ใช้มือถือแทน Mouse และ Keyboard ก็ได้นะ

ชีวิตคนทำงาน Office ที่ต้องใช้ Computer เป็นประจำทุกวัน ทำงานกันอย่างหนักหน่วง ถ้าเกิด Mouse หรือ Keyboard ที่ใช้งานอยู่ มีปัญหาหรือเสียหายขึ้นมา จะทำยังไง? ส่งซ่อมหรือออกไปหาซื้อใหม่ ก็ทำให้เสียเวลาวันนี้เรามีวิธีมาช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เปลี่ยนมือถือคุณเป็น Mouse และ Keyboard แบบ WiFi ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทั้ง Windows และ Mac รวมถึงคุมมือถือ iOS และ Android ได้ด้วย สามารถพิมพ์ผ่านมือถือได้ เพียงลง Application WiFi Mouse ลงบนเครื่อง iOS หรือ Android และคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นด้วย1. Download Application ที่ชื่อว่า WiFi Mouse มาไว้ที่มือถือของเรา ซึ่งสามารถ Download ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android 2. Download โปรแกรมที่ http://wifimouse.necta.us/ มาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยเลือก Download ตาม OS ที่เราใช้งาน  3. หลังจากติดตั้งให้เรียบร้อย จะได้โปรแกรม Mouse Server บนคอมพิวเตอร์ และ Application WiFi Mouse บนมือถือ ดังรูป 4. เริ่มต้นการใช้งาน มือถือและ เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเชื่อมต่อ ให้อยู่ใน WiFi วงเดียวกัน จากนั้นให้เปิดโปรแกรมและ Application ที่ติดตั้งนั้นขึ้นมา จะปรากฏชื่อคอมพิวเตอร์ของเราบนมือถือ เพื่อให้เลือกใช้งาน ดังรูป   5. เมื่อเลือกเข้าใช้งานที่ชื่อคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว มือถือของเราก็จะกลายเป็น Mouse และ Keyboard ได้ทันที…..ว้าวววว 6. สำหรับ Function ที่สามารถใช้งานได้ฟรี มีดังนี้– Keyboard – Presentation – File Browser – Browser – Screen Picture เมื่อคลิกจะสามารถ Capture หน้าจอที่เราต้องการไปวางไว้บนหน้า Desk top – Applications – Shutdown ชีวิต คนทำงานง่ายขึ้นเยอะ ไว้มา update เคล็ดลับดี ๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้กันอีกนะคะขอบคุณ : ความรู้ดีๆ จาก Youtube

Read More »

ว่าด้วยการนับแถวข้อมูลใน ORACLE

              การนับแถวข้อมูล (Row Count) ในตารางข้อมูล (Table) บน ORACLE จะใช้คำสั่ง SQL พื้นฐานคือ                             SELECT COUNT(*) FROM table_name;               แต่ในบางครั้งข้อมูลที่ไม่ปกติหรือการเพิ่มพารามิเตอร์ในคำสั่ง COUNT อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ดังตัวอย่าง               จากภาพเป็นการเพิ่มตารางข้อมูล และเพิ่มข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกันคือ เพิ่มข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลที่เป็น NULL ทั้งสิ้น 7 rows               เมื่อใช้คำสั่งเรียกดูข้อมูลและนับจำนวนข้อมูลพบว่าข้อมูลถูกแสดงถูกต้อง และสามารถนับได้ 7 rows ถูกต้อง               เมื่อใช้พารามิเตอร์ ALL ในคำสั่ง COUNT จะพบว่าสามารถนับได้ 5 แถว ซึ่งจะหมายถึงการนับเฉพาะแถวที่มีค่าข้อมูล (ยกเว้นแถวที่มี F1 เป็น NULL)               การทำงานโดยใช้คำสั่ง SELECT COUNT( ALL f1) FROM table1; จะให้ผลการทำงานเหมือนกับการนับโดยระบุเงื่อนไข SELECT COUNT(*) WHERE f1 IS NOT NULL; ดังรูป               เมื่อใช้พารามิเตอร์ DISTINCT ภายในคำสั่ง COUNT จะพบว่าผลการนับจะแสดงค่าที่ไม่ซ้ำเท่ากับ 4 (ค่าที่นับได้คือ 1,2,3,4) ค่า NULL ใน Row=5,7 ไม่ถูกนับเนื่องจาก NULL ไม่มีค่า               สรุปในเบื้องต้นการนับจำนวนแถวใน ORACLE โดยใช้คำสั่ง COUNT นอกจากจะนับจำนวนแบบง่ายด้วยคำสั่ง COUNT(*) แล้ว เราสามารถระบุพารามิเตอร์ให้มีค่าเป็น ALL หรือ DISTINCT ก็จะให้ผลลัพธ์ของการทำงานที่แตกต่างกันได้

