การใช้ grant และ grant with grant option ใน Oracle

การใช้คำสั่ง grant โดยทั่วไปเมื่อต้องการให้สิทธิ์สำหรับดำเนินการกับ object ใด ๆ ของ user หนึ่งให้กับอีก user หนึ่ง จะใช้คำสั่งคือ grant ตัวอย่าง เช่น user1 เป็นเจ้าของตารางชื่อ table01 ในฐานข้อมูลมี user ชื่อ user2 อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกับ user1 ต้องการให้ user2 สามารถใช้คำสั่ง select ข้อมูลจากตาราง table01 ของ user1 บน user1 ดำเนินการโดยใช้คำสั่งในการให้สิทธิ์คือ grant select on user1.table01 to user2; หลังจากให้สิทธิ์แล้ว บน user2 สามารถใช้คำสั่งในการ select ข้อมูลจากตาราง table01 ของ user1 ได้ ตังตัวอย่างดังนี้ select * from user1.table01; //ต้องระบุ user คั่นด้วยจุด และตามด้วยชื่อตาราง การให้สิทธิ์ นอกจาก select แล้ว ยังมีสิทธิ์อื่น ๆ อีก เช่น insert, update, delete, execute ฯลฯ ตัวอย่างการให้สิทธิ์มากกว่าหนึ่งสิทธิ์ grant select, insert, update, delete on user1.table01 to user2; การใช้คำสั่ง grant with grant option รูปแบบการใช้คำสั่งคือ หลังคำสั่ง grant ปกติ ตามด้วย with grant option เช่น grant select on user1.table01 to user2 with grant option; ผลจากการใช้คำสั่ง with grant option จะมีผลให้ user ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถให้สิทธิ์ที่ได้รับมา grant ต่อไปให้กับ user อื่นต่อได้นั่นเอง ต่อเนื่องจากตัวอย่างแรก มี user3 ในฐานข้อมูลเดียวกันกับ user1 และ user2 เมื่อ user1 ใช้คำสั่ง grant select on user1.table01 to user2 with grant option; มีผลทำให้ user2 สามารถ grant สิทธิ์ในการ select ให้กับ user อื่นต่อได้ เช่น grant select on user1.table01 to user3; user ที่ได้รับสิทธิ์ grant with option สามารถ ใช้ grant with option ต่อให้กับ user อื่นได้หรือไม่ ??? user ที่ได้รับการ grant ด้วยคำสั่ง with grant option สามารถ grant ให้ user อื่นด้วยคำสั่ง with grant option ด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง เช่น มี user4 ในฐานข้อมูลเดียวกับ user1, user2, user3 ต่อเนื่องจากตัวอย่างก่อนหน้านี้ user3 สามารถใช้คำสั่ง with grant option ต่อให้กับ user4 ได้

Read More »

พิมพ์ข้อความใน Excel แล้วให้มีเสียงพูด

วันนี้มาแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ในการพิมพ์ลงในเซลให้มีเสียงอ่านอัตโนมัติ เราพิมพ์อะไรลงไปก็ให้มันอ่านคำนั้นออกมา มีวิธีการตั้งค่ายังไง มาดูกันค่ะ 1.เปิด Excel ขึ้นมา ไปที่เมนู File > More > Options ตั้งค่าดังรูปข้างต้น จากนั้นจะมี Icon ดังกล่าวแสดงที่แถบ Ribbon ดังรูป วิธีการใช้งานให้คลิกปุ่มข้างต้น 1 ครั้ง สังเกตว่าเมื่อคลิกคือเปิดการใช้งาน จะแสดงในลักษณะเหมือนถูกกด ถูกคลิก ถูกใช้งาน จากนั้นมาทดสอบพิมพ์ข้อความช่องไหนก็ได้ เช่นพิมพ์คำว่า Hello แล้วกดปุ่ม “Enter” มันก็จะอ่านว่า “Hello” พิมพ์ประโยค แล้วกดปุ่ม “Enter” ก็จะอ่านทั้งประโยค พิมพ์ตัวเลข เช่น 1 ก็จะอ่านว่า “one” ข้อจำกัดคือจะอ่านเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น!! หากไม่ใช้งาน Function ดังกล่าวแล้วก็กดที่ปุ่มเดิม เพื่อยกเลิกการใช้งานค่ะ อันนี้เป็นเทคนิคน้อย ๆ นะคะในการใช้ Excel การพิมพ์แล้วให้มีเสียงยังไง

Read More »

การตั้งรหัสผ่าน ใน Google Form

ทำไมต้องใส่รหัสผ่าน!!  อย่างเช่นบางทีเราทำแบบทดสอบออนไลน์ ลงทะเบียนออนไลน์ หรือต้องการให้ใครกรอกข้อมูลเฉพาะกลุ่มที่เราต้องการ โดยไม่ให้คนอื่นมากรอกมั่ว หรือกรอกเล่น เราจะต้องมีรหัสผ่านก่อนที่จะเข้าไปกรอกฟอร์ม มีวิธีการยังไง มาดูกันค่ะ 1.สร้างฟอร์มขึ้นมา 1 ฟอร์ม กำนหดค่าต่าง ๆ ดังรูป หมายถึงต้องกรอกรหัสผ่านของฟอร์มชุดนี้คือ “abc123” หากกรอกผิดจะแสดงข้อความ “คุณกรอกรหัสผิดค่ะ!!!” 2. Add Section เพื่อเป็นการลงชื่อเข้าใช้ ดังรูป 3. มาทดสอบกัน กรณีกรอกรหัสผ่านผิด จะกดปุ่ม “Next” ก็ไม่ไปไหน 4. กรณีกรอกรหัสผ่านถูกต้อง กดปุ่ม Next ก็จะสามารถเข้าไปยังหน้าฟอร์มถัดไปได้ นี่คือเทคนิคการทำรหัสผ่านในการทำฟอร์ม เพื่อให้มีรหัสผ่าน จะทำให้ฟอร์มของเรานี้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นค่ะ

