มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.2 : ลงมือสร้าง Flow ด้วย Power Automate)

            หลังจากที่ EP. ที่แล้ว เราได้มีการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งในส่วนของแบบฟอร์มที่จะใช้ในการกรอกข้อมูล และลิสต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลกันไปแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน สามารถติดตามได้ที่ลิงค์นี้นะคะ มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว) และมาถึง EP.นี้ ก็ได้เวลาลงมือสร้าง Flow ที่จะควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้กับเราได้โดยที่เราไม่ต้องลงมือเองกันแล้ว และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนต่อไปกันเลยดีกว่านะคะ ขั้นตอนการสร้าง Flow โดยใช้ Power Automate  1.ไปยัง Power Automate เพื่อสร้าง Flow การทำงานที่เราต้องการ โดยการกดปุ่ม เพื่อเลือก Apps ที่เป็น Power Automate จาก Microsoft … Read more

มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว)

               ในปัจจุบันพบว่า มีการใช้งานแบบฟอร์มในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อความสะดวก และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น Google Form หรือ Microsoft form เพื่อรับข้อมูลจากผู้ใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และสะดวก และทำให้ผู้ที่กรอกข้อมูล สามารถกรอกข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องอาศัยการกรอกแบบฟอร์มกระดาษอย่างแต่ก่อน แต่ในส่วนของการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ก็อาจจะมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแบบฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ก็จะสามารถ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบไฟล์ Excel หรือ CSV ได้อยู่แล้ว แต่สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขอหยิบยกวิธีการเก็บข้อมูลจาก Microsoft form มาเก็บในลิสต์(List) ซึ่งเป็นเปรียบเสมือนฐานข้อมูลหรือตารางที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint  โดยที่ไม่ต้องมา Import ข้อมูลจากไฟล์ Excel หรือ CSV ที่เรานำมาจากแบบฟอร์มอีก ซึ่งเราจะใช้ตัวช่วยที่ชื่อว่า Power Automate เพื่อมาลดขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ให้กับเรากันค่ะ               … Read more

เรียนรู้เบื้องต้นกับการใส่ลายน้ำ(Watermark)ให้กับเอกสาร PDF ของเราด้วย iTextSharp

               ในบทความนี้เราก็ยังคงอยู่กับเรื่องการทำภาพลายน้ำอย่างต่อเนื่องจาก EP. ที่แล้วที่พูดถึงการทำข้อความลายน้ำบนภาพที่เราทำการอัพโหลด ถ้าใครยังไม่ได้อ่านสามารถตามไปอ่านกันได้ ที่นี่ นะคะแต่สำหรับ EP. นี้เราจะขอเปลี่ยนบรรยากาศไปทำ ลายน้ำบนไฟล์ PDF โดยใช้เครื่องมือ iTextSharp กันบ้าง เผื่อว่าผู้อ่านบางท่านที่อาจจะกำลังใช้งาน iTextSharp ในการจัดทำไฟล์ PDF อยู่พอดี และอยากจะลองใส่ลายน้ำให้กับงานเอกสารของท่านดูบ้าง จะได้สามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนะคะ โดยตัวอย่างที่จะนำมาแนะนำกันจะมีทั้งแบบลายน้ำที่เป็นข้อความ และลายน้ำที่เป็นภาพค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีทั้งแบบที่เป็นการทำภาพลายน้ำทับไฟล์เดิมที่มีอยู่ และแบบที่ทำภาพลายน้ำและบันทึกเป็นไฟล์ใหม่ค่ะ ผู้อ่านจะได้ลองในหลายๆวิธี และสามารถเลือกไปปรับใช้ให้เหมาะกับงานของแต่ละท่านได้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา งั้นเรามาเริ่มทำภาพลายน้ำบนงานเอกสาร PDF ของเรากันเลยดีกว่าค่ะ แบบที่ 1 : การสร้างลายน้ำแบบข้อความ ซึ่งวิธีการนี้ จะมีการทำ Template ต้นฉบับของลายน้ำแบบข้อความไว้ก่อน และเมื่อต้องการทำไฟล์ลายน้ำ จะต้องทำการอ่านไฟล์ลายน้ำจากต้นแบบมาจัดทำลายน้ำบนไฟล์ที่ต้องการได้ ดังนี้ค่ะ 1.1 ระบุ Library เพิ่มเติม using iTextSharp.text; using iTextSharp.text.pdf; … Read more

