นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 23 มีนาคม 2561

นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ผ่านความเห็นชอบการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ่านได้จากไฟล์ตามลิ้งค์นี้ https://www.cc.psu.ac.th/pdf/PSU_IT_Sec_Policy_23Mar2018.pdf ซึ่งฉบับแรกผ่านเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 และล่าสุดทบทวนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ในบันทึกลำดับที่ 99 จากทั้งหมด 154 หน่วยงาน ตามประกาศ http://www.etcommission.go.th/etc-annoucement-sp-p1.html เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีการทบทวนนโยบายตั้งแต่มีการเริ่มประกาศใช้ ผู้ใช้ไอทีทุกระดับควรได้เปิดอ่าน ทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติความปลอดภัยไอที ม.อ. ทุกคนมีส่วนร่วมกันดูแล ครับ 😀 ก้าวต่อไปเพื่อเพิ่มความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่บนระบบไอที ม.อ. จะได้จัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐซึ่งตามข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 มีเพียง 14 หน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบแล้วตามประกาศ http://www.etcommission.go.th/etc-annoucement-dp.html และมุ่งไปสู่ความปลอดภัยไอทีของ ม.อ. ที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิดตามแนวทาง Center for Internet Security : CIS Control v7 ซึ่งผมได้เริ่มต้นแปลบางส่วน ให้ผู้สนใจเริ่มทำความคุ้นเคยได้จาก … Read more

วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username

วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username สำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ให้สังเกตว่าจะมีรูปกุญแจล๊อค(สีเขียว) หน้าคำว่า https แสดงว่า เว็บเพจหน้านี้ปลอดภัย หากแสดงเป็นอย่างอื่น เช่น กากบาทสีแดงคาดที่คำว่า https แสดงว่าไม่ปลอดภัย อาจจะกำลังโดนใครดักข้อมูล username และ password ของท่าน ตัวอย่างเว็บไซต์ gmail ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างๆของ PSU ที่เรียกใช้ด้วย Chrome browser และ แสดง https กุญแจสีเขียว สถานะปลอดภัย สำหรับเบราว์เซอร์ Firefox ก็แสดงเป็นรูปกุญแจล๊อค แต่เป็นสีเทา ไม่แสดงเป็นสีเขียว ก็คือปรกติครับ (ผมไม่ได้ใส่รูปตัวอย่างสำหรับ Firefox) สำหรับเบราว์เซอร์ IE (Internet Explorer) ในขณะที่เขียนบทความนี้ (19 ธันวาคม 2557) ผมไม่แนะนำให้ใช้ครับ ขอให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนใช้งานใส่ username ลงไปนะครับ

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #12

บทความนี้ จะกล่าวถึง วิธีการปิดช่องโหว่ของ Apache ที่ให้บริการ Web Hosting เลย เผื่อมีผู้ใช้ ติดตั้ง Joomla และมี JCE รุ่นที่มีช่องโหว่ จะได้ไม่สร้างปัญหา และ แนะนำวิธีสำหรับผู้พัฒนาเวปไซต์เองด้วย ที่เปิดให้มีการ Upload ไฟล์โดยผู้ใช้ผ่านทาง Web ด้วย … เพราะหน้าที่นี้ ควรเป็นของ Web Server Administrator ไม่ใช่ของ Web Master หรือ Web Author ครับ จากปัญหาช่องโหว่ของ JCE Exploited ของ Joomla ที่อธิบายไว้ใน วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3 ที่อธิบายขั้นตอนการเจาะช่องโหว่, วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4 ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบค้นหา และทำลาย Backdoor และ วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #11 … Read more

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #10

ในบทความนี้ จะพูดถึงช่องโหว่ที่เรียกว่า Remote File Inclusion หรือ RFI [1] จาก วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #9 ที่พูดถึง ช่องโหว่ประเภท XSS หรือ Cross-site Scripting ซึ่งอาศัยข้อผิดพลาดของการเขียนโปรแกรม ที่ทำให้ Hacker สามารถแทรก JavaScript ซึ่งจะได้ข้อมูลของ Web Browser และสามารถเปิดโอกาศให้ ผู้ใช้ของระบบ สามารถเขียน JavaScript ลงไปใน Database สร้างความเป็นไปได้ในการขโมย Cookie ID ของ Admin แต่ RFI เป็นช่องโหว่ ที่เกิดจากการเขียนโค๊ด ที่เปิดให้มีการ Include ไฟล์จากภายนอก จาก Internet ได้ ซึ่ง เปิดโอกาศให้ Hacker สามารถทำได้ตั้งแต่ เรียกไฟล์ /etc/passwd มาดูก็ได้ หรือ … Read more

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #5

จากที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้จาก วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #1 วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #2 วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3 วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4 เราได้แต่ตามแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเรื่องขึ้นกับ Website ของเราแล้ว ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้อง “Proactive” หรือ ทำงานเชิงรุกกันได้แล้ว ในโลกเทคโนโลยี มีคนเก่งๆมากมายที่เขาทุ่มเทเวลา เพื่อค้นหาช่องโหว่ต่างๆ ในที่นี้ กรณีของ Joomla ก็สามารถไปดูได้ที่ Joomla Developer Network  http://developer.joomla.org/security.html จากเวปไซต์ดังกล่าว จะเป็นรายงานอย่างเป็นทางการของ Joomla, สิ่งที่ต้องสนใจ คือ Severity: ความร้ายแรง ถ้าเป็นระดับ High, Critical แสดงว่า ร้ายแรง ต้องแก้ไขทันที Versions: รุ่นของ Joomla ที่ได้รับผลกระทบ (ผู้เป็นเจ้าของ ควรรู้ว่าตัวเองใช้รุ่นใด) Exploit type: … Read more