใช้ภาษาในการพัฒนาให้ครอบคลุมในความหลากหลายของ browser ที่ผู้ใช้ใช้งานในการเปิดเว็บไซต์ได้ Ajax (Asynchronous JavaScript and XML)           เทคโนโลยีและแนวคิดแบบ Ajax ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและหลักการทำงานโดยทั่วไปที่มีอยู่เดิมของ web application เล็กน้อย คือจะมีการส่งคำร้องขอจากฝั่ง Client ไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์โดยตรงเพื่อตอบโต้กับ object ที่มีในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เช่น ฐานข้อมูล หรือไฟล์ เป็นต้น โดยปราศจากการ postback โดยแนวคิดของ Ajax จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม เช่น ข้อมูลในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เว็บเซอร์วิส และการเขียนสคริปต์ในฝั่ง client โดย client-side script จะใช้ในการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสเพื่อประมวลผลกับฐานข้อมูลตามคำร้องขอ ซึ่งคำร้องขอดังกล่าวอาจเป็นการบันทึกหรืออ่านค่าข้อมูลจากฐานข้อมูล และการเรียกใช้แบบ Ajax นี้จะเป็นลักษณะ Asynchronous คือ เมื่อผู้ใช้มีการส่งคำร้องขอไปยังเว็บเซอร์วิส ในหน้าจอการทำงานจะไม่ถูกล็อคไว้ และสามารถทำงานในส่วนอื่นต่อได้โดยไม่จำเป็นต้องรอกระบวนการทำงานให้เสร็จทีละส่วน สามารถทำคู่ขนานกันไปได้ และหากส่วนใดเสร็จสิ้นการประมวลผลแล้วนั้นตัวเว็บเซอร์วิสก็จะส่งผลลัพธ์กลับมาให้แสดงยังฝั่งผู้ใช้เอง           โดยเทคโนโลยีที่ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นสำหรับ client-side script นั่นก็คือ jQuery ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากประมวลผลได้เร็ว มีขนาดเล็ก และมีคุณสมบัติอีกหลายประการที่จะเข้ามาช่วยทำให้การพัฒนาโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่ง จากข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเว็บไซต์โดยหลีกเลี่ยงการ postback เมื่อมีการเรียกใช้งานไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ถือเป็นอีกทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบมาใช้ เพื่อลด over head ให้กับตัว web server และสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ได้รวดเร็วขึ้น ลดจำนวนในการโหลดเพจ และรอการตอบสนองทุกครั้งที่มีการส่งคำร้องขอ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการเรียกใช้หรือส่งคำร้องขอไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์แบบ Ajax ด้วย jQuery ดังนี้ การเรียกใช้เมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ตามแนวคิดของ Ajax ด้วย jQueryหลักการเขียนเพื่อเรียกใช้เมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิส ที่มาของภาพ :http://www.aspsnippets.com/Articles/Call-ASPNet-Page-Method-using-jQuery-AJAX-Example.aspx   ตัวอย่างที่ 1 : การเรียกใช้งานเมธอดแบบส่งค่ากลับเป็น

Read More »

