Adaptive Layout สำหรับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS

สำหรับหัวข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับนักพัฒนาที่ใช้ Xcode และ Xamarin.iOS นะครับ แต่ภาพตัวอย่างที่ใช้ประกอบในบทความจะมาจาก Xamarin.iOS บน Visual Studio ครับ อุปกรณ์ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง และขนาดหน้าจอ ความละเอียดเท่าไหร่  คงเป็นคำถามแรกๆสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS ก่อนที่จะเริ่มออกแบบหน้าจอ ข้อมูลจาก http://iosres.com/ นี้คือคำตอบนั้นครับ ความหลากหลายของขนาดหน้าจอ  จะเห็นได้ว่าเยอะไม่แพ้ Android เลยทีเดียวสำหรับปัจจุบัน เมื่อแอปพลิเคชันของเราจำเป็นต้องทำงานได้บนทุกอุปกรณ์  ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะสรุปสิ่งที่ต้องรู้และศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทำ Adaptive Layout หรือ รูปแบบการแสดงผลที่ปรับเปลี่ยนไปตามขนาดหน้าจอได้เอง   Unified Storyboard เล่าวิวัฒนาการของวิธีการออกแบบ UI ของ iOS แอปพลิเคชันซักหน่อยนะครับ โดยแต่เริ่มนั้นเนื่องจากมีเพียงแค่ iPhone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS เครื่องมือของทาง Apple สำหรับใช้ออกแบบหน้าจอเรียกว่า Interface Builder ซึ่งปัจจุบันถูกผนวกรวมมากับ Xcode เรียบร้อยแล้ว ใช้ไฟล์ .xib ในการออกแบบ ลักษณะจะเป็น 1 หน้าจอ 1 ไฟล์  ใช้ไฟล์เพียงชุดเดียว แต่เมื่อมี iPad ซึ่งมีขนาดหน้าจอที่แตกต่างออกไป นักพัฒนาก็ต้องสร้างไฟล์สำหรับ iPad อีกชุด ต่อมาไฟล์สำหรับออกแบบ UI ที่ชื่อว่า Storyboard  ก็ถูกนำมาใช้งาน เป็นการออกแบบในลักษณะที่ สามารถวางหน้าจอ หลายๆ หน้าจอ และกำหนดความเชื่อมโยง โดยใช้ segue เป็นตัวเชื่อมการแสดงผล แต่ก็ยังต้องมี ไฟล์ Storyboard สำหรับ iPhone และ iPad แยกกันอยู่ดี เมื่อมาถึง iOS 8.0 ความหลากหลายของขนาดหน้าจอมีมากขึ้นแม้แต่ iPhone เอง ก็มีหลายขนาด ตัว Unified Storyboard จึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ ทำให้ออกแบบ Storyboard เพียงไฟล์เดียวสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ทุกขนาดหน้าจอ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอีก 2 อย่างคือ Auto Layout และ Size Class วิธีการใช้งาน 1. เมื่อสร้างโปรเจ็คจะมีไฟล์ .storyboard เปิดไฟล์ จากนั้นในหน้าต่าง Property เลือกใช้งาน Use Auto Layout, Use Size Classes 2. ด้านบนของ Interface Builder จะปรากฏเมนูที่เกี่ยวกับการทำ Unified Storyboard ดังรูป 3. ทำการกำหนดค่าใน info.plist เพื่อใช้ไฟล์ Storybord ดังกล่าวเป็น Main interface ของทั้ง iPhone และ iPad 4. ตอนนี้ไฟล์ Storyboard ของเราก็พร้อมใช้งาน รองรับการออกแบบโดยมีความสามารถ Auto Layout และ Size Class ให้ใช้งานแล้วครับ   Auto Layout แนวคิดหลักของ Auto Layout คือการตั้งเงื่อนไขเพื่อกำหนดตำแหน่งและขนาดของ Control ที่อยู่บนหน้าจอ เพื่อให้สามารถปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอที่เปลี่ยนไปได้ ซึ่งเรียกว่า Constraint มีหลายชนิดด้วยกันดังนี้ Size Constraints คือการกำหนดขนาด โดยระบุ ความกว้าง ความสูง โดยส่วนตัวผมคิดว่าแบบนี้ค่อนข้างได้ใช้น้อยครับ เพราะเหมือนกับเรากำหนด Property ความกว้าง ความสูง ปกติ เหมาะใช้กำหนดแค่ความกว้าง หรือ ความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งผสมกับ Constraints แบบอื่นๆ Center Constraints คือการกำหนดให้อยู่ในจุดกึ่งกลาง โดยอ้างอิงจากขนาดของ View ที่เปลี่ยนไป จะทำให้อยู่ในตำแหน่งกลางเสมอ อันนี้ก็ได้ใช้งานบ่อยครับ Combinational Constraints คือการอ้างอิงตำแหน่งของ Control