Read More »

การใช้งานหน่วยเวลาใน ORACLE ระดับมิลลิวินาที

              การใช้งานประเภทเวลาใน ORACLE ที่เราใช้งานปกติคือข้อมูลประเภท Date (Data Type=Date) ซึ่งจะเก็บข้อมูลที่มีหน่วยเล็กที่สุดคือ วินาที (second)               การใช้งานระบบที่มีผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆกัน ในบางครั้งหน่วยวินาทีอาจไม่ละเอียดพอ จำเป็นต้องใช้หน่วยเวลาที่เล็กกว่าวินาทีคือมิลลิวินาที (1000 มิลลิวินาที = 1 วินาที) ซึ่งใน ORACLE ได้จัดเตรียมข้อมูลประเภทนี้ไว้ให้คือ Timestamp ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการสร้างเป็นคอลัมน์ในตารางข้อมูลหรือเป็นตัวแปรใน PL/SQL ดังตัวอย่าง การใช้งาน Timestamp ใน SQL               จากรูปจะสร้างฟิลด์ประเภท NUMBER, DATE และ TIMESTAMP (ที่ระดับความละเอียด 6 digits) โดยฟิลด์ DATE กำหนด Default Value = SYSDATE และ TIMESTAMP กำหนด Default = SYSTIMESTAMP               เมื่อเพิ่มข้อมูลโดยระบุค่าในฟิลด์ ID ค่าในฟิลด์ Date1, Date2 จะถูกป้อนค่าอัตโนมัติดังรูป โดยจะเห็นค่าความละเอียดของหน่วยเวลาที่แตกต่างกันของทั้งสองฟิลด์ดังรูป               จากรูปจะพบว่าค่าในฟิลด์ Date1 มีค่าเวลาหน่วยวินาทีเท่ากับ 38 ส่วน Date2 มีค่าเวลาหน่วยวินาทีเป็น 38.779               ทดสอบการเพิ่มข้อมูลเพื่อดูค่าเวลาในฟิลด์ Timestamp โดยเพิ่มข้อมูลและหยุด 100 มิลลิวินาที ก่อนเพิ่มรายการถัดไป               จากรูปจะพบว่าค่า Date1 ของรายการ 2,3 มีค่าเท่ากันในขณะที่ Date2 (Timestamp) มีค่าต่างกัน การใช้งานตัวแปรประเภท Timestamp ใน PL/SQL               นอกจาก Timestamp สามารถใช้งานในคำสั่ง SQL แล้ว ยังสามารถใช้งานได้ใน PL/SQL ได้อีกด้วยดังรูป               จากรูปเป็นการสร้างตัวแปรประเภท Timestamp และนำค่าข้อมูลในฟิลด์ข้อมูลมาจัดเก็บและแสดง               จากบทความนี้สามารถสรุปได้ว่า สามารถใช้งาน Data Type ประเภท Timestamp บน ORACLE เพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีผู้ใช้งานระบบหลายคนพร้อมๆกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน่วยเวลาที่มีความละเอียดกว่าวินาที

Read More »

Youtube ~ Checks !!