ข้อแตกต่างระหว่างการลงนามเอกสารด้วย Electronic Signature กับ Digital Signature

ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางด้วยความอยากรู้ว่าหน่วยงานอื่นๆ เขาพัฒนาระบบนี้กันไปถึงไหนแล้ว เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบของม.อ.เราต่อไป จากการดูงานที่ผ่านมาพบว่า ระบบที่มีการใช้งานกันส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้รองรับงานด้านสารบรรณอย่างเต็มรูปแบบสักเท่าไหร่ บางที่ยังเป็นแค่ระบบที่ใช้ในการเก็บเอกสารแต่ยังไม่สามารถติดตามการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเอกสารเรื่องนั้นๆ ได้ ซึ่งต่างจากของม.อ. เราที่สามารถติดตามเส้นทางการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และเป็นที่ทราบกันดีว่าวัตถุประสงค์หลักของระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์คือ การดำเนินการต่างๆ ด้านงานสารบรรณทั้งหมดในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้งานกระดาษ นั่นหมายความว่าเป้าหมายที่สำคัญของระบบนี้คือการดำเนินการทั้งหมดจะต้องดำเนินการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ 100% โดยไม่มีการใช้กระดาษเลย แต่ในปัจจุบันระบบยังไม่สามารถทำแบบนั้นได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการลงนามเอกสาร เนื่องจากผู้ใช้ยังไม่มั่นใจรูปแบบการลงนามเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร จึงเลือกที่จะพิมพ์เอกสารเป็นกระดาษแล้วลงนามกันด้วยปากกาเช่นเดิม อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้กำลังจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีกฎหมายออกมารองรับ และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้แล้ว จากการเดินทางไปศึกษาดูงานพบว่ามีระบบของสถาบันแห่งหนึ่งในภาคกลาง มีความสามารถในการลงนามเอกสาร โดยผู้ใช้จะต้องใช้รหัสผ่านที่ 2 เพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้งหนึ่งก่อนการลงนาม จากนั้นระบบจะดึงรูปภาพลายเซ็นของผู้ลงนามมาแปะลงในเอกสารตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ข้อดีของวิธีการนี้คือในเอกสารจะมีรูปภาพลายเซ็นแปะอยู่ ทำให้ผู้อ่านคนอื่นๆ รับทราบได้ทันทีว่าใครเป็นคนลงนาม แต่ข้อเสียคือ รูปภาพลายเซ็นดังกล่าวสามารถคัดลอกแล้วนำไปแปะในเอกสารอื่นๆ ได้ง่าย จึงทำให้การลงนามแบบนี้ยังขาดคุณสมบัติด้านความปลอดภัย จากการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พบว่าวิธีการในการลงนามเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นมี 2 วิธีหลักๆ คือ  Electronic signature และ Digital Signature ซึ่งมีความหมายและข้อแตกต่างกันดังนี้ Electronic Signature เป็นการทำสัญลักษณ์ หรือลายเซ็นที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยบุคคล เพื่อเป็นการยืนยันหรือลงนามในเอกสาร สัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันได้แก่ รูปภาพลายเซ็นที่เซ็นด้วยหมึกปากกาลงในกระดาษแล้วสแกนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์ หรือนิ้วมือ หรือ stylus วาดรูปลายเซ็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ลายเซ็นที่แนบท้ายอีเมล์ การพิมพ์ชื่อด้วยคีย์บอร์ด รูปภาพลายนิ้วมือ การคลิก “I Agree” ใน Electronic form ต่างๆ เป็นต้น Digital Signature Digital Signature เป็น Subset ของ Electronic Signature เนื่องจากเป็นลายเซ็นที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกัน แต่ได้เพิ่มเติมคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเข้าไป เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติดังกล่าวประกอบด้วย Signer Authentication เป็นความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนเซ็นเอกสาร ตัวลายเซ็นจะสามารถใช้ในการเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่เซ็นเอกสารได้ Data Integrity เป็นความสามารถในการตรวจสอบ หรือพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังจากที่ได้มีการเซ็นไปแล้วหรือไม่ Non-repudiation การไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เนื่องจากลายเซ็นที่สร้างขึ้นมีเอกลักษณ์ สามารถพิสูจน์ในชั้นศาลได้ว่าใครเป็นผู้เซ็นเอกสาร สรุปข้อดีข้อเสียของ Electronic Signatures และ Digital Signature ข้อดี ข้อเสีย Electronic Signature – ใช้สัญลักษณ์ หรือรูปภาพลายเซ็นที่ผู้ใช้สามารถเห็นได้ง่าย ทำให้ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของลายเซ็น (ทราบได้จากการดูรูปลายเซ็น) – ถูกคัดลอกจากเอกสารฉบับหนึ่งไปยังอีกฉบับหนึ่งได้ง่าย – ไม่สามารถตรวจจับการแก้ไขเนื้อหา หรือข้อความในเอกสารที่เกิดขึ้นหลังจากการเซ็นได้ – วิธีการนี้ยังขาดความชัดเจน ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายเซ็นเป็นผู้ลงนามจริงหรือไม่ จึงอาจโดนปฏิเสธความรับผิดชอบในชั้นศาลได้ Digital Signature – เอกสารที่ผ่านการเซ็นแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ หากมีการแก้ไขก็จะสามารถตรวจสอบได้ และส่งผลให้ลายเซ็นหมดสภาพไป – ผู้เซ็นเอกสารสามารถกำหนดระดับความน่าเชื่อถือได้ – ผู้เซ็นเอกสารจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ – สามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้เทียบเท่ากับการเซ็นเอกสารในกระดาษด้วยหมึกปากกา – ขึ้นอยู่กับการเข้ารหัสลับ และมีความยุ่งยากในการเชื่อมโยงกับลายเซ็นบนกระดาษ   จะเห็นว่าการลงนามเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 2 วิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียต่างกัน การเลือกรูปแบบไหนมาใช้ในการพัฒนานั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้ระบบเราทำอะไรได้บ้าง เมื่อพิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่ามีความต้องการให้สามารถลงนามเอกสารผ่านระบบได้ และแนวทางที่เหมาะสมคือการนำข้อดีของทั้ง 2 วิธีมารวมกันเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไป   แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.signinghub.com/electronic-signatures/