Read More »

Xamarin.iOS : ติดตั้งซอฟแวร์ และสร้างโปรเจ็ค

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS นั้นมีหลายช่องทางในปัจจุบัน โดยไม่นานมานี้ ทางไมโครซอฟ ได้เข้าซื้อ Xamarin ซึ่งเป็นซอฟแวร์ สร้างแอปพลิเคชันสำหรับ Android, iOS, Windows Phone โดยใช้ภาษา C# โดยมีแนวคิดแชร์โค้ดในส่วน Logic ระหว่างแพลตฟอร์มได้ (แต่ส่วน User Interface และ Controller ต้องเขียนแยกกัน) ซึ่งเดิมทีซอฟแวร์ตัวนี้มีค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้งานพอสมควร แต่ปัจจุบัน สามารถใช้ร่วมกับ Visual Studio ได้ตั้งแต่รุ่น Community ซึ่งฟรี ทำให้มีความน่าสนใจในการนำมาใช้งานสำหรับ ทีมพัฒนาระบบ ที่ใช้ Visual Studio ร่วมกับ ภาษา C# อยู่แล้วเป็นอย่างมาก สิ่งที่ต้องมี สำหรับการใช้ Xamarin พัฒนา iOS แอปพลิเคชัน 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง macOS ได้ เช่น MacBook , MAC Pro, iMAC เป็นต้น หรือหากท่านใดสามารถสร้าง Virtual Machine ด้วย VirtualBox หรือ VMware แล้วติดตั้ง macOS ได้ ก้สามารถใช้งานได้เช่นกัน 2.Apple ID ที่ลงทะเบียน Apple Developer Account ไว้เรียบร้อยแล้ว (มีค่าใช้จ่ายรายปีประมาณ 3000 บาท) 3.หากต้องการใช้ Visual Studio เวอร์ชันสำหรับ Windows ในการพัฒนาก็ต้องมี เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows (สำหรับท่านที่ต้องการใช้เครื่องเดียว สามารถใช้ Xamarin Studio หรือ Visual Studio For Mac ได้ เท่าที่ผมทดลองใช้งานก็มีความพร้อมระดับใช้งานได้ แม้จะเป็นเวอร์ชั่น Preview ในขณะที่ทดลองก็ตาม) ติดตั้ง Xamarin และ ตั้งค่าบน macOS 1.ติดตั้ง Xcode จาก App Store ให้เรียบร้อย เนื่องจากตัว Xamarin จำเป็นต้องใช้งานทั้ง iOS SDK และ Simulator ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Xcode ในการ Build และ Run เพื่อทดสอบแอปพลิเคชันของเรา 2.ใช้ Apple Developer Account สร้าง Provisional Profile ได้ที่ https://developer.apple.com/account/ios/certificate จากนั้นทำการดาวน์โหลดและติดตั้งให้เรียบร้อย 3.ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง ที่ https://www.xamarin.com/download ใส่ข้อมูล ชื่อ, อีเมล, หน่วยงาน แล้วเลือกว่ามีการติดตั้ง Visual Studio ไว้แล้วหรือไม่ เลือกยอมรับข้อตกลง เลือก Download Xamarin Studio for OS X 4.เมื่อเริ่มติดตั้งจะมีหน้าจอให้ยอมรับข้อตกลง และแสดงความคืบหน้าในการติดตั้ง รอจนแจ้งผลติดตั้งเสร็จสิ้น 5.ตั้งค่าเปิดใช้งาน Remote Login สำหรับการเชื่อมต่อจากเครื่องพัฒนาอื่นไปที่ System Preferences > Sharing 6.เสร็จเรียบร้อยในฝั่ง macOS ติดตั้ง Xamarin บน Windows เพื่อใช้งานร่วมกับ Visual Studio 1.ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Visual Studio เวอร์ชั่นที่ต้องการใช้งาน สามารถใช้ได้ทั้ง Community, Professional, Enterprise (ในขณะที่เขียนผมใช้เวอร์ชั่น Enterprise 2015 with update 3) 2.เลือกติดตั้งแบบ Custom 3.ติดตั้ง Cross Platform Mobile Development Plugin ที่ตัวเลือกจะมีวงเล็บไว้ให้แล้วว่าเป็น Xamarin เลือกให้เรียบร้อยกด Next

Read More »