Hi ผู้อ่านทุกๆ ท่านนนนนนน ช่วงนี้เป็นช่วงการระบาดระลอกใหม่ ของ COVID-19 ซึ่งเรื่องที่ตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เรื่องนึงเลยก็คือ การต้องทำงานแบบ WFH นั่นเอง !! (เฮ้อ ….) ส่วนตัวของผู้เขียนงานหลักๆ ในช่วงนี้ก็จะเป็นการอบรมออนไลน์ และสร้างสื่อวิดีโอ เพื่อแนะนำการใช้งานง่ายๆ ของระบบที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ โดยผู้เขียนเลือกจะที่ใช้ช่องทางการเผยแพร่วิดีโอ ผ่าน Youtube ซึ่งสะดวก และง่ายต่อการเข้าถึง ล่าสุด Youtube เหมือนจะมีเครื่องมือใหม่คือ Youtube Studio ที่มีส่วนเข้ามาช่วยตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ของวิดีโอ ตั้งแต่ในส่วนขั้นตอนการอัปโหลด ก่อนการเผยแพร่ออกไป ซึ่ง … เฮ้ย มันโอเคเลยนะ ที่เราจะรู้ว่าวิดีโอเรามีการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ หรือไม่ ไม่ใช่อัปโหลดแล้ว คนอื่นมาดูแล้ว แต่เพิ่งได้รับแจ้งว่าเนื้อหาภายในมีการละเมิดลิขสิทธิ์ !! (ตัวผู้เขียนเองก็เคยโดนอยู่บ่อยๆ แหะๆ) แล้วขั้นตอนการตรวจสอบทีว่าเพิ่มเข้ามาเนี่ย มันอยู่ตรงไหน ? งั้นไป ไปดูกันเลย …. ขอเริ่มต้นด้วยขั้นตอนหลักๆ ในการอัปโหลดวิดีโอ กันก่อนนะ ทุกคน ขั้นตอนที่ 1 เลือก “อัปโหลดวิดีโอ” ขั้นตอนที่ 2 เลือกวิดีโอที่ต้องการอัปโหลด ขั้นตอนที่ 3 อัปโหลดวิดีโอ เตรียมเผยแพร่ ทุกคนสังเกตุ เห็นอะไรมั้ย …. นั่นไง ส่วนที่เขียนว่า “ตรวจสอบ” (Checks) เมื่อระบบประมวลผลเรียบร้อยแล้ว หากวิดีโอของเราที่อัปโหลดขึ้นไป ได้รับการตรวจสอบเบื้องต้น และพบว่าผ่าน ตรงส่วน “การตรวจสอบ” ดังกล่าวจะขึ้นเครื่องหมายถูก เหมือนตัวอย่างในภาพ จากนั้นให้เรากดปุ่ม “ถัดไป” เมื่อเราคลิกมาจนถึงส่วนของการตรวจสอบ ภายในก็จะมีข้อความบอกเราถึงรายละเอียดในการตรวจสอบลิขสิทธิ์ พบ/ไม่พบปัญหา และเราก็ยังสามารถคลิก “ดูข้อมูลเพิ่มเติม” เพื่อศึกษารายละเอียดได้มากยิ่งขึ้นด้วยนะ เจ้าตัวเครื่องมือ Checks เนี่ย หลักๆ เลยจะทำหน้าที่ตรวจสอบวิดีโอที่เราอัปโหลด ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านลิขสิทธิ์หรือไม่ ที่พบโดยส่วนใหญ่เลยคือพวกเพลงที่ใช้ประกอบในวิดีโอของเรานั่นแหละ ข้อดี ของเจ้าตัวเครื่องมือใหม่นี้ จะช่วยให้เราๆ หรือชาว youtuber, creator ได้มีโอกาสแก้ปัญหาในวิดีโอของเราก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการเผยแพร่ จะแสดงให้เราเห็นรายละเอียดของปัญหา และผลกระทบที่จะมีตามมาได้ หรือง่ายๆ เลย Checks จะช่วยปกป้องตัวเราให้ไม่ต้องไปเผชิญกับปัญหาการร้องเรียนการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยมิได้ตั้งใจนั่นเอง ผู้เขียนหวังว่า blog สั้นๆ ที่ได้นำมาเล่าสู่กันฟังนี้จะช่วยให้ผู้อ่านหลายๆ ท่าน ได้รับรู้ข้อมูล และนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยแหละเนอะ ขอบคุณแหล่งที่มา : youtube.com มานะที่นี้ด้วยแง๊บบบบ

Read More »