Read More »

Convert Solution Visual Studio 2005 to 2013

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเครื่องมือในการพัฒนาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Visual Studio โดยจะนำเสนอวิธีการ Convert Solution ASP.NET จากเวอร์ชั่นเก่าไปยังเวอร์ชั่นใหม่โดยไม่ต้องสร้างโปรเจคขึ้นมาใหม่ ตัวอย่างในวันนี้จะแสดงการ Convert Project Solution ที่พัฒนาด้วย Visual Studio 2005 ไปพัฒนาบน Visual Studio 2013 ซึ่งแน่นอนครับว่าจะต้องมีการ config ค่าเพิ่มเติมต่างๆ ผู้เขียนจะกล่าวไว้ช่วงท้ายนะครับ เราเริ่มขั้นตอนการ Convert กันเลยดีกว่าครับ ขั้นตอนแรก : เตรียมข้อมูลให้พร้อม 1. เตรียม solution ตัวเก่าของเราให้พร้อม (ในที่นี้เราใช้ solution ของ Visual Studio 2005 ชื่อ GSMISII ) รูปที่ 1 Folder Project Solution Visual Studio 2005 รูปที่ 2 ไฟล์ Project Solution Visual Studio 2005      2. เตรียม Visual Studio 2013 ให้พร้อม รูปที่ 3 Visual Studio 2013 ขั้นตอนที่สอง : เริ่ม Convert       1. เราจะทำการ Convert Solution โดยคลิกขวาไฟล์ Solution ( xxx.sln ) ตามรูปที่ 2 เลือก Open with… ก็จะปรากฎดังรูป รูปที่ 4 Keep using Microsoft Visual Studio Version Selector   2. เลือก Keep using Microsoft Visual Studio Version Selector รูปที่ 5 Review Project And Solution Changes      3. Visual Studio จะตรวจสอบว่ามีโปรเจคหรือ Solution ใดบ้าง ตามตัวอย่างมีแค่ 1 Solution กด OK รูปที่ 6 Loading solution projects…       กรณีมีการใช้ Crystal Report จะมีการให้ Backup ก่อนที่จะ Convert (ซึ่งหากต้องการใช้ Crystal Report จะต้องลง SAP Version ที่รองรับกับ Visual Studio 2013 ก่อน) รูปที่ 7 Loading solution projects…      กรณีที่มีการใช้ Source Control จะมีให้เลือกว่าจะ remove ออกหรือไม่ รูปที่ 8 Source Control remove      เสร็จเรียบร้อยแล้ว… จริงหรือ??   รูปที่ 9 Solution in Visual Studio 2013      เรามาลอง Build Solution กันดีกว่า… รูปที่ 10 Error Build Solution      Oops! Error!!

Read More »