เทคนิคการวัดความเร็วในการตอบอีเมลลูกค้า

ถ้ามี KPI ที่ต้องทำให้สำเร็จคือ “ร้อยละของปัญหาที่ตอบกลับลูกค้าภายใน 2 วันทำการ” แล้ว … ช่องทางที่รับปัญหาจากลูกค้าคือ ทางอีเมล (ในที่นี้เป็นบริการอีเมลบนระบบของ Google Mail หรือ Gmail) โดยการตอบกลับ คือ การ Reply กลับไปหาลูกค้า เวลาที่นับคือ นับตั้งแต่เวลาที่อีเมลเข้ามาถึง จนกระทั่งมีการตอบกลับไปหาลูกค้าทางอีเมลฉบับแรก สำหรับคนที่ใช้ Google Mail หรือ Gmail อยู่ สามารถใช้ Google Sheets ทำรายงานได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ไปที่ drive.google.com (ให้ Login ด้วย Account ที่ต้องการด้วย) 2. สร้าง Google Sheets แล้วตั้งชื่อตามต้องการ เช่น Report 3. ไปที่เมนู Tools > Script Editor 4. ตั้งชื่อ Project ว่า report แล้ววางโค๊ดต่อไปนี้ลงไป   function reportResponseTime() { // ถ้าจะทำรายงานทั้ง Inbox ให้ uncomment บรรทัดต่อไปแทน //var threads = GmailApp.getInboxThreads(); // ถ้าจะทำรายงานเฉพาะ Lable ที่เตรียมไว้ ในที่นี้ใช้ Label “support-psuemail” var threads = GmailApp.search(‘label:support-psuemail ‘); for (var i = 0; i < threads.length; i++) { // วนลูปแต่ละ Thread if (threads[i].getMessageCount() > 1) { // สนใจเฉพาะ Thread ที่มีการตอบกลับเท่านั้น var messages = threads[i].getMessages(); // Subject ของอีเมล var d1= messages[0].getDate().getTime(); // เวลาที่อีเมลเข้ามา var d2= messages[1].getDate().getTime(); // เวลาที่ตอบกลับฉบับแรก var diff = (d2-d1)/(1000*60*60); // ระยะเวลาหน่วยเป็น ชั่วโมง // เขียนต่อท้าย Sheet ที่กำลังใช้งาน SpreadsheetApp.getActiveSheet().appendRow([messages[0].getSubject(), messages[0].getDate(), messages[1].getDate(), diff]) } } }     5. คลิก Run > reportResponseTime (หากมีหน้าจอ Consense ต่างๆขึ้นมาให้ Allow ไป) 6. ผลจะปรากฏใน Sheet ที่เปิดไว้ 7. จากนั้นสามารถเอาผลไปคำนวนต่อ เช่น ร้อยละของอีเมลที่ตอบสนองภายใน 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน เป็นต้น และสามารถตอบคำถามได้ว่า ทำไมบางฉบับใช้เวลาเกิน 48 ชั่วโมง (อาจจะเป็นเพราะติดเสาร์อาทิตย์เป็นต้น) *** กรุณาอ้างอิงด้วยนะครับ หากนำไปเผยแพร่ต่อ ***

Read More »

สร้าง Form ลงทะเบียนออนไลน์ด้วย Google Form (รูปแบบใหม่) ให้ตอบรับผ่านทางอีเมลโดยอัตโนมัติ พร้อมปิด Form อัตโนมัติเมื่อครบเต็มจำนวน

