Oracle Database 12CR1 monitoring with MRTG

OS: Oracle Enterprise Linux  7.2  (CentOS 7.2) วิธีติดตั้ง MRTG สามารถติดตั้งได้โดยสามารถดูคู่มือที่ ติดตั้ง mrtg บน ubuntu อาจไม่เหมือนกันแต่สามารถทำได้ทำนองเดียวกัน กราฟสำหรับ Idle CPU and Load average, CPU Time spent waiting for IO, Traffic Analysis for eth0, TCP Current Establish สามารถใช้ script เดียวกับลิงค์ในข้อ ๒ ได้เลย สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-memory.sh มีข้อความว่า #!/bin/bash FREE=$(free |grep “Mem:”|awk ‘{print $7}’) SWAP=$(free |grep “Swap:”|awk ‘{print $3}’) TIME=$(uptime) echo “${FREE}” echo “${SWAP}” echo “$TIME” hostname  สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-memory.cfg มีข้อความว่า WorkDir: /var/www/mrtg/myhost Target[myhost-mem]:`/etc/mrtg/get-memory.sh` MaxBytes[myhost-mem]: 20000000000 Title[myhost-mem]: Free Memory and Swap Used PageTop[myhost-mem]: <H1>Free Memory and Swap Used</H1> ShortLegend[myhost-mem]: bytes YLegend[myhost-mem]: bytes LegendI[myhost-mem]:  Free Memory: LegendO[myhost-mem]: Swap Used: Legend1[myhost-mem]: Free memory, in bytes Legend2[myhost-mem]: Swap Used, in bytes Options[myhost-mem]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง env LANG=C /usr/bin/mrtg/myhost-memory.cfgปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง indexmaker –column=2 –output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg โฟลเดอร์ที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ /u02/app/oracle/adump, /u02/app/oracle/diag/rdbms/regist/regist/alert, /u02/app/oracle/rdbms_trace ซึ่งเป็นโฟลเดอร์สำหรับเก็บ Log ไฟล์ต่างๆ ซึ่งอาจมีขนาดเพิ่มขึ้นจนระบบไม่สามารถให้บริการได้ และโฟลเดอร์ /u03 เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บ archive log (ในกรณีที่ฐานข้อมูลเปิด archive log mode) สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh มีข้อความว่า #!/bin/bash adump=$(du -sm /u02/app/oracle/adump|awk ‘{ print $1 }’) free=$(df -m /u02|grep u02|awk ‘{ print $4 }’) TEMP=$(uptime|grep -o “load average.*”|awk ‘{print $3}’|cut -d’,’ -f 1) LOAD=$(echo “${TEMP:-0} * 100″|bc|cut -d’.’ -f 1) TIME=$(uptime) echo “${adump}” echo “${free}” echo “$TIME” hostname สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg มีข้อความว่า WorkDir: /var/www/mrtg/myhost Target[myhost-misc1]:`/etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh` MaxBytes[myhost-misc1]: 20000000000 Title[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump PageTop[myhost-misc1]: Free disk space and

Read More »

ฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT และการเปลี่ยนแปลงเมื่ออัพเกรดไปใช้ Oracle 12c

ฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT นักพัฒนาบางท่านที่พัฒนาระบบบนฐานข้อมูล Oracle 10g หรือ 11g อาจจะผ่านตาหรือเคยใช้งานฟังก์ชัน  WMSYS.WM_CONCAT โดยฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการนำข้อมูลในฟีลด์เดียวกัน แต่อยู่ต่างเร็คคอร์ดมาเชื่อมต่อกันเป็นข้อมูลเร็คคอร์ดเดียว ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากตารางข้อมูลทดสอบ ชื่อว่าตาราง STATIONERY ซึ่งเก็บข้อมูลเครื่องเขียน โดยแยกเป็นสี และระบุจำนวนของเครื่องเขียนแต่และชนิดไว้ ดังนี้   ทดลองใช้คำสั่ง SELECT แบบปกติ ด้วยคำสั่ง SELECT WMSYS.WM_CONCAT(COLOR) COLOR_LIST FROM STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   แต่ในเง่การใช้งานส่วนใหญ่ มักจะต้องการแสดงข้อมูลสรุปเป็นกลุ่ม เช่น จากตัวอย่างนี้ ถ้าต้องการแยกข้อมูลสรุปเป็นกลุ่มตามชนิดเครื่องเขียน ว่าเครื่องเขียนแต่ละชนิดมีสีอะไรบ้าง ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการเพิ่มการ GROUP BY ตามฟีลด์ STATIONERY เข้าไป ดังนี้ SELECT STATIONERY, WMSYS.WM_CONCAT(COLOR) COLOR_LIST FROM STATIONERY GROUP BY STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   หรือหากต้องการข้อมูลสรุปตามสีของเครื่องเขียน ว่าแต่ละสีมีเครื่องเขียนชนิดใดอยู่บ้าง คำสั่งที่ใช้งานก็จะเป็น SELECT COLOR, WMSYS.WM_CONCAT(STATIONERY) STATIONERY_LIST FROM STATIONERY GROUP BY COLOR; ผลลัพธ์ที่ได้   ที่กล่าวไปข้างต้นคือการใช้งานฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT บนฐานข้อมูล Oracle 10g หรือ 11g แต่ถ้านักพัฒนาท่านใดวางแผนที่จะอัพเกรตฐานข้อมูลไปเป็น Oracle 12c  ท่านก็จะเจอกับปัญหาเมื่อมีการเรียกใช้งานฟังก์ชันนี้ โดยจะมีข้อความ error แจ้งกลับมาว่า  ORA-00904: “WMSYS”.”WM_CONCAT”: invalid identifier  นั่นเป็นเพราะใน Oracle 12c จะไม่มีฟังก์ชันนี้ให้เรียกใช้งานอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นในบทความนี้จะขอแนะนำฟังก์ชันอีกฟังก์ชันหนึ่งซึ่งทำงานคล้ายคลึงกัน และสามารถให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันกับฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT ซึ่งฟังก์ชันที่ว่านี้คือ LISTAGG   ฟังก์ชัน LISTAGG ฟังก์ชัน LISTAGG เป็นฟังก์ชันที่เริ่มมีให้ใช้งานใน Oracle 11g R2 ใช้งานในลักษณะเดียวกันกับ ฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะมีบางจุดที่แตกต่างกันออกไป จากตัวอย่างข้อมูลที่นำเสนอไปข้างต้น จากที่ใช้งานกับฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT ลองเปลี่ยนมาใช้ฟังก์ชัน LISTAGG ได้ดังนี้   ตัวอย่างแรกเป็นการทดลอง SELECT แบบปกติ SELECT LISTAGG(COLOR,’,’) WITHIN GROUP (ORDER BY COLOR) COLOR_LIST FROM STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   อธิบายการใช้งานคำสั่ง LISTAGG(COLOR,’,’)  ภายในวงเล็บเป็นฟีลด์ข้อมูลจากต่างเร็คคอร์ดกันแต่ต้องการให้แสดงเรียงต่อกัน ซึ่งในตัวอย่างนี้ก็คือฟีลด์ COLOR ส่วน ‘,’ ก็คือการระบุตัวคั่นระหว่างข้อมูล ซึ่งในทีนี้ใช้เป็นจุลภาคนั่นเอง WITHIN GROUP (ORDER BY COLOR) เป็นการระบุรูปแบบการเรียงข้อมูล ซึ่งในที่นี้จะเรียงตามฟีลด์ COLOR จากตัวอย่างจะเห็นว่าสิ่งที่ฟังก์ชัน LISTAGG ทำได้แตกต่างจาก WMSYS.WM_CONCAT คือ การระบุตัวคั่นระหว่างข้อมูล และการระบุการเรียงลำดับของข้อมูลที่มาต่อกันนั่นเอง   ตัวอย่างต่อมา จะให้แสดงผลลัพธ์แยกสรุปเป็นกลุ่มตามชนิดเครื่องเขียน ว่าเครื่องเขียนแต่ละชนิดมีสีอะไรบ้าง คำสั่งที่ใช้ก็จะใช้การ GROUP BY ด้วยฟีลด์ STATIONERY เช่นเดิม คือ SELECT STATIONERY, LISTAGG(COLOR,’,’) WITHIN GROUP (ORDER BY STATIONERY) COLOR_LIST FROM STATIONERY GROUP BY STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   ส่วนตัวอย่างสุดท้าย ก็จะเป็นการให้แสดงผลลัพธ์สรุปตามสีของเครื่องเขียน ว่าแต่ละสีมีเครื่องเขียนชนิดใดอยู่บ้าง คำสั่งที่ใช้งานก็จะเป็น SELECT COLOR, LISTAGG(STATIONERY,’,’) WITHIN GROUP (ORDER BY STATIONERY) LIST_STATIONERY FROM STATIONERY GROUP BY COLOR; ผลลัพธ์ที่ได้   ข้อมูลอ้างอิง : https://oracle-base.com/articles/misc/string-aggregation-techniques http://docs.oracle.com/cd/E11882_01/server.112/e41084/functions089.htm#SQLRF30030

Read More »

ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เงื่อนไข IN ในคำสั่ง SELECT บนฐานข้อมูล Oracle