สร้างไฟล์ PDF จาก Google sheet ที่ใส่รูปได้ ด้วย Library PdfService

สมมติเรามีแบบสอบถามที่เก็บรูปภาพของผู้กรอกด้วย และเราต้องการให้มัน Gen ข้อมูลที่กรอกเป็น pdf เก็บไว้ แนว ๆ ทำเป็นใบสมัครออกมา มาดูขั้นตอนวิธีทำกันเลย บอกเลยว่าไม่ยาก!!! เริ่มกันเลย 1. ไปที่ Google Drive ของเรา สร้าง Folder จัดเก็บงาน ในที่นี่ชื่อ PDF Test 2.สร้าง Form ขึ้นมา 1 form เก็บข้อมูล ดังรูป ชื่อ สกุล อีเมล เบอร์โทร รูป (ทำเป็นอัปโหลดไฟล์) 3.คลิกแสดงตัวอย่างที่ลูกตา แล้วลองใส่ข้อมูลทดสอบ 4.ดูตัวอย่างข้อมูลที่แท็บการตอบกลับ 5.คลิกปุ่ม สร้างสเปรตชีต จะเห็นข้อมูลตัวอย่างที่เราได้กรอกแบบฟอร์มเข้าไป จากนั้นนำข้อมูลนี้ไปทำ pdf ได้อย่างไร 1.ให้ไปที่เมนูเครื่องมือ > โปรแกรมแก้ไขสคริปต์ > ทรัพยากร > ไลบรารี ที่ Add a library ให้ใส่ 1iePjnglUzelAuJJb-QykRcUUWYBSKiNGUWVljnNe03G9zWzSUGIRWLXa แล้วกดปุ่มเพิ่ม 2.เราจะเห็น PdfService ให้ระบุเป็น Version ล่าสุด จากนั้นกดปุ่ม บันทึก ในที่นี้จะขอใช้ google slide เป็น Templete ในการออก PDF 1.กลับไปที่ Google drive ที่ folder ที่เราได้สร้างไว้คือ PDF Test ให้คลิกขวา > Google สไลด์ 2. ตั้งค่าหน้า slide เป็นแนวตั้ง A4 ไปที่ ไฟล์ > ตั้งค่าหน้ากระดาษ > กำหนดเอง 21 * 29.7 cm 3.เราต้องการออก PDF ที่เก็บรูปภาพด้วย เพราะมีการตอบรูปภาพเข้ามา ไปที่แทรก > รูปภาพ > อัปโหลดจากคอมพิวเตอร์ จะได้เป็นรูปที่เป็นแม่แบบ เราก็จัดวางตามที่เราต้องการว่าจะให้วางไว้ตรงส่วนไหน ขนาดกว้าง ยาวเท่าไหร่แล้วแต่เรากำหนด 4.จากนั้นคลิกที่กล่องข้อความ สร้างตามรูป โดยในปีกกา {} ต้องเป็นชื่อเดียวกับฟิลด์ใน google sheet 5.จากนั้นคลิกที่รูป ขวา > ข้อความแสดงแทน > ที่ชื่อเรื่องใส่ชื่อฟิลด์ที่ตรงกับช่องที่มีรูปภาพตามใน google sheet จากตัวอย่างในที่นี้จะเป็นคำว่า “รูปภาพ” จากนั้นคลิกปุ่มตกลง 7. ไปที่ Google drive สร้าง folder ใหม่อีกอัน ซึ่งจะให้ไฟล์ PDF ถูกจัดเก็บเข้ามาในนี้ และ folder ที่อัปโหลดรูปในแบบสอบถาม PDF Test (File responses) จะต้องแชร์ folder นี้ด้วย (คลิกขวา แชร์ ทุกคนที่มีลิงค์) ไม่อย่างนั้น script จะ error ไปที่ Google drive สร้าง folder ใหม่อีกอัน ซึ่งจะให้ไฟล์ PDF จะถูกเก็บเข้ามาในนี้ และ folder ที่อัปโหลดรูปในแบบสอบถามจะให้มาอยู่ใน folder PDF Test ที่เราได้สร้างไว้ตั้งแต่ตอนแรกสุด จะต้องแชร์ด้วย folder นี้ (คลิกขวา แชร์ ทุกคนที่มีลิงค์) ไม่อย่างไร script จะ error จากนั้นเรามาเขียน code กันเล็กน้อย จากรูป 1.เป็น ID ของ google form ให้คัดลอกมาหลัง /d จนก่อนถึง /edit 2.เป็น ID ของ

Read More »