จากที่ผมเคยได้เขียนวิธีการสร้างแบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์ด้วย Google Form ให้ตอบรับผ่านทางอีเมลโดยอัตโนมัติ มาวันนี้ ทาง Google ได้เปลี่ยนรูปแบบการสร้าง Form ใหม่ทั้งหมด จึงทำให้วิธีการสร้างแบบฟอร์มออนไลน์แบบเก่านั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นเรามาดูวิธีการสร้าง Google Form แบบใหม่กันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร ซึ่งต้องขอบอกว่า “มันง่ายมากๆ” 1. คลิก Google Forms  เพื่อสร้างแบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์ 2. ใส่รายละเอียด ข้อมูล รูปแบบ ในแบบลงทะเบียนตามที่ต้องการ (รูปแบบใหม่สามารถใส่ภาพที่เราออกแบบไว้ได้แล้วนะครับ โปสเตอร์ แบนเนอร์ ต่างๆ) + เราสามารถแบ่ง Form ของเราออกแบบเป็นหลายๆ section ได้นะครับ กรณีที่มีข้อมูลให้ต้องกรอกจำนวนมาก 3. ติดตั้ง Add ons… Add ons ที่ผมจะติดตั้งนั้น มีด้วยกัน 2 อย่าง ดังนี้ A. Form Confirmation Emails  คือ ระบบตอบรับการลงทะเบียนผ่านทางอีเมลอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้ลงทะเบียนผ่านฟอร์มเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งเมลตามที่เราตั้งค่าไว้ไปให้ทางอีเมลที่ระบุไว้ B. FormLimiter  คือ การปิดแบบฟอร์มลงทะเบียนอัตโนมัติ เมื่อมีผู้ใช้ลงทะเบียนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยจะมี icons เพิ่มขึ้นมา ดังภาพ 4. กำหนดรูปแบบการส่งเมลตอบรับอัตโนมัติ แบบฟอร์มตัวอย่างที่นำเสนอนั้น มีช่องให้ใส่ข้อมูล 3 อย่าง ดังภาพ (แนะนำให้ตั้งชื่อ Field ให้เป็นภาษาอังกฤษครับผม) เริ่มต้นตั้งค่า คลิกเลือก Form Confirmation Emails > Configure confirmations จากนั้นจะมีกล่องขึ้นมาให้มุมล่างขวา เพื่อให้กำหนดค่าต่างๆ คลิกเลือก Send Confirmations  กำหนดชื่อผู้ส่ง และรูปแบบการส่งเป็น E-mail <คลิก Continue> Email subject กำหนดชื่อหัวข้อของเมลที่ต้องการส่ง Email body เป็นการกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่จะส่งไป ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ HTML (สามารถดูตัวอย่างจาก Code ด้างล่าง) ถ้าใครมีรูปแบบอื่นก็สามารถทำได้ครับ ผมทำแบบง่ายๆ เมื่อกำหนดรูปแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม Save เป็นอันเสร็จสิ้น <html> <head> <meta charset=”UTF-8″> <title>TELL ME MORE PSU</title> </head> <body> <p>เรียนคุณ: ${“Name-Surname”}</p> <p> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ตามที่ท่านได้สมัครเข้าร่วมอบรม หลักสูตร TOEIC (เตรียมความพร้อมการสอบ)<br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>กลุ่มที่ 2  หลักสูตร TOEIC นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา<br> </strong></span><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ณ ห้องอบรม 1 ชั้น 8  อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC1)</strong><br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>เริ่มเรียน : 13 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2559 (เวลา 13.30 – 15.30 น.)</strong></span><br><br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #0099FF”>เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์เข้ารับการอบรม<br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;กรุณาตอบกลับผ่านทาง E-mail :</span> tmmpsu@gmail.com</a> ด้วยค่ะ<br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 หรือจนกว่าครบตามจำนวนที่กำหนด) รับจำนวน 25 คนเท่านั้น <br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<strong style=”color: #FF0004″>ขอสงวนสิทธิ์ให้กับผู้ที่ได้ยืนยันสิทธิ์ในการเข้าอบรมผ่านทางอีเมลก่อน</strong><br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>ติดตามการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมโครงการอีกครั้งได้ที่: </strong></span><a href=”http://clpd.psu.ac.th/” target=”_blank”>http://clpd.psu.ac.th/</a><br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-7428-9207<br> <br> <br> ขอบคุณสำหรับการเข้าร่วมโครงการค่ะ<br> <br> ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br> โทรศัพท์ : 0-7428-9207<br>

Read More »

วิธีทำให้อีเมลของ psu.ac.th ไม่ไปอยู่ใน Spam ของ Gmail

ปัญหา: ผู้ใช้แจ้งว่าอีเมลจาก PSU ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคลหรือ จาก group mail มักจะหลุดไปอยู่ใน Spam ของ Gmail วิธีการแก้ไข: ในช่อง Search ของ Gmail จะมี Search Options ให้คลิกตามภาพ 2. ในช่อง From ใส่คำว่า psu.ac.th แล้วคลิก Create filter with this search 3. คลิก Never send it to Spam แล้วคลิก Create Filter

Read More »

psuautosigned for windows?

