การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ.

ตอนนี้เป็นกระแสที่กำลังมาแรงเรื่องการจัดระเบียบสถานบันเทิงหรือสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้บริเวณสถานศึกษา วันนี้เลยจะนำเสนอการทำ buffer 300 เมตร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ.2558 โดยห่างจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อเราได้ตรวจเช็คว่า ร้านหรือสถานบันเทิงใดบ้างที่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามฯ* * ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยใช้ basemaps จากบทความที่แล้ว การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS > นำเข้าขอบเขต มอ. ด้วยคำสั่ง Add Vector Layer > เลือก shape file ขึ้นมา จะปรากฏ Layer หรือชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ มอ. ขึ้นมา นำเข้าแผนที่ Google Satellite ด้วยการคลิกที่เมนู Web > OpenLayers plugin > Google maps > Google Satellite* *หากไม่มีเมนูนี้ ให้ทำการติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGISS ตอนนี้ในหน้าจอโปรแกรม QGIS ก็จะมี 2 Layers ที่เป็นแผนที่ Google และเส้นขอบเขตพื้นที่บริเวณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คลิกเลือก Layer ที่เป็นขอบเขตพื้นที่ มอ. เพื่อที่จะทำ Buffer หรือระยะห่างจากมอ.ในรัศมี 300 เมตร > Vector > Geoprocessing Tools > Buffer(s) เลือก input vector layer > กำหนดระยะห่าง(buffer distance) ใส่ 300 (หน่วยเป็นเมตร) > กำหนด output shapefile > คลิกปุ่ม OK จะมี layer เพิ่มขึ้นมา โดยจะเป็นพื้นที่ buffer 300 m. ปรับให้เป็นพื้นที่โปร่งแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นแผนที่ google ด้านหลัง จะได้เส้นขอบเขตพื้นที่ buffer 300 เมตรของบริเวณพื้นที่ มอ. จากนั้นทำการ save as เป็น .kml เพื่อไปนำเข้าที่ Google Maps ด้วยการคลิกขวาที่ Layer > Save As.. เลือก format เป็น KML > เลือกที่เก็บไฟล์สำหรับการ Save as > คลิก OK เปิดเว็บ google.co.th/maps หรือ maps.google.co.th > คลิกที่ไอคอนหน้าช่อง ค้นหา เลือก My Maps หรือ แผนที่ของฉัน คลิกไอคอน สร้าง จะมีเลเยอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา > คลิก นำเข้า > เลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของคุณ เลือกไฟล์ kml ที่ได้จากข้อ 10 > Open จะปรากฏ layer เส้น buffer 300 เมตร ขึ้นมาบนแผนที่ แก้ไข/เปลี่ยนชื่อแผนที่ และใส่คำอธิบายแผนที่ โดยการ copy ข้อความมาจากเว็บ http://www.matichon.co.th เพื่อแสดงข้อความประกาศฯ ปรับแต่งพื้นที่ให้มีสีที่โปร่งแสง เพื่อให้มองภาพพื้นที่ง่ายขึ้น แผนที่จะแสดงขอบเขตห้ามฯชัดเจน โดยในแผนที่จะมีสถานที่/ร้านอาหาร/สถานบันเทิง ที่ในเขตห้ามฯ และนอกเขตห้ามฯ เพิ่ม layer ขอบเขตพื้นที่ มอ. เข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นพื้นที่มอ. และพื้นที่ห้ามฯ เมื่อปรับแต่งแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ share แผนที่เป็นแบบ

Read More »

การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย   *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^   ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS 2.8 หรือทำการติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.8 เมนู Plugin > Manage and Install Plugins… เลือก OpenLayersPlugin > คลิก Install plugin หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็นว่าหน้า OpenLayers Plugin มีไอคอนสีฟ้าและเครื่องหมายกากบาท เปิดการใช้งานโดยคลิกที่เมนู web Openlayers plugin > Google Maps > จะมีให้ชนิดของแผนที่ให้เลือก คลิกเลือก Google Satellite จะมี Layer Google Satellite เพิ่มขึ้นมาตรงด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในพื้นที่งานจะยังไม่เห็นแผนที่ จะต้องทำการ add layer (ชั้นข้อมูล) ขึ้นมา ในตัวอย่างจะ add vector layer แผนที่ประเทศไทยขึ้นมา จะมี layer เพิ่มขึ้นมาด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งจะซ้อนทับอยู่กับ Google Satellite Layer ทำการปรับค่าให้แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสง เพื่อจะได้มองเห็น Layer ที่เป็น google maps จะเห็นว่า แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสงแล้ว เห็นแต่เส้นขอบเขตการปกครอง ลอง Zoom ใกล้ๆ ตรงบริเวณตึก LRC โดยแถบสถานะด้านล่างจะแสดงแผนที่มาตราส่วน (scale) เป็น 1:300 ( ความหมายคือ ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดรูปได้ เท่าไร ความยาวจริงก็จะยาวกว่าที่วัดได้ 300 เท่า) จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^ สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS ‎ครัั้งหน้าจะนำเสนอการสร้างข้อมูลบน‬ QGIS เพื่อนำไปใช้ใน Google Earth และ Web Map นะคับ ^^