มาลองใส่ข้อความ/ภาพลายน้ำ(Watermark) บนรูปภาพที่เราอัพโหลดด้วย C# กันเถอะ

          ในการทำงานของนักพัฒนาโปรแกรม อาจจะมีบางงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลรูปภาพต่างๆลงบนเซิร์ฟเวอร์ และอาจมีความต้องการที่จะใส่ลายน้ำให้กับรูปภาพเหล่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วการทำลายน้ำนั้น ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ป้องกัน หรือปกป้องลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพผู้อัพโหลดข้อมูลหรือเป็นการแจ้งที่มาของภาพนั้นๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ในทางมิชอบ และทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังอาจใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้กับงานของคุณได้ หรืออาจทำหน้าที่เป็นตราประทับเพื่อระบุสถานะของเอกสารโดยมีคำเช่น “สำเนา” “ฉบับร่าง” หรือ “ตัวอย่าง” ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการจัดการเอกสารสำคัญอย่างไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบงานของคุณได้ในขณะที่คุณทำเอกสารฉบับร่างให้เป็นเอกสารฉบับจริง           และสำหรับในบทความนี้ทางผู้เขียนจึงถือโอกาสมาแนะนำวิธีการทำภาพลายน้ำให้กับรูปภาพที่เราบันทึกข้อมูลจากการอัพโหลดไฟล์โดยระบบที่พัฒนาขึ้นกันค่ะ โดยวิธีการเพิ่มลายน้ำสามารถทำได้หลายทาง อาจจะเป็นการนำรูปภาพทั้งหมดที่มีการอัพโหลดมาตกแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ แต่ในกรณีนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีเบื้องต้นในการพัฒนาโปรแกรมในการใส่ลายน้ำให้กับภาพตอนอัพโหลดไฟล์ด้วย C#  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านได้นำไปต่อยอดงานพัฒนาของตนเองได้ ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งวิธีที่มาแนะนำการใส่ลายน้ำให้กับรูปภาพที่อัพโหลดออกเป็น 2 แบบดังนี้ค่ะ 1.การใส่ลายน้ำแบบข้อความ โดยการทำลายน้ำด้วยวิธีนี้ เราจะต้องมีการระบุข้อความที่เราต้องการให้แสดงลายน้ำในภาพที่ทำการอัพโหลด ซึ่งขั้นตอนการทำลายน้ำ มีดังนี้ 1.1 เพิ่ม Library ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเข้ามา using System.IO;using System.Drawing; 1.2 สร้างหน้าจอที่มี File upload และปุ่มเพื่อทำการอัพโหลดไฟล์ .aspx page 1.3 สร้างเมธอดที่ใช้ในการสร้างภาพลายน้ำ ที่ชื่อว่า AddTextWatermark() โดยมีพารามิเตอร์เป็นข้อความที่ต้องการให้แสดงเป็นลายน้ำ ดังนี้ Code C# เมธอด … Read more

การย่อ-ยุบแถวข้อมูลบน GridView โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับ jQuery และ Collapse ใน Bootstrap (C#)

           จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงวิธีการจัดการข้อมูลจำนวนมากด้วยการจัดกลุ่มหมวดหมู่ของข้อมูลใน GridView กันไปแล้ว ซึ่งหากผู้อ่านท่านใดต้องการทราบวิธีการจัดหมวดหมู่สามารถตามดูเนื้อหาในบทความได้จาก การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C# และในส่วนของบทความนี้จะเป็นเนื้อหาต่อยอดการทำงานจากการจัดหมวดหมู่ดังกล่าว โดยเพิ่มความสามารถให้หมวดหมู่หรือกลุ่มเหล่านั้นสามารถย่อ-ยุบได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้บางท่านที่อาจมีความต้องการดูข้อมูลทีละส่วนได้ โดยจะนำ Component ที่ชื่อว่า Collapse ใน Bootstrap มาประยุกต์ใช้ในการแสดงผลร่วมกับ GridView และยังมี jQuery มาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อให้สามารถแสดงผลตามที่ต้องการได้ โดยการอธิบายในบทความนี้ ทางผู้เขียนจะขอตัดตอนในส่วนของรายละเอียดขั้นตอนวิธีการจัดหมวดหมู่ไป และข้ามมาพูดถึงขั้นตอนที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมในการทำย่อ-ยุบเลยละกันนะคะ            ก่อนจะไปเริ่มในส่วนของการเขียนโค้ด เรามาทำความรู้จักกับ ค่าที่จำเป็นต้องใช้ในการระบุให้กับแถวหลัก(parent)เพื่อให้สามารถย่อยุบได้ กันก่อนนะคะ data-toggle=”collapse” data-target=”.multi-collapse” เพื่อกำหนด target ที่เราต้องการให้ย่อยุบได้ โดยใช้สไตล์ชีทเป็นตัวช่วยเพื่อแยกแต่ละกลุ่มออกจากกัน ซึ่งในที่นี้จะตั้งชื่อสไตล์ชีท multi-collapse ตามด้วยรหัสของประเภทกลุ่มนั้น โดยต้องระบุสไตล์ชีทนี้ให้กับแถวย่อย(child)ด้วย aria-controls=”demo1 demo2 demo3 demo4 demo5” เพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะย่อยุบ โดยสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 พื้นที่ ซึ่งจะแยกด้วยการเว้นวรรคชื่อ id ของแถวย่อย(child) … Read more