จับภาพหน้าเว็บไซต์ ง่าย ๆ ฟรี ๆ ฟิน ๆ ด้วย FireShot Lite – Capture Page (ดูปากณัชชานะคะ แค็พ-เฉอะ)

บทความนี้ว่ากันด้วยเรื่องของ Extension บน Chrome กันอีกซักตัวนะคะ คราวนี้นำเสนอ Extension ที่จะช่วยในการ capture หน้าเว็บ ซึ่ง Easy to use มาก ๆ และ Free forever กันไปเลยค่า นั่นก็ คือ FireShot Version Lite นั่นเองงงงง เย่ ๆ เอ้า ปรบบบมือรัว ๆ สิคะ รออัลลลลไล แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ (หยุดรัวแทบไม่ทัน) สำหรับ Version Lite ที่เราจะติดตั้งใช้งานกันวันนี้นั้น อาจไม่ได้มี feature ต่าง ๆ ที่จะดำเนินการกับภาพที่เรา capture มาได้มากมาย เช่น Custom watermarks Advanced Editor: Undo/Redo, Resize, Crop and Save features หรือ Microsoft OneNote support และบลา ๆ นะคะ ซึ่งหากเราต้องการใช้ feature ที่มีอีกมากมายเหล่านี้ได้นั้น ก็ต้อง Pay ให้กับ FireShot Version Pro กันค่ะ ตอนนี้มีโปรโมชั่น 1 แถม 1 (เอ้ย ไม่ใช่ Watsons Boots หรือ TOPS น่ะจ๊ะ) โปรโมชั่นลดราคาเหลือ US$ 39.95 อยู่ค่ะ ช้าก่อน !! อย่าเพ่งรีบสอย เพราะผู้เขียนคิดว่า Version Lite ก็เพียงพอกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปแล้วละค่ะ อย่าง User ท่านไหนใช้งานเว็บไซต์แล้วเกิดเจอ error ครั้นจะโทรมาแจ้ง Support แล้วแจ้งรายละเอียด error ที่ยาว (มาก) นั้นว่าอย่างไร ก็คงลำบากไม่น้อย หรือเมื่อโทรมาแจ้ง Support ว่าใช้งานแล้ว error ส่วนใหญ่ Support ก็จะแนะนำให้ส่งภาพหน้าจอที่ว่า error นั้นมาเพื่อจะได้ตรวจสอบให้ บางทีก็ทำม่ายโถ๊กกกก แต่บางคนก็สบายมากจ้า กดปุ่ม Print Screen หรือไม่ก็ใช้ Snipping Tool ที่มาพร้อมกับ Windows จับภาพ แต่ก็ต้องเสียเวลาในการวางภาพ แนบไฟล์ ส่งเมล กันอี๊กกก แต่ต่อจากนี้หากใช้งาน FireShot อะไรก็ง่ายๆ ก็สะดวกสบายมากขึ้นแล้วละค่า เพราะสามารถ capture หน้าเว็บปั๊บ ก็ส่ง Email ได้เลย (Account ผู้ส่งต้องเป็น Gmail) หลังจากนั้นโทรแจ้ง Support นิดหน่อย “ส่งภาพหน้าจอ error มาแล้วน่ะคะ/น่ะครับ” จบปิ๊ง สวย ๆ ทั้ง User และ Support พอคุยกันเข้าใจ อะไรๆ ก็ดีไปโหม๊ดดด 555+ ของฟรีที่ดีก็มีในโลกนะเออ เอ้า ปรบมือรัว (ต่อ) สิคะ รออัลลลลไล และขอขอบคุณผู้พัฒนานะคะ ฮี่ ๆ ปล. ส่วนใครที่อยากทราบข้อมูลของ Version Pro กับ Lite ว่ามี Features อะไร แตกต่างกันบ้าง มากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ลองเข้าไปดูข้อมูลเปรียบเทียบที่ลิงก์นี้ได้เลยค่ะ https://getfireshot.com/features.php เกริ่นกันซะยาวยืด ลิงหลับทั้งฝูงแย้ว มา ๆ ค่ะ สาระมีอยู่จริง มารู้จัก FireShot กันก่อนที่จะเริ่มใช้งานค่ะ เริ่มจากความสามารถในการจับภาพหน้าเว็บไซต์ก่อน ซึ่ง FireShot นั้นสามารถจับภาพหน้าเว็บได้ 3

Read More »