สำหรับบทความนี้ จะนำเสนอข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้งานคำสั่ง SELECT บนฐานข้อมูล Oracle ซึ่งประสบมาจากการใช้งานจริงสองเรื่องด้วยกัน   เรื่องแรกจะเป็นข้อจำกัดในการใช้เงื่อนไข IN (value1,value2,value3,…) ในคำสั่ง SELECT  ส่วนอีกเรื่องจะเป็นเรื่องของข้อควรระวังในการใช้ IN ร่วมกับเงื่อนไขที่เป็น subquery ในคำสั่ง SELECT  เช่นกัน   การใช้คำสั่ง SELECT และเงื่อนไข IN นั้น เป็นรูปแบบคำสั่งพื้นฐานแบบหนึ่งที่นักพัฒนาที่ทำงานคลุกคลีกับฐานข้อมูลส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  โดยรูปแบบที่เรามักจะใช้งานกันบ่อย คือ รูปแบบที่ 1 รูปแบบ SELECT * FROM TABLE1 WHERE FIELD1 IN  (value1,value2,value3,…)  โดยผลลัพธ์จะเป็นรายการข้อมูลในตาราง TABLE1 ที่ค่าของข้อมูลใน FIELD1 มีอยู่ใน value1,value2,value3 ,… รูปแบบที่ 2 คล้ายกับรูปแบบที่ 1  นั่นเอง แต่จะเป็นการใช้ subquery แทนที่ (value1,value2,value3,…)   โดยมีรูปแบบ SELECT * FROM TABLE1 WHERE FIELD1 IN  (SELECT FIELD2 FROM TABLE2) สำหรับผลลัพธ์จะเป็นรายการข้อมูลในตาราง TABLE1 ที่ค่าของข้อมูลใน FIELD1 มีใน FIELD2 ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการ SELECT ข้อมูลจากตาราง TABLE2   ข้อจำกัดในการใช้เงื่อนไข IN (value1,value2,value3,…) สำหรับใน Oracle นั้น list รายการที่อยู่ภายในเครื่องหมายวงเล็บ สามารถมีได้มากสุดไม่เกิน 1000 ค่า  ซึ่งบางท่านอาจจะสงสัยว่าในการ SELECT ข้อมูลตามปกตินั้น มีโอกาสน้อยมากที่เราจะพิมพ์ค่าของข้อมูลใน list จนถึง 1000  ค่า แต่ก็มีโอกาสที่จะพบได้คือ เมื่อมีการใช้งานคำสั่งนี้ผ่านโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หน้าจอการทำงานของโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นชุดของรายการข้อมูลที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกเองได้ จากนั้นรายการที่ถูกเลือกจะถูกส่งไปแปลงเป็นเงื่อนไขในคำสั่ง SELECT  อีกครั้ง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกรณีที่มี list เกิน 1000 ค่า ได้นั่นเอง ในภาพด้านล่างจะเป็นตัวอย่างของเว็บสำหรับสืบค้นหนังสือของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการผลลัพธ์จากการสืบค้นและเก็บรวบรวมไว้เพื่อทำการ export ไปใช้งานต่อได้ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเลือกผลลัพธ์ได้เกิน 1000  รายการเกิดขึ้นได้ ถือว่าเป็นจุดหนึ่งที่ผู้พัฒนาควรระมัดระวังในการเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เงื่อนไข IN ลักษณะนี้ในคำสั่ง SELECT   ข้อควรระวังในการใช้ IN ร่วมกับเงื่อนไขที่เป็น subquery ในที่นี้ขอยกตัวอย่างข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน  โดยมีข้อมูลจากตารางสองตาราง คือ TABLE01 และ TABLE02 สำหรับ TABLE01 เป็นข้อมูลที่ต้องการ SELECT เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ส่วนตาราง TABLE02 จะเป็นเงื่อนไขที่จะใช้ใน subquery  ข้อมูลในตารางทั้งสองจะเป็นดังนี้   ข้อมูลใน  TABLE01 ข้อมูลใน  TABLE02   จะยกตัวอย่างกรณีการ SELECT ออกเป็น 2 กรณีดังนี้ ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 ด้วย คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 IN (SELECT F02 FROM TABLE02); ผลลัพธ์ที่ได้คือ ซึ่งถูกต้อง   ต้องการข้อมูลใน TABLE01 ที่ข้อมูลในฟีลด์ F02 ของตารางนี้ไม่มีในฟีลด์ F02 ของ TABLE02 โดยปรับคำสั่งจาก IN เป็น NOT IN คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM TABLE01 WHERE F02 NOT IN (SELECT F02

Read More »