Read More »

การตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เบื้องต้นด้วยตัวเอง

ตอนนี้มีประเด็นข่าวร้อนแรงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่าและการใช้พื้นที่ผิดประเภทของรีสอร์ท แห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ โดยประเด็นเด่นคือ สนามแข่งรถ ถูกตรวจพบว่า เป็นที่ดิน ส.ป.ก. ที่ใช้พื้นที่ผิดประเภทของการให้เอกสารสิทธิ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เขามีการตรวจสอบกันอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ GIS ไม๊? วันนี้เลยขอนำเสนอแบบคร่าวๆ พอให้ได้เห็นภาพกันนะคับ ว่าเขาดูและตรวจสอบกันอย่างไร หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่สุด ควรตรวจสอบที่หน่วยงานราชการที่ให้บริการ หลักการ คือ การนำชั้นข้อมูล (Layer) ในแต่ละข้อมูล มาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อแสดงผล ในตัวอย่างจะประกอบด้วย 3 ชั้นข้อมูลคือ ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) , ชั้นข้อมูล พื้นที่สปก. และชั้นข้อมูล เขตป่าสงวน มีขั้นตอนดังนี้ 1. เปิดหน้าเว็บ dsi-map > เลือกพื้นที่ที่ต้องการจะตรวจสอบ ลองขยายชัดๆ จะเห็นสนามแข่งรถได้อย่างชัดเจน 2. ติ๊กถูกที่เลเยอร์ พื้นที่สปก. > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีขาวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ส.ป.ก. *** ตามภาพคือ สนามแข่งรถอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. แน่ๆ 3. ลองคลิกดูที่เลเยอร์ เขตป่าสงวน > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีเขียวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ป่าสงวน 4. ลองคลิกเลือกทั้ง 2 เลเยอร์ พร้อมกัน คือ พื้นที่สปก. และ เขตป่าสงวน นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มาประยุกต์ใช้ด้านบริหารเขตพื้นที่และการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งกว่าที่หน่วยงานจะได้เลเยอร์ชั้นข้อมูลนี้มา ต้องมีขั้นตอนต่างๆ มากมายหลายขั้นตอน แต่เพื่อการใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หลายหน่วยงานจึงยินดีที่จะเปิดให้บริการแบบฟรีๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ^^      

Read More »

การเก็บพิกัด GPS ด้วย Android device

เป็นแอพสาหรับการออกพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บพิกัด สามารถใช้ GPS ได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต แต่หากจะ share to Maps ต้องอาศัยอินเตอร์เน็ตครับ ชื่อแอพ GPS Status & Toolbox ที่ใช้ฟรี บน Android device เลยคิดว่านำมาแชร์ สำหรับใครที่ต้องการเก็บพิกัด GPS แบบง่ายๆ เพื่อนำมาใช้งานต่อในด้านอื่นๆต่อไป เกริ่นก่อนนิดนึงว่า ปกติแล้วนักภูมิสารสนเทศ หรือผู้ที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศ จะใช้เครื่อง GPS ที่เฉพาะเหมาะกับงาน ซึ่งมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ทั้งแบบธรรมดาและแบบถ่ายรูปพร้อมฝังพิกัดได้ด้วย ก็มีราคาที่แตกต่างกันไปตามรุ่นและฟังก์ชั่น ดูเพิ่มเติม มาเริ่มต้นใช้งานคร่าวๆ กันเลยดีกว่าคับ 1. เข้า Play Store บน Android ของท่าน > ค้นหา GPS Status & Toolbox > คลิก install 2. เมื่อติดตั้งและเปิดแอพแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้ 3. ก่อนใช้แอพ ต้องเปิด GPS ทุกครั้ง 4. เปิดแอพขึ้นมาแล้ว สังเกตว่าระบบจะ loading location เพราะต้องรอให้จับสัญญาณดาวเทียมได้ก่อน *** ส่วนกลมๆที่เห็นเป็นจุดๆ จะแสดงการจับสัญญาณดาวเทียมได้กี่ดวง ความเข้มของสัญญาณแค่ไหน (ยิ่งเยอะดวงก็ยิ่งแม่นยำในการระบุพิกัดมากยิ่งขึ้น) 5. การตั้งค่าต่างๆ ที่จำเป็นของแอพ ไปที่ menu > setting 6. Distance ตั้งค่าหน่วยระยะทาง ใช้เป็น เมตร, กิโลเมตร 7. Speed จะปรับค่าตามการเดินหรือเวลาที่เรานั่งอยู่ในรถ หน่วยเป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง 8. Select format จะให้แสดงค่าเป็น Latitude, Longitude หรือตั้งค่าเป็น UTM เพื่อเอาไปใช้ในโปรแกรม ArcGIS ก็ได้ 9. กลับมาที่หน้าจอหลัก จะแสดงค่าต่างๆ ตามที่ตั้งค่าไว้ 10. ทำการเก็บค่าพิกัด lat, long โดยการแชร์ ให้เปิด menu > share 11. เลือก share ตามที่มือถือเราลงแอพไว้ หรือเลือกส่งออกไปยัง Maps ได้เลย (ในหน้าจอไม่เห็นเพราะอยู่ด้านล่างสุด) 12. สามารถ share พิกัด to email ได้ ซึ่งลิงค์ที่ได้ สามารถเปิดที่เว็บบราวเซอร์ได้เลย โดยจะเป็น Google Map 13. โหมด Radar มีคาสั่ง Mark Location ด้วย และยังสามารถ save target (ค่าแลต-ลอง)ได้อีกด้วย 14. มีคาสั่ง Show on Map ไปยัง Google maps บนมือถือเราได้ด้วย 15. ปรับการแสดงแผนที่เป็นแบบ Satellite *** ได้ภาพที่คมชัดมาก 16. นอกจากนี้ยังสามารถวัดระยะทางได้ *** ตามตัวอย่าง วัดระยะจากถนนปากซอยไปยังจุดพิกัด จะได้ระยะทาง 45 เมตร   นอกจากนี้ แอพยังมีการแสดงต่างๆ อีกมากมาย อาทิเช่น ความสูง-ต่ำของพื้นที่(จากระดับน้ำทะเล) เข็มทิศ เป็นต้น ก็ลองเล่นเพิ่มเติมดูนะคับ ไม่ยาก ^^ หมายเหตุ ความแม่นยำของการระบุค่าพิกัด ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ และพื้นที่ๆ เปิดใช้งาน (ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อสะดวกในการจับสัญญาณดาวเทียม  