จัดระเบียบ Tab บน Chrome ด้วยเทเลทับบี้ เอ้ย Toby (โทบี้) กันดีกว่า

วันนี้จะมาแนะนำส่วนขยาย (Extensions – เครื่องมือเสริมบราวเซอร์) บน Chrome ที่มีชื่อว่า Toby ค่ะ ใช้งานฟรี กับวลีเด็ดที่เจ้า Toby นำเสนอตัวเองได้น่าสนใจมากเลยทีเดียว คือ Better than Bookmarks หลังจากที่ผู้เขียนได้ลองใช้งาน (Account แบบ Guest) ก็พบว่าการทำงานของเจ้า Toby นั้น ช่างเหมาะสมกับวลีดังกล่าวเสียจริง ๆ โดยเจ้า Toby จะช่วยเราจัดเก็บเว็บไซต์ที่เราใช้งานเป็นประจำทุกวัน บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ หรือที่ถูกใจอยากจะเก็บเอาไว้ (ก็เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เรา Bookmark เอาไว้นั้นแหละค่ะ) แยกตามหมวดหมู่ (Collections) ที่เราได้สร้างไว้อย่างมีระเบียบ โดยหากใช้งานเจ้า Toby เมื่อเราเปิด Chrome ขึ้นมา เจ้า Toby จะเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของ Chrome ให้เป็นรูปแบบรายการของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราได้บันทึกจัดเก็บไว้ แน่นอน มันช่วยให้การเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้นสะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเราไม่ต้องเสียเวลาในการหา หรือป้อนชื่อเว็บไซต์นั้น ๆ ใหม่ทุกครั้ง แต่สามารถคลิกเลือกเว็บไซต์จากรายการเพื่อไปยังเว็บไซต์นั้นได้เลยทันที อย่างผู้เขียนทำหน้าที่เป็น Customer Support ซึ่งต้องดูแลหลาย ๆ ระบบ (Web Application)  จากแต่ก่อน Bookmark ไว้ แต่พอมาใช้เจ้า Toby ก็สบายเลยละคะ User โทรมาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ดูแลอยู่เมื่อไหร่ล่ะก็ พร้อมเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้น (ซึ่งต้องเข้าออกทู๊กกกกกวันนนนน) เพื่อทดสอบ ตอบ แก้ไขปัญหาให้กับ User ได้อย่างทันทีเลยล่ะค่าาาา หรือ User ท่านไหนที่ชอบลืมชื่อเว็บไซต์ที่เราเข้าใช้งานเป็นประจำ ก็แนะนำให้ลองเอาไปใช้ดูนะคะ น่าสนใจมากเลยใช่มั้ยยยยล๊าาา งั้นเรามาติดตั้ง Toby ให้กับ Chrome ของเรากันดีกว่า พร้อมแล้ว ! ลุยยยกันเลยยยยค่ะ! ติดตั้ง Toby ให้ Chrome กันก่อน 1.ไปที่ลิงก์ https://chrome.google.com/webstore/category/extensions ค้นหา Toby และกดปุ่ม Add to Chrome เพื่อเริ่มการติดตั้ง Toby ให้กับ Chrome ค่ะ 2.Chrome จะแสดงกล่องยืนยันการติดตั้ง Toby กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยันการติดตั้ง รอจนกว่าจะสิ้นสุดการติดตั้งนะคะ เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราก็ได้เจอกับเจ้า Toby  เสียที หน้าตาก็จะหวานแหวว สีชมพู๊วว ชมพู และจะพบปุ่ม Toby ที่มุมขวาของ Chrome โผล่ขึ้นมาด้วย โดยเจ้า Toby จะ guide การใช้งานให้กับเราซึ่งมี 3 ขั้นตอนที่ง่ายมาก ๆ ดังนี้ค่ะ Create Your First collection. > Give your collection a name. > Drag the tab to the collection. เริ่มใช้งาน Toby กันเลย Create Your First collection สร้างหมวดหมู่ (collection) ที่จะใช้บันทึกจัดเก็บเว็บไซต์ โดยคลิก ปุ่มเครื่องหมายบวก + Add Collection Give your collection a name คลิก  เลือก Edit tittle แล้วทำการแก้ไขชื่อของ Collection ตามที่ต้องการ Drag the tab to the collection ลาก Tab เว็บไซต์ที่เราต้องการ (รายการเว็บไซต์จะมาจากที่เราเข้าใช้งาน) มาใน collection

Read More »

การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์

บทความนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกนะคะ (ก็แหงอ่าาจิ) แต่ผู้เขียนจะนำเสนอ 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ (นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับ Software Testing ที่ทุกท่านต้องทราบกันดีอยู่แล้ว) ซึ่งได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ทดสอบท่านอื่น ๆ ค่ะ ตามตารางข้างล่างนี่เลยยยค่ะ ตารางข้างต้นนั้น หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ทดสอบในการเตรียมตัวทดสอบ ไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂 ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ ยังมีข้อมูลอีกหลายส่วนเลยล่ะคะ ไปลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนเริ่มทดสอบดูนะคะ ว่าเราต้องทราบอะไรบ้างงงน๊าาาาา ที่จะเป็นประโยชน์ก่อนที่เราจะลงมือทดสอบซอฟต์แวร์กัน