Read More »

การนับจำนวนข้อมูลโดยใช้ Pivot Table

ตามปกติหากเราต้องการนับจำนวนข้อมูลที่ซ้ำๆ กัน ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ใน Excel หลาย ๆคนคงใช้ฟังก์ชัน COUNTIF ในการนับจำนวนกัน แต่วันนี้มีอีกวิธีที่จะมานำเสนอนั้นคือการใช้ Pivot Table ในการนับจำนวน ซึ่งใช้งานง่ายและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ ลองมาดูวิธีกันเลยนะคะ ใน excel ที่เรามีข้อมูลซ้ำ ๆ กันหน้าตาแบบนี้ 2. ไปที่เมนู Insert เลือก Pivot Table 3. ปรากฏหน้าจอ Create PivotTable เพื่อให้เลือกกลุ่มของข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน ให้เลือกคอลัมน์ที่ต้องการนับจำนวน  แล้วกดปุ่ม OK  ดังรูป 4. ปรากฏหน้าจอการทำงานของ Pivot Table ให้เลือกลากข้อมูลชื่อ-สกุล มาไว้ในช่อง  Rows และ Values สังเกตุว่าในช่อง Values ใน Excel จะใช้ฟังก์ชัน Count ให้เราโดยอัตโนมัติ ดังรูป 5. แสดงข้อมูลผลลัพธ์ของการนับจำนวนโดยใช้ Pivot Table ดังรูป           เป็นไงบ้างคะ ยังไงก็ลองดูเอาไว้เป็นทางเลือกนะคะ เพราะบางคนอาจจะไม่ถนัดในการใช้สูตร คิดว่าวิธีนี้ก็น่าจะเป็นอีกวิธีที่น่าสนในค่ะ ^^

Read More »

แปลภาษาผ่าน Google Sheets ด้วยสูตร(ไม่)ลับ

ใน Google Sheets จะมีสูตรที่ชื่อว่า =GOOGLETRANSLATE ใช้เป็นคำสั่ง ให้ดึงคำหรือประโยคภาษาต่าง ๆ เข้าไปแปลให้ใน Google Translate แล้วส่งคำแปลนั้นมาแสดงใน Google Sheets ซึ่งสูตรนี้จะช่วยแปลคำหรือประโยคในภาษาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดก็คือ มันจะแสดงคำแปลตรงๆ มาให้ ไม่มีคำใกล้เคียง (Synonyms) แสดงมาให้ด้วย สามารถแปลได้ทุกภาษา แต่ต้องมีการปรับสูตรบ้างเล็กน้อย เริ่มต้นด้วย : เปิด Google Sheets เพื่อสร้างข้อมูลคำศัพท์ที่ต้องการแปลโครงสร้างสูตรชื่อเซลล์ ภาษาที่จะแปล=GOOGLETRANSLATE(A2, “th”, “en”)หมายความว่า แปลคำศัพท์ที่อยู่ใน “ตำแหน่งของเซลล์ที่มีคำศัพท์หรือประโยค” ตามด้วย “ภาษาต้นฉบับ” และ “ภาษาที่จะแปล” เพื่อให้สูตรทำการแปลภาษาได้อย่างถูกต้องตรงตามที่เราต้องการ และสามารถ Copy สูตรด้านล่างได้ หากต้องการแปลภาษาอื่น ๆ สามารถใช้อักษรย่อในแต่ละภาษาแทนได้ เช่นอักษรย่อแต่ละภาษาth ไทย , en อังกฤษ, zh จีน, k๐ เกาหลี, ja ญี่ปุ่น,ge เยอรมันสำหรับภาษาอื่น ๆ เหนือจากนี้ก็เข้าไปหาได้ในที่ Link https://www.loc.gov/standards/iso639-2/php/code_list.php ยกตัวอย่าง เช่นแปลภาษาอังกฤษ เป็น ไทย= GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “en”, “th”) แปลภาษาไทย เป็น อังกฤษ= GOOGLETRANSLATE ( ตำแหน่งของเซลล์ , “th”, “en”) แปลทุกภาษา เป็น ไทย= GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “auto”, “th”) แปลทุกภาษา เป็น อังกฤษ= GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “auto”, “en”) สูตร(ไม่)ลับ นี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการแปลคำศัพท์ในภาษาต่าง ๆ มาเป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่น ๆ อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และประหยัดเวลาในการเข้าไปหาใน Google Translate อีกด้วย ^^ ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ จาก : https://www.extremeit.com และ https://today.line.me/

Read More »