การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

ห่างหายไปนาน เพราะตอนนี้ยุ่งๆ หลายเรื่องเลยคับ ซึ่งมีหลายสิ่งในหัวสมองอันน้อยนิด อยากที่จะมาแชร์เกี่ยวสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า GIS คราวที่แล้วพูดถึง Map Server ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 2 เจ้าใหญ่ๆ คือ ArcGIS Server และ Geoserver (จริงๆแล้วมีตัวอื่นอีกนะคับ) ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ (SouthGIST) ติดตั้งและใช้งาน ArcGIS Server 10.0 อยู่คับ โดยใช้งานภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(SLB-GIS) และคาดว่าภายในปีนี้จะติดตั้ง Geoserver เพิ่มอีกตัว โดยจะให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows (ติดตั้งได้ทั้งบน Windows และ Linux) จะมีส่วนหลักๆ ที่จะต้องติดตั้ง คือ – Windows Server ตั้งแต่ 2003 ขึ้นไป *ที่ศูนย์ฯ ติดตั้ง Windows Server 2008 R2 – Microsort SQL Server – IIS version 7.0 ขึ้นไป – ArcGIS Server 10 Enterprise – Microsoft .Net Framework 3.5 – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – GIS Service – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – Web Applications – ArcSDE for SqlServer – ArcGIS for Desktop ดูเพิ่มเติมได้ที่ ArcGIS Resource ขั้นตอนการติดตั้ง ศึกษาได้จาก https://youtu.be/k5nL7msvPgs เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าตาสำหรับ Administrator จะเป็นแบบนี้คับ ข้อดี ของ ArcGIS Server คือ บริหารจัดการง่าย ทำงานเพียง 2 ขั้นตอน ก็ build ออกมาเป็น Web Map Application ได้เลย Create Service โดย service นี้สามารถ share service ให้อยู่ในรูปของ WMS (Web Map Service) ได้ด้วยนะคับ เพื่อนำไปใช้ input เข้าโปรแกรมด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS for Desktop , QGIS เป็นต้น (ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอเรื่อง WMS นะคับ) Create Web Application โดยการ add Service ที่เราได้สร้างไว้แล้ว จากนั้น ตั้งค่าสำหรับเว็บ ก็จะได้ออกมาในเป็นหน้าเว็บแมพ (Web Map Application) ข้อด้อย ของ ArcGIS Server คือ ค่า license ที่มีราคาเป็นหลักแสนบาท ซึ่งจะต้องซื้อ ArcGIS for Desktop (8,000฿) ด้วย แต่ถือว่าคุ้มนะคับสำหรับบางหน่วยงานที่ไม่อยากพึ่งพา Programmer มากนัก เพราะไม่ต้อง config อะไร แค่ add service แล้วนำไปสร้างเป็นเว็บแมพได้เลย พูดได้ว่า คุณสามารถ build web map ได้ภายใน 5 นาที โดยที่ไม่ต้อง coding

Read More »

การใช้งาน Google Drive ภายในหน่วยงาน

สืบเนื่องจากหน่วยงานมีการส่งต่อไฟล์ข้อมูลด้วย Flash Drive ซึ่งปัญหาที่ตามมาในทุกครั้งคือ flash drive มีไวรัส อีกทั้งเห็นว่า ตอนนี้มอ.เราตื่นตัวเรื่อง Google Apps. ผมก็เลยนำเสนอให้หน่วยงานใช้ Google Drive เพื่อการแชร์ไฟล์ที่สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น (แว่วว่า คณะต้นสังกัดกำลังจะจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนใช้ Google Drive อยู่ในเวลาอันใกล้นี้) ผมเลยทำคู่มือการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เลยขอนำมาแชร์นะคับ ผิด-ถูกอย่างไร แนะนำได้นะคับ ^^ มาเริ่มกันเลยดีกว่านะคับ ^^ จะมี 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps การ Login โดยใช้ PSU Mail on Google การสร้างรายชื่อ Contacts การสร้างโฟลเดอร์เพื่อแชร์ การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps ในส่วนนี้ทำเพียงครั้งแรกที่จะเริ่มเข้าใช้งาน Google Apps เท่านั้น ในการเข้าใช้งานครั้งต่อๆไป ไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้ เปิดเว็บ https://webmail.psu.ac.th > คลิก Password Setting เพื่อทำการยืนยันตัวตนในการใช้งาน Google Apps. (ทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว) จะเป็นการยืนยันตัวตน โดยทำการใส่ 1. ใส่ข้อมูล PSU Passport 2. ใส่รหัสผ่านของ PSU Mail โดยสามารถใช้รหัสผ่านเดิม หรือเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ โดยกรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง *** กรณีการตั้งรหัสผ่านใหม่ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขในการตั้งรหัสผ่าน 3. คลิก Change Password  Google Drive มีพื้นที่แบบไม่จำกัด (Unlimited) โดยสามารถโยนไฟล์ใหญ่ๆ ขนาด 1TB ได้สบายๆ (ไฟล์เดียวที่มีขนาด 1000 MB) สามารถเข้าถึง Google Drive ได้ 2 ช่องทาง คือ A: http://drive.google.com B: http://drive.psu.ac.th การ Login โดยใช้ PSU Mail on Google เปิดเว็บ google.co.th > คลิก ลงชื่อเข้าสู่ระบบ ใส่ PSU mail และ Password > คลิก ลงชื่อเข้าใช้ คลิกที่ > คลิก ไดร์ฟ เพื่อความสะดวกในการใช้งานในรูปแบบ Folder บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้คลิก Install Drive for your PC เพื่อติดตั้งโปรแกรม Google Drive บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ไอคอน Google Drive จะอยู่บนหน้า Desktop ซึ่งจะทำงานในรูปแบบ My Computer ได้ (copy, past, ลาก-วาง, drag mouse) การสร้างรายชื่อ Contacts สร้างรายชื่อ (Contacts) คลิกปุ่ม New Contact > พิมพ์ชื่อ > ใส่ email แล้ว enter *** เพิ่มรายชื่ออีเมลล์ที่ต้องการ สร้างกรุ๊ปเพื่อความง่ายในการส่งเมลล์เป็นกลุ่ม โดยคลิกที่ New Group พิมพ์ชื่อกลุ่ม > คลิกปุ่ม OK เปิด My Contacts > คลิกเลือกอีเมลล์ที่ต้องการให้อยู่ในกลุ่ม SouthGIST > คลิกเมนู Group > เลือก SouthGIST >