Read More »

การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – #2 (Step.1) ผู้ทดสอบรับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบจากนักพัฒนาโปรแกรม

จากตอนที่ 1 เราได้ทราบภาพรวมกิจกรรมและขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดในการทดสอบซอฟต์แวร์กันไปแล้ว ตอนที่ 2 ผู้เขียนจะลงลึกในรายละเอียดขั้นตอนที่ 1 ของการทดสอบซอฟต์แวร์กันค่ะ โดยขั้นตอนที่ 1 นั่นก็คือ 1. ผู้ทดสอบรับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบจากนักพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนนี้เป็นการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์จากนักพัฒนาโปรแกรมให้กับผู้ทดสอบเพื่อให้ผู้ทดสอบทราบภาพรวม ขอบเขตและเข้าใจการทำงานทั้งหมดของซอฟต์แวร์ก่อนเริ่มการทดสอบ รวมถึงรวบรวม Task Test ทั้งหมดของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบค่ะ ผู้เขียนขอย่อยการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ตาม Flowchart นี้นะคะ อธิบายดังนี้ ค่ะ 1. เริ่มจากการนัดหมายเวลาในการถ่ายทอดการทำงานของวอฟต์แวร์กันก่อนค่ะ โดยนักพัฒนาโปรแกรมจะนัดวันเวลาที่จะถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบกับผู้จัดการโครงการ ซึ่งจะต้องนัดล่วงหน้า ระยะเวลาเท่าไหร่นั้นก็ตามแล้วแต่เห็นสมควรและพิจารณากันเอาเองค่า อย่างทีมของผู้เขียน ก็จะนัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดสอบค่ะ (นัดทำไม นัดกันให้ชัดเจน จะได้เตรียมตัวเตรียมใจถูกเตรียมสมองให้โล่งงงงค่ะกันถ้วนหน้าค่ะ) 2. เมื่อได้วันเวลากันเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดการโครงการก็แจ้งวันเวลาที่นักพัฒนาโปรแกรมจะถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบรับทราบค่ะ (PM ซึ่งถือว่ามีอำนาจการจัดการบริหารในทีม ก็จะมาแจ้งให้ทราบบ อิอิ สบายใจกันทุกฝ่ายค่ะ) 3. เมื่อถึงวันเวลาตามที่ได้นัดหมายไว้ นักพัฒนาโปรแกรมก็จะมาถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบค่ะ ในขั้นนี้โปรแกรมเมอร์ต้องถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบอย่างละเอียด และจัดเตรียม Software Requirements Specification และ Functional Design ของซอฟต์แวร์มาให้กับผู้ทดสอบด้วยนะคะ (จะได้ใช้เป็นข้อมูลตอนทดสอบค่ะ บางทีที่จดๆๆ เข้าใจมา ก็อาจจะผิดพลาดได้) –> ในการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ นักพัฒนาโปรแกรมต้องอธิบาย ภาพรวมทั้งหมดและการทำงานของซอฟต์แวร์ว่ามีการทำงานอะไรบ้างและทำงานอย่างไร ซอฟต์แวร์มีข้อจำกัดอะไรบ้างเพื่อผู้ทดสอบจะได้เข้าใจและทราบข้อมูลที่จะนำไปทดสอบ –> โดยในระหว่างการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ หากผู้ทดสอบมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของซอฟต์แวร์ ผู้ทดสอบควรซักถามจากนักพัฒนาโปรแกรมหรือศึกษาจาก Software Requirements Specification และ Functional Design ของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบให้เข้าใจนะคะ ไม่ควรเก็บข้อสงสัยนั้นไว้หรือทดสอบซอฟต์แวร์ไปตามความคิดของตนเองเพราะจะส่งผลให้การทดสอบนั้นดำเนินการไปในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง การทดสอบอาจล่าช้ากว่าที่ได้กำหนดไว้ซึ่งเกิดจากผู้ทดสอบเอง และอาจไม่สามารถค้นหาข้อผิดพลาดที่มีอยู่ของซอฟต์แวร์ได้ค่ะ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ทดสอบซอฟต์แวร์ที่ผ่านมา และสรุปเป็นข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์เอาไว้ด้วยค่ะ ไว้จะมาแชร์ไว้ในบทความหน้าให้อ่านกันนะคะ (อัพเดท ตามไปอ่านกันได้ที่ บความเรื่อง 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ นะคะ) ส่วนบทความนี้มาต่อที่ขั้นตอนถัดไปกันก่อนนะคะ 4. เมื่อผู้ทดสอบทราบข้อมูลก่อนการทดสอบซอฟต์แวร์แล้ว ให้บันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงในฟอร์มบันทึกการทดสอบและผลการทดสอบส่วนที่ 1 คือ Test Information ที่ได้จัดเตรียมไว้ค่ะ ตัวอย่างค่ะ และขั้นสุดท้ายยยยยยยยยยยยย 5. ผู้ทดสอบรวบรวบการทำงานทั้งหมดของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบโดยรวบรวมจาก Function หรือ Use Case ของซอฟต์แวร์ซึ่งตรงตามข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ที่ได้ระบุไว้ (หากโปรแกรมมีผู้ใช้หลายบทบาทให้แยก Task Test ตามบทบาทการใช้งาน) โดย Function เหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็น Task Test ในการทดสอบและระบุ Task Test No. เอาไว้ (1 Task Test เท่ากับ 1 ชุดการทดสอบ) เพื่อเตรียม Test Step และออกแบบ Test Case สำหรับทดสอบแต่ละ Task Test ในขั้นตอนต่อไป สำหรับ Task Test No. นั้นแนะนำให้ตั้งโดยใช้ตัวอักษรย่อเพียงสองถึงสามตัวและตามด้วยตัวเลขที่จะเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ เช่น TE001 เป็นต้น Task Test คือ ชุดการทดสอบของแต่ละการทำงาน (Function) ต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ ตัวอย่างค่ะ สำหรับรายละเอียดของขั้นตอนที่ 1 ก็มีเท่านี้ค่ะ ส่วนบทความหน้านั้น ผู้เขียนจะมาแชร์ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ไว้ให้นะคะ และบทความถัดไปจะลงลึกในรายละเอียดขั้นตอนที่ 2 (#3) กันต่อค่ะ

