วิธีใช้ Power Query ดึงข้อมูลจาก PSU Web API

PSU Web API เป็นเว็บที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ JSON ทุกท่านที่มี PSU Passport สามารถสมัครเพื่อขอใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ api.psu.ac.th โดยปัจจุบันข้อมูลที่เปิดให้บริการแล้วคือ ข้อมูลส่วนกลาง ข้อมูลระบบสารสนเทศนักศึกษา และข้อมูลระบบสารสนเทศบุคลากร สำหรับทุกท่านที่สนใจใช้บริการข้อมูลสามารถศึกษาวิธีการได้จากคู่มือของระบบค่ะ วันนี้จะขอนำเสนอวิธีการดึงข้อมูลจาก PSU Web API ที่ให้บริการออกมาเป็นรูปแบบตารางด้วย Power Query ใน Microsoft Excel 365 กันค่ะ ซึ่งการดึงข้อมูลด้วย Power Query นี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดในการเขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลมาใช้งานกันค่ะ STEP 1 : เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล PSU Web API STEP 2 : ตั้งค่า Power Query Editor STEP 3 : ทำการ Transpose และแตก List ข้อมูล STEP 4 … Read more

วิธีรวมข้อมูล Excel จากหลายชีทเข้าด้วยกันเป็นตารางเดียวด้วย Power Query

Power Query เครื่องมือสำคัญของ Power BI และ Microsoft Excel 2016 | 2019 | 365 ที่จะช่วยจัดการข้อมูลให้ได้ตามต้องการ ไม่ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน การเปลี่ยนประเภทข้อมูล การจัดตารางหรือคิวรี การจัดคอลัมน์ การจัดการข้อมูลที่บกพร่อง การรวมข้อมูล การแยกข้อมูล การปรับแต่งข้อมูล และการสร้างรูปแบบข้อมูล จุดเด่นของ Power Query ในการใช้งาน Microsoft Excel เราอาจจะมีความจำเป็นที่จะรวมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ซีทเป็นตารางเดียว เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อ วันนี้จึงจะขอนำเสนอความสามารถของ Power Query เพื่อรวมข้อมูล Excel แต่ละชีทรวมเป็นตารางเดียวโดยเริ่มจาก STEP 1 : ทำการแปลงข้อมูลในแต่ละชีทให้เป็นตาราง STEP 2 : รวมข้อมูลเป็นตารางเดียวด้วย Power Query STEP 3 : กำหนดรายละเอียดของ Query STEP … Read more

วิธีการแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุล ที่รวมอยู่ในช่องเดียวกันใน Microsoft Excel

ในการใช้งาน Microsoft Excel เราคงจะเคยเจอปัญหาที่ข้อมูลมีทั้งคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุล รวมอยู่ในช่องเดียวกัน แต่การนำไปใช้งานของเราต้องการที่จะแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อและนามสกุลออกจากกันเป็นคนละช่อง วันนี้จะขอนำเสนอสูตรเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น มาดูกันเลยคะว่าทำยังไง ในการแก้ปัญหานี้จะต้องใช้ฟังก์ชันหลายฟังก์ชัน รวมทั้งเทคนิคการคำนวณแบบ Array ของ Excel ผสมผสานกันโดยเริ่มจาก STEP 1 : สร้างคอลัมน์สำหรับการแสดงผล และสร้าง List รายการคำนำหน้าชื่อที่คอลัมน์ I STEP 2 : ทำการแปลง TITLE_LIST เป็นตาราง เพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูลคำนำหน้าชื่อและการอ้างอิงข้อมูล STEP 3 : ทำการแยกเฉพาะคำนำหน้าชื่อมาแสดงที่คอลัมน์ D ด้วยฟังก์ชัน SEARCH , MATCH และ INDEX =INDEX(TITLE[TITLE_LIST],MATCH(1,SEARCH(TITLE[TITLE_LIST],B2),0)) ฟังก์ชัน SEARCH : ค้นหาสตริงข้อความหนึ่งภายในสตริงข้อความที่สอง และส่งกลับตัวเลขที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของสตริงข้อความแรกจากอักขระแรกของสตริงข้อความที่สอง ไวยากรณ์ : SEARCH(find_text,within_text,[start_num]) กรณี ฟังก์ชัน MATCH : … Read more

หาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตารางด้วย LAG Function

LAG Functionเป็นฟังก์ชันที่ให้เราสามารถเข้าถึงแถวข้อมูลก่อนหน้าของตารางได้โดยที่ไม่ต้องทำการ self-join รูปแบบการใช้งานLAG ( expression [, offset [, default] ] )OVER ( [ query_partition_clause ] order_by_clause ) โดยที่ ตัวอย่าง : การใช้งานฟังก์ชัน LAG Query ข้างต้นเป็นการหาผลการเรียนของภาคการศึกษาก่อนหน้าของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน โดยที่ ผลลัพธ์จาก Query คราวนี้เรามาประยุกต์ใช้งานฟังก์ชัน LAG กันค่ะ ตัวอย่าง : การประยุกต์ใช้ฟังก์ชัน LAG เพื่อหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตารางเรามีตารางข้อมูลชื่อ V3_PLAN_SEC2_1_PLO ซึ่งประกอบด้วยฟิลด์ PLAN_SEC2_1_PLO_ID (🔑) , PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESCโดยเงื่อนไขของระบบกำหนดไว้ว่าจะต้องมี PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC เพียงรายการเดียวเท่านั้น 📌จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ามีข้อมูลที่มีรายการซ้ำซ้อนของข้อมูล PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC เช่นที่ PLAN_REPORT_ID = … Read more

กู้คืนข้อมูลที่ถูกลบด้วย Oracle Flashback Query

เคยเจอเหตุการณ์ที่ใช้คำสั่งผิดพลาดหรือเผลอลบข้อมูลไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และได้ทำการ commit ไปเรียบร้อยแล้วไม่สามารถ rollback กลับได้มั้ย 😊 สำหรับคำถามข้างต้นคิดว่าคงจะมีบ้างแหละที่จะพลาดกันบ้างใช่มั้ยคะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ เรามีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจของเรา วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีการที่จะกู้คืนข้อมูลได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องไปร้องขอให้ DBA กู้คืนข้อมูลให้ด้วย Flashback Query กันค่ะ Flashback Query เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ณ เวลา TIMESTAMP ที่ต้องการ ได้โดยใช้ AS OF clause การใช้งาน Flashback Query ก็ไม่ยาก ตามไปดูตัวอย่างการใช้งานกันค่ะ ตัวอย่าง Step1 : วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 10:55:25 เรามีตารางข้อมูล TEST_NEW_STUDENT จำนวน 5 รายการ Step2 : เวลา 11:01:18 คงเบรอ ๆ นิดหน่อย ทำการลบข้อมูลตาราง … Read more