Read More »

ทำความรู้จักกับ Web Map Application

หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์ คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน? ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง? ตอบ : ในทุกๆด้าน ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^ สรุป Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง Web Map App. โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา GISagro : ระบบบริการภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร ฐานข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต ม.นเรศวร :2552-2556 ฐานข้อมูล : พื้นที่เหมาะสมปลูกยางพารา ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ ภูมิสารสนเทศดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ระบบภูมิสารสนเทศโรคมาลาเรีย อื่นๆ อีกมากมาย

Read More »

{obsoleted!!!}{ยกเลิกแล้ว!!!} เริ่มใช้งาน @psu.ac.th on Google Apps

ด้วยทางศูนย์คอมพิวเตอร์ มอ. ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสะดวกในการใช้งาน Google Apps จึงได้สร้าง Account บน Google Apps for Education ซึ่งผู้ใช้งาน @psu.ac.th สามารถใช้งาน email และ GDrive ที่มีพื้นที่ 30 GB อีกทั้งตัดปัญหาเรื่องการส่งเมลล์ไม่ออก(บ้างในบางครั้ง)ไปยังภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย บุคคลากร และนักศึกษา @psu.ac.th สามารถเช็คเมลล์ และใช้ google app ได้ผ่านทาง Browser (เสมือนเป็นการเช็คเมลล์ด้วย webmail.psu.ac.th โดยมีขั้นตอนตามภาพประกอบ 1. เข้าเว็บ www.gmail.com 2. ใส่ PSU mail และ Password แล้วคลิก Sign in 3. ใส่ PSU mail Name โดยที่ไม่ต้องใส่ @psu.ac.th – ใส่รหัสผ่าน – คลิกปุ่ม Login 4. จะเข้าสู่หน้าเว็บเมลล์ ซึ่งจะมีหน้าตาและลักษณะการทำงานเหมือน gmail 5. คลิกที่ไอคอนตามลูกศรสีแดง จะปรากฏ app ต่างๆ ที่เราสามารถใช้งานได้ โดย Google drive มีพื้นที่ 30GB (พื้นที่ 30 GB จะเป็นพื้นที่รวมทั้งหมดของ account ของเรา ซึ่งสามารถจัดแบ่งได้ว่าจะให้เป็น drive เท่าไหร่? email เท่าไหร่? เป็นต้น)   การทำ PSU mail forwarding 1. login เข้า webmail.psu.ac.th > คลิกที่ Filters 2. คลิกปุ่ม Add a New Rule 3. คลิกเลือก drop down แรก เป็น All 4. ในส่วนของ Action ให้เลือก Redirect to the following email address – ใส่ psu mail ลงไปในช่อง โดยให้เติม g เข้าไปหลัง @ ตามภาพจะได้ @g.psu.ac.th – คลิกปุ่ม Add New Rule *** ติ๊กคำว่า Keep ไว้เวลาผ่านไปอาจจะทำให้ Mailbox ของมหาวิทยาลัยเต็มได้ ถ้าไม่ได้เข้ามาลบเลย ดังนั้น แนะนำให้หลังจากคุ้นเคยกับระบบแล้ว ให้เอา Keep ออกครับ 5. ติ๊กถูก แล้วคลิกปุ่ม Enable เพื่อเปิดใช้งาน 6. เสร็จสิ้นกระบวนการ *** ผิด-ถูกอย่างไร แจ้งแก้ไขได้นะคับ ^^ refer : การทำ PSU mail forwarding จากเว็บ http://opensource.cc.psu.ac.th/RedirectEmail-SquirrelmailHowto

Read More »

การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device

การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device โดยใช้ app Email (ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่อง) บางท่านอาจจะเจอปัญหาว่า เช็คเมลล์เข้าได้ แต่ไม่สามารถส่งเมลล์ออกได้ ลองทำตามขั้นตอนนี้ดูนะครับ ^^ 1. ไปที่ไอคอน Email บน android 2. ใส่ email address และ password 3. กดปุ่ม Next 4. รอการตรวจเช็คสักครู่ 5. เลือก IMAP account 6. ในส่วนของ Incoming server settings ให้ใส่ IMAP server ให้เป็น mail.psu.ac.th Port : 143 จากนั้น กดปุ่ม Next 7. ในส่วนของ Outgoing server settings ให้ใส่ ให้ใส่ SMTP server ให้เป็น smtp2.psu.ac.th Security type : TLS Port : 587 จากนั้น กดปุ่ม Next 8. กำหนดค่า Account options หากไม่ต้องการปรับแก้ ก็ให้กดปุ่ม Next ได้เลย 9. ทำการระบุ account a name และ display name หรือหากไม่ต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้กดปุ่ม Done เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตั้งค่า   *** การตั้งค่าบน android นี้ จะเหมือนกับการตั้งค่าที่ Outlook Express เพียงแต่ว่าจะต่างกันตรงที่ จะต้องกำหนดค่า Security type  เป็น TLS refer : วิธีตั้งค่า PSU Email สำหรับ Outlook Express

Read More »