เช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2558 คุณ คณกรณ์ post ถามไว้ในกลุ่ม PSU Sysadmin บน facebook ว่า เรียนสอบถาม (จะได้ไม่ต้องทำซ้ำ) บน windows 10 ใครมี script ให้ทำการ auto authentication บ้างไม๊ครับ บางเครื่องต้องเปิดค้างไว้ข้ามวัน จะได้เข้ามาดูทางไกลได้ น่ะครับ ตอนนี้ใช้ team viewer ก็ยังติดเรื่องนี้อยู่ดี ขอบคุณครับ มีคุณ Thanongdat Noosrikaew กับคุณ ป้อม เภสัชฯ (Siripong Siriwan)  มาเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา แต่ดูเหมือนจะไม่ตรงกับที่เจ้าของคำถามต้องการสักเท่าไหร่ ผมอ่านแล้วก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผมจะต้องตอบคำถามนี้ ผมมีทางเลือกอะไรบ้าง? คำตอบที่มีให้กับตัวเองก็คือ หากินกับของเก่าที่เคยทำเอาไว้แล้ว … คือ… มีคำสั่งคำสอน ที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่ยุคโบราณกาลครั้งเก่าโพ้น ในชนเผ่า sysadmin ว่า sysadmin ที่ดีจะเป็นคนขี้เกียจ อะไรที่ได้ทำไว้แล้ว และยังเอามาใช้ได้ ก็ไม่ควรที่ทำขึ้นมาใหม่ … อันนั้น เป็นเรื่องที่ผมได้ยินมานะครับ จะเชื่อถือได้แค่ใหนก็แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะได้พิจารณากัน ผมก็เลยพยายามทำตัวเป็น admin ขี้เกียจ .. เฮ่ย ไม่ใช่ เป็น admin ที่ดี ซึ่ง … ก็คือ ขี้เกียจน่ะแหละ -_-” มีอะไรที่เคยทำเอาไว้แล้ว ก็เอามา recycle ขายใหม่ ถ้าขายได้ … เราต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม … เกี่ยวกันใหม? คำตอบแรกที่ผมคิดได้ก็คือ ถ้า ยังหา solution บน Windows โดยตรงไม่ได้ และ ไม่รังเกียจที่จะติดตั้ง cygwin เพิ่มเข้าไปบนตัว windows ผมคิดว่า psuautosigned ที่เขียนไว้สำหรับ Linux ก็น่าจะพอดัดแปลงให้ใช้งานบน Windows ได้ครับ ฟังก์ชัน หลักๆ ต้องการแค่ shell ซึ่งอาจจะเป็น cmd.exe ของ windows เองก็ได้ กับโปรแกรมที่ชื่อว่า curl ครับ โปรแกรมอย่างอื่นเป็นแค่ตัวประกอบ แต่ทั้งหมด รวมทั้ง shell และ curl มีอยู่ใน cygwin อยู่แล้ว ผมไม่มีเครื่องที่ใช้งาน windows 10 ให้ลอง ถ้าจะช่วยทดสอบให้ ผมก็ยินดีที่จะแก้ script ให้รองรับ windows 10 ด้วยครับ โปรแกรม psuautosigned ที่ผมอ้างถึงคือ ตัวนี้ ซึ่งเคยเขียนถึงเอาไว้แล้ว ที่นี่ , ที่นี่, ที่นี่, และ ที่นี่ … ซึ่ง มาคิดดูอีกที เยอะแฮะ กับ script ตัวเดียวทำไมจะต้องเขียนบันทึกเกี่ยวกับมันหลายบันทึกด้วยก็ไม่รู้ จะว่าไป บันทึกนี้เอง ก็นับเป็นหนึ่งในชุดนี้ด้วยแหละ ส่วน cygwin ก็คือ https://www.cygwin.com/ เป็น tools สำหรับ Windows ให้สามารถใช้งานได้เหมือน(หรือใกล้เคียงมากๆ) กับการใช้ชีวิตอยู่บน Unix Command Line … ซึ่งเนื่องจาก script psuautosigned พัฒนาและใช้งานบน Linux ถ้าจะให้เอาไปใช้งานบนเครื่อง Windows 10 ได้ตามความต้องการของคุณหนุ่ม ก็ต้องการเครื่องมือเหล่านี้ มาช่วยด้วย นั่นหมายถึงว่า ถ้าจะเอาไปใช้ จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม และ ถึงแม้ว่า cygwin จะสร้างสภาพแวดล้อมแบบ Unix บนเครื่อง Windows เจ้าตัว script ที่ผมเขียน และ ทดสอบบน Debian Linux ก็จะยังไม่สามารถเอาไปใช้งานได้ทันที มันจะต้องการแก้ไขบางส่วนแน่ ๆ พอนั่งทบทวนไปสักพักว่ามีส่วนใหนที่จะต้องแก้ไขบ้าง จากความจำที่ค่อนข้างลางเลือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ cygwin

Read More »