วิธีการแก้ปัญหา JAuthentication::__construct: Could not load authentication libraries ใน joomla 2.5

สวัสดีครับวันนี้มาเขียนเรื่องการแก้ปัญหา joomla version 2.5 ที่ผู้ใช้ไม่สามารถ login เข้า back end ได้ ดัง error ที่ปรากฏดังนี้ JAuthentication: :__construct: Could not load authentication libraries ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นหากเป็น joomla version 1.5.xx  เก่าๆ ก็ไป jos_login  ซึ่งหาเจอง่ายมาก แต่นี่เวอร์ชั่นใหม่มันไปหลบซ่อนอยู่ที่   rwyai_extensions > plg_authentication_joomla (อยู่หน้าที่3)>เลือก edit ปรับ enable จาก 0 ให้เป็น 1 และก็ save จากนั้นท่านก็จะสามารถเข้าไปใช้งานฝั่ง back end ของ joomla 2.5 ได้เหมือนเดิมแล้วครับ

Read More »

วิธีย้ายบล็อก wordpress ไปเครื่องใหม่ชื่อโดเมนเนมใหม่

บันทึกขั้นตอน (ตัวอย่าง) ในการย้ายบล็อก wordpress จากเครื่องเดิม sysadmin.in.psu.ac.th ไปยังเครื่องใหม่ โดเมนเนมใหม่ sysadmin.psu.ac.th เนื่องจากเครื่องเดิมจะมี resources ไม่เพียงพอ และต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมอันใหม่ที่หลายคนว่าดูเหมาะสมและชื่อสั้นกว่า งานนี้บอกได้เลยว่าเล่นเอาเหงื่อตกเลย เพราะคิดว่าย้ายแบบ Joomla! ก็น่าจะได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ครับ สุดท้ายสำเร็จกับการติดตั้ง Duplicator Plugin ไว้ที่เครื่องเดิมก่อน แล้วสร้าง backup ไว้นำมา restore ลงในเครื่องใหม่ เนื้อหาค่อนข้างยาวสักนิด ผมมีเจตนาอยากให้เห็นว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งอัน เราต้องใช้ความรู้พอสมควร และที่ทำส่วนใหญ่ก็อ่านจากเว็บไซต์ของพี่วิภัทร นั่นคือ opensource.psu.ac.th นี่แหล่ะครับ เริ่มต้นจากกำหนดจำนวน resources ที่จำเป็นใช้ เพราะว่าจะไปขอใช้ Virtual Machine ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ขอไว้คือ RAM 2 GB, Hard disk 40 GB, OS Ubuntu 12.04.1, TCP Port 80,443 แล้วกรอกในแบบฟอร์ม งานบริการเซิร์ฟเวอร์ก็สร้าง VM ให้ที่ทำการอัปเดต OS ให้แล้ว แจ้ง username ให้เข้าใช้งานผ่าน ssh เมื่อ ssh เข้าได้แล้ว เข้าทำงานในสิทธิ root ด้วยคำสั่ง sudo su – ทำการติดตั้ง Apps ที่จำเป็น ผมเลือก LAMP คือชุดรวมของ Linux, Apache, MySQL และ PHP ที่จำเป็นต้องใช้กับ wordpress ด้วยคำสั่ง tasksel เลือก LAMP จะมีคำถาม รหัสผ่านของ MySQL root ให้ตั้งที่จะจำได้ ติดตั้งส่วนเพิ่มเติมของ php เพิ่มด้วยคำสั่ง apt-get install php5-gd php5-imap php5-ldap php5-radius ติดตั้ง unzip เพิ่มด้วยคำสั่ง apt-get install unzip ปรับแต่ง apache2 ให้ใช้งานแบบ module rewrite sudo a2enmod rewrite ต่อไปก็มาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ http และ redirect http โดยแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default <VirtualHost *:80> ServerAdmin webmaster@localhost ServerName sysadmin.psu.ac.th           <==== เพิ่มบรรทัดนี้ DocumentRoot /var/www/wordpress … <Directory /var/www/wordpress> Options Indexes FollowSymLinks MultiViews AllowOverride All             <==== แก้ไขบรรทัดนี้จาก None เป็น All Order allow,deny allow from all </Directory> …     ที่เหลือเหมือนเดิม </VirtualHost> เพิ่มบรรทัดข้างล่างนี้ เพื่อให้ยังคงมีการ redirect ไปยังที่ใหม่หากใช้ชื่อเก่า <VirtualHost *:80> ServerName sysadmin.in.psu.ac.th Redirect / http://sysadmin.psu.ac.th/ </VirtualHost> ต่อไปมาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ https สั่งเปิด module ssl ด้วยคำสั่ง a2enmod ssl คัดลอกแฟ้ม PSU SSL certificates (file_a.crt, file_b.key และ

Read More »

KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress

KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress ในวันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องต่างๆดังนี้ การเขียนเนื้อเรื่อง หลังจากมีเรื่องที่จะเขียน ให้ login เข้า โดยไปที่เมนูด้านบน “เขียนเล่าเรื่อง” คลิก Add New ที่ช่องตั้งชื่อเรื่อง ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องที่เขียนนี้คือ “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress” ผมก็ตั้งเป็นว่า “KM How to authoring in wordpress” แล้วสังเกตที่บรรทัด Permalink มันตั้งให้เสร็จ สวยด้วย แล้วกลับไปแก้ไขเป็นชื่อภาษาไทย ตัวเอดิเตอร์ที่ใช้งานสามารถทำฟังก์ชันนี้ได้ คือ หากข้อความที่เขียนยาวมากๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือ Insert More Tag เพื่อแทรกแบ่งไปหน้าถัดไป อย่าลืมเพิ่ม Categories ของเรื่อง อยู่ทางด้านขวามือนะครับ รวมถึงเพิ่ม Tags ด้วยเพื่อใช้เป็นคำค้นนั่นเอง แล้วคลิก Add ด้วย โปรแกรม WordPress สามารถเก็บข้อความรอให้เขียนครบถ้วนก่อน เรียกว่า Save Draft ทำให้ได้ผลงานมากขึ้น คลิก View Post เพื่อดูว่าหากเผยแพร่โดยคลิก Publish แล้วผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นอย่างไร การปรับแต่ง สำหรับ Profile ของผู้เขียน ถ้าใส่รายละเอียดในช่อง Biographical Info (อยู่ด้านล่าง) ไว้ เมื่อเผยแพร่ Post ไปแล้ว ผู้อ่านทั่วไปจะเห็นว่าผู้เขียนคือใคร มีอะไรที่ผู้เขียนอยากให้รู้เกี่ยวกับผู้เขียน และ อย่าลืมใส่รูปภาพที่คลิก Update Picture ด้วย หรือหากเคยสมัคร GRvatar ไว้แล้วก็ไม่ต้อง wordpress จะไปเอารูปภาพมาใส่ให้เอง

Read More »

Joomla Folder 777

ก่อน เปลี่ยนต้องเปลี่ยน Site Offline เป็น yes ก่อนทุกครั้ง โดยการแก้ configuration.php แก้ไขบรรทัดที่เขียนว่า public $offline = ‘0’; เปลี่ยนเป็น public $offline = ‘1’; โฟลเดอร์ที่ต้องเปลี่ยน permission เป็น 777 หรือเปลี่ยนให้ apache (www-data สำหรับ ubuntu) เป็นเจ้าของในระหว่างติดตั้ง component, module, language ได้แก่

Read More »