สร้างกราฟด้วย Chart.js ร่วมกับ ASP.NET

    การแสดงผลในรูปแบบกราฟสำหรับเว็บแอพลิเคชัน ในปัจจุบันนั้น มีเครื่องมือ หรือเฟรมเวิร์ค มากมายให้เลือกใช้งาน ซึ่งสำหรับการเลือกใช้งานก็แล้วแต่ความเหมาะสมกับเครื่องมือ เทคโนโลยี ของเว็บนั้นๆ หรืออาจจะแล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนาเอง     สำหรับ Chart.js นั้นเป็นเฟรมเวิร์คที่สร้างด้วยภาษา JavaScript ดังนั้นคุณสมบัติที่พ่วงมาด้วยคือการทำงานแบบ AJAX อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการนำเอามาใช้ร่วมกับเว็บแอพลิเคชัน ที่พัฒนาด้วย ASP.NET โดยวิธีการส่งข้อมูลในรูปแบบ JSON ผ่าน Web Services และทำการแปลงข้อมูล JSON ให้อยู่ในรูปแบบของ Object ที่มีโครงสร้างตรงตามที่ Chart.js ต้องการ เพื่อนำไปใช้แสดงผลในรูปแบบกราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม  ผ่าน HTML Tag ที่มีชื่อว่า Canvas ซึ่งมีการเพิ่มส่วนแสดงความหมายของสีต่างๆในกราฟ ที่ได้พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย     ในบทความนี้จะยกตัวอย่างการสร้างกราฟใน 3 รูปแบบ และมีการกำหนดค่า Option ในการแสดงผลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สามารถอ่านวิธีการใช้งานเต็มรูปแบบได้ที่ http://www.chartjs.org/docs ทำการ Include ไฟล์ Javascript ของ chart.js ไว้ใน header (ในตัวอย่างเป็นการเรียกใช้งานจาก CDN หากต้องการใช้งานจากไฟล์ที่เก็บไว้ที่เว็บเซิฟเวอร์ให้ปรับแก้ src path) <script src=”https://code.jquery.com/jquery-1.11.3.min.js” type=”text/javascript”></script> <script src=”https://cdnjs.cloudflare.com/ajax/libs/Chart.js/1.0.2/Chart.min.js” type=”text/javascript”></script> เพิ่ม canvas ในส่วนของ body  <canvas id=”report” width=”600″ height=”300″></canvas> เขียน JavaScript เพื่อสร้างข้อมูล ตามโครงสร้างของกราฟแต่ละประเภท ในตัวอย่างจะเป็นโครงสร้างข้อมูลของกราฟแท่ง  var dataDemo = { labels: [“Apple”, “Sumsung”, “ASUS”, “OPPO”], datasets: [{ label: “2557”, fillColor: “#5B90BF”, data: [20, 10, 9, 8] }] }; ทำการสร้าง Context จาก canvas เพื่อนำไปสร้าง Chart Object โดยใช้คำสั่ง ดังนี้  var ctx = $(“#report”).get(0).getContext(“2d”); var chart = new Chart(ctx).Bar(dataDemo, { bezierCurve: false });   จาก 4 ขั้นตอนดังกล่าวเราจะได้โค้ดที่เมื่อทำการเพิ่มโครงสร้างของหน้าเว็บ และบันทึกเป็นไฟล์ html แบบนี้ chart.html  ลองเปิดดูจะพบว่าสามารถแสดงกราฟแท่งได้แล้ว       แต่ในงานจริงนั้น รู้กันดีนะครับ ว่ามันไม่ง่ายอย่างนั้น โจทย์ของเราคือ สามารถนำข้อมูลจาก Database ซึ่งได้เขียน Query จนได้ข้อมูลแบบที่เราเรียกกันติดปากว่า Crosstab นั้นคือมีชื่อฟิลด์ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในแกน x และแกน y ซึ่งเป็นรูปแบบข้อมูลที่นำมาสร้างเป็นกราฟนั้นเอง ส่วนวิธีการนั้น ผมไม่ขอลงรายละเอียดในบทความนี้ แต่สำหรับท่านใดที่ใช้งานฐานข้อมูล Oracle ตั้งแต่ 11g ขึ้นไปลองศึกษาคำสั่งชื่อ Pivot ดูครับ น่าจะช่วยลดความยุ่งยากในขั้นตอนนี้ได้มาก ตัวอย่างข้อมูล แบบ Crosstab ที่เราจะส่งจากฝั่ง Server มาสร้างเป็น Object สำหรับสร้างกราฟอีกทีครับ         อีกจุดที่มีความยุ่งยาก คือการแปลงจากรูปแบบข้อมูล Crosstab Datatable เป็น JSON ตัวช่วยของผมในเรื่องนี้คือ Library ที่ชื่อ Newtonsoft.Json สามารถดาวส์โหลดมาใช้งานผ่าน NuGet ได้เลยครับ จากนั้นก็เรียกใช้งาน ดังตัวอย่าง โดยตัวแปล data คือ Datatable ของเรา เมื่อได้ข้อมูล JSON แล้วให้ทำการสร้าง Web Service เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลดังกล่าวจาก Javascript ได้ JsonConvert.SerializeObject(data) ถัดจากนั้น

Read More »