Read More »

HelpNDoc – #1 (หุบ ๆ ย่อ ๆ) กำหนดการแสดงผล Table of contents เริ่มแรกให้กับเอกสาร HTML

บทความนี้จะขอแนะนำให้กับผู้ใช้งานโปรแกรม HelpNDoc ในการสร้างเอกสารกันอยู่ค่ะ ว่าเราสามารถกำหนดการแสดง table of contents ของเอกสารชนิด HTML ที่เราได้ generate ได้ว่าจะให้แสดงผลเริ่มต้นกับผู้อ่านเมื่อเปิดเอกสารอย่างไรค่ะ โดยสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ table of contents ของเอกสารของเรานั้น ขยายไปที่ topic ของ contents ใน Level ใด —> วิธีการกำหนดการแสดงเริ่มแรกให้กับ table of contents ของเอกสารของเรานั่นง่ายมาก ๆ มาเริ่มกันเลยยย ในขั้นตอนการ Generate เอกสารให้เป็น Html เมื่อเรา Click Generate Document และเลือก ฺBuild เอกสารเป็น html นั้น จะพบลิงก์ Customize ให้คลิกลิงก์ดังกล่าว เพื่อเข้าไปกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเอกสารของเรากันค่ะ เมื่อคลิก Customize ให้สังเกตในแท๊ป Template settings และเลื่อนลงไปในหัวข้อ Table of content expand level ทำการเลือก level ของ topic contents (เริ่มต้นจาก level 0) ที่เราต้องการให้แสดงเริ่มต้นเมื่อเปิดเอกสารขึึ้นมา แล้วคลิกปุ่ม Generate เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ มาดูผลลัพธ์กันเลย เมื่อเราเลือก เป็น Level 0 จะเห็นได้ว่า เมื่อเปิดเอกสารขึ้นมาในครั้งแรก table of contents ของเอกสารของเรา ก็จะแสดงแบบขยายในระดับ level 0 (หัวข้อแรก) เท่านั้นค่ะ แต่ยังไงไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ ไงก็สามารถกดย่อขยายหัวข้อที่มีอยู่ของเอกสารได้ทั้งหมดอยู่ดีค่ะ เป็นแค่การแสดงผลเริ่มแรกเมื่อเปิดเอกสารเท่านั้น ลองเลือกเป็น Level 2 กันค่ะ ก็จะได้หน้าตาออกมาแบบนี้ เป็นยังไงบ้างคะ ง่ายมากเลยใช่มั้ยคะ ไว้บทความหน้า จะมาแนะนำเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการใช้งานโปรแกรม HelpNDoc กันอีกนะคะ สำหรับบทความนี้ก็มีเพียงเท่านี้ค่า ขอบคุณค่ะ 😉

Read More »