Read More »

อัพ PHP 5.2 to 5.3

ไม่แน่ใจว่าจะเอามะพร้าวมาขายสวนหรือเปล่านะคับ แต่ก็เผื่อว่าบางท่านเจอปัญหาเดียวกันแล้วแก้ไม่ได้สักที (แบบไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใหม่หมด) ด้วยตัวเองก่อนหน้านี้ติดตั้ง Apache 2.2 + PHP 5.2 + phpMyAdmin on Windows 8.1 เพื่อใช้งาน Joomla 2.5 แต่เมื่อต้องการจะติดตั้ง Joomla 3 และ Moodle ระบบกลับฟ้องว่าไม่ support PHP 5.2 จะต้องติดตั้ง PHP 5.3.10 ขึ้นไป[1] ด้วยความที่ไม่อยากติดตั้งใหม่ทั้งหมด เลยค้นหาวิธีการอัพ php 5.2 เป็น php 5.3 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ -_-‘ หลายเว็บมีความซับซ้อนและยุ่งยากสำหรับผมมาก แต่ไปเจอมาเว็บนึง[2] ซึ่งมีวิธีการที่ง่ายมากๆ เลยอยากนำมาแชร์ให้สำหรับท่านไหนที่ประสบปัญหาเหมือนอย่างผม ขั้นตอนการ upgrade  1. เข้าเว็บ http://windows.php.net/downloads/releases/archives/  แล้วคลิกดาวน์โหลด php-5.3.29-Win32-VC9-x86.zip 2. เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เสร็จแล้ว ก็ทำการ unzip 3. เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ เป็น php5 4. copy โฟลเดอร์ php5 5. ไปที่โฟลเดอร์ php5 เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ที่เราเคยติดตั้งไว้ โดยให้ทำการ rename เป็น php5_old    ในที่นี้จะอยู่ที่ C:\AppServ\ 6. past โฟลเดอร์ php5 ที่ได้จากการ ข้อ 2 และ 3 7. เข้าไปที่ Control Panel > Computer Management> Service เพื่อคลิก restart service ของ Apache2.2  หรือจะคลิกขวาที่ My Computer > Manage > Service ก็ได้เหมือนกันคับ 8. ทำการทดสอบการใช้งานโดย เปิดเว็บเบราเซอร์ แล้วพิมพ์ url : localhost/phpinfo.php จะปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ php 5.3.29 ที่เราได้ทำการติดตั้ง 9. เสร็จสิ้นกระบวนการ ^^ ปล. Joomla 1.5 และ 2.5 ที่ได้เคยติดตั้งไว้ ก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติดีคับ Refer : [1] http://www.joomla.org/technical-requirements.html [2] http://www.websiteadministrator.com.au/articles/install_guides/installing_php535